วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการแก้ปัญหา

เทคนิคการแก้ปัญหา
เทคนิคในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา
การคิดหาวิธีแก้ไขปัญหานั้น จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เพื่อหาวิธีที่มีความแตกต่างและหลากหลาย โดยควรจะวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วพยายามใช้ความคิดสร้างสรรคเฟ้นหาวิธีแก้ไขไว้มากๆ อย่างน้อย 20 วิธี ซึ่งมีหลักง่ายๆที่ช่วยให้เราคิดได้มากขึ้นดังนี้คือ
พยายามคิดนอกกรอบประสบการณ์และความชำนาญที่เรามีอยู่
ให้ความสำคัญกับทุกความคิดหรือทุกๆ วิธีแก้เท่าๆกัน
หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์หรือตัดสินความคิดใหม่ๆ ที่เพิ่งคิดออก แต่ควรใช้ความคิดนั้นเป็น ตัวกระตุ้นให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาวิธีแก้ที่สืบเนื่องต่อมาจากความคิดนั้น
แม้ว่าจะคิดหาทางแก้ได้ดีที่สุดแล้วก็ไม่ควรหยุดความพยายามที่จะคิดหาวิธีต่อไป
พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีแก้ทุกวิธีให้ชัดเจน เพราะจะช่วยทำให้เราเกิดความคิดใหม่ๆขึ้นมาได้
Mind Mapping แผนภูมิความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
การทำแผนภูมิความคิดหรือ Mind Mapping ถือเป็นการกระตุ้นสมองให้เกิดความคิดที่เป็นอิสระจากปัญหาที่เป็นศูนย์กลาง ออกไปสู่วิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่แปลกและแตกต่างจากเดิม ซึ่งสามารถทำได้โดยเริ่มจากการเขียนสาเหตุของปัญหาไว้กลางหน้ากระดาษ แล้วลากเส้นโยงออกมารอบๆ
ถ้าคิดวิธีแก้ไขได้ ก็ให้เขียนวิธีนั้น ไว้เหนือเส้นที่เพิ่งลากออกมา ถ้าความคิดไหนสัมพันธ์หรือสนับสนุนวิธีแก้ไขที่มีอยู่แล้ว ก็ให้เติมความคิดใหม่นั้นต่ออกมาจากวิธีแก้เดิม ด้วยการลากเส้นแขนงออกจากเส้นหลัก แล้วเขียนความคิดใหม่กำกับลงไป เมื่อเราได้ความคิดใหม่ๆที่หลากหลายแล้ว ก็สามารถนำความคิดเหล่านั้นไปใช้ในขั้นตอนของ การวางแผนแก้ไขปัญหาได้ครับ
Brainstorming ระดมสมองเพื่อแก้ไขปัญหา
การระดมสมอง หรือ Brainstroming คือการะดมความคิดจากหลายๆคน เพื่อคิดหาสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เหมาะสม และได้ผลดี ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางกฎพื้นฐานในการระดมสมองไว้ เพื่อเป็นกรอบหรือแนวทางพื้นฐาน เช่น ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ หรือตัดสินว่าความคิดใดดีหรือไม่ดี ถ้าใครคิดวิธีการอะไรได้ต้องกล้าพูดอกมา และอย่าอายที่จะนำความคิดของคนอื่น มาผสมผสานกับความคิดของตน เพื่อสร้างเป็นความคิดใหม่… นอกจากนี้ยังต้องมีการวางขั้นตอนในการระดมสมองให้เป็นลำดับ เช่น กำหนดเวลาในการระดมสมอง กำหนดให้มีคนจดวิธีแก้ปัญหา เขียนสาเหตุของปัญหาที่ต้องการจะแก้ให้เห็นชัดเจน และให้สมาชิกทุกคนแสดงความคิดเห็นเรียงกันไปทีละคน ที่สำคัญต้องจดทุกความคิด ไม่ว่าจะแปลกประหลาดขนาดไหนก็ตาม เพื่อนำไปประเมินและคัดเลือกในภายหลังครับ..
Modified Delphi...เทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหา
เทคนิคโมดิฟายด์ เดลฟี เหมาะกับทีมงานที่มีสมาชิกไม่ค่อยชอบพูด หรือบางคนพูดมากจนไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นพูด เทคนิคนี้มีกระบวนการง่ายๆ ดังนี้ครับ
เริ่มจากให้หัวหน้าทีมหรือผู้ประสานงานแจ้งหรือทบทวนสาเหตุ ผลการวิเคราะห์ และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้ทุกคนทราบ
จากนั้นก็แจกกระดาษเปล่า เพื่อให้สมาชิกทุกคนเขียนวิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยเขียนให้ได้มากที่สุด
เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็เก็บกระดาษทั้งหมด มาจดลงบนกระดาน แล้วให้หัวหน้าทีมอ่านให้ทุกคนฟังชัดๆ
จากนั้นก็แจกกระดาษเปล่าอีกครั้ง ให้ทุกคนลำดับความสำคัญของวิธีแก้ไข ซึ่งอาจจะให้จัดมา 5 อันดับจาก วิธีแก้ไขที่อยู่บน กระดานทั้งหมด 20 วิธี จากข้อมูลนี้เราก็นำมาจัดอันดับความสำคัญของวิธีแก้ปัญหาใหม่อีกครั้ง
และสุดท้ายก็คือ พิจารณาว่าควรมีการแก้ไขอันดับที่ได้หรือไม่ แล้วร่วมกันลงมติเลือกกลุ่มวิธีแก้ที่ดีที่สุด …
นี่ล่ะครับ คืออีกหนึ่งวิธีคิดแก้ไขปัญหาด้วยเทคนิคโมดิฟายด์ เดลฟี...
ทำอย่างไร..ไม่ให้เส้นตายกลายเป็นปัญหา บ่อยครั้งที่เส้นตาย หรือ Deadline ที่เป็นตัวกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงาน แต่ละชิ้นกลายเป็นจุดวิกฤติ และกลับมาเพิ่มปัญหาให้กับตัวเราเอง ฉะนั้นต้องหาทางแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
ประเมินเวลาในการทำงาน เพื่อกำหนดเวลาแล้วเสร็จให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
แล้วลองบวกเผื่อไว้อีก 5-10 % เส้นตายใหญ่ๆของทั้งโครงการถือเป็นเรื่องวิกฤติที่อาจทำให้เราเครียดไปตลอด ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงจากความเครียดด้วยการแบ่งออกเป็นเส้นตายย่อยๆของแต่ละงาน หรือแต่ละกิจกรรม เรื่องใหญ่ก็จะกลายเป็นเรื่องเล็กไปทันที อย่าเลื่อนกำหนดเส้นตายที่ได้ตกลงกันไว้ออกไป เพราะถ้าลองได้เลื่อนแล้วจะติดเป็นนิสัย ต่อไปจะไม่มีใครเชื่อถือ และยังทำให้สูญเสียศรัทธาจากผู้คนรอบข้างอีกด้วยครับ...

ที่มา : http://www.novabizz.com/NovaAce/Subconscious.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น