วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เตรียมสอบบรรจุ

สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจ
เตรียมสอบ..ครูผู้ช่วย..ผู้บริหารและรองผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ขและภาค ค
1.การย้ายผู้บริหารมี 3 กรณี คือ ....
1. การย้ายกรณีปกติ (ย้ายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่สมรส, ย้ายเพื่อดูแลบิดามารดา, ย้ายกลับภูมิลำเนา)
2. การย้ายกรณีพิเศษ (ย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง, ย้ายเนื่องจากถูกคุกคามทางชีวิต, ย้ายเพื่อ
ดูแลบิดา มารดา คู่สมรสเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง)
3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงาน
การศึกษา, ย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. การย้ายไปดำรงตำแหน่งว่างหมายถึง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งว่างซึ่งมีอัตราเงินเดือน
3. การย้ายสับเปลี่ยนหมายถึงการย้ายสับเปลี่ยนระหว่างบุคคลกับบุคคล
4. การย้ายโดยตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนหมายถึงการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามตัวบุคคล
จากหน่วยงานการศึกษาเดิมไปกำหนดในหน่วยงานการศึกษาอื่น
5. การย้ายกรณีปกติ ผอ. และ รอง ผอ. จะต้องดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า12 เดือน
6. ผอ. และ รอง ผอ.อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลาไม่สามารถย้ายกรณีปกติได้
7. กรณีย้ายปกติ ผู้ขอย้ายจะต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับถึง 30 กันยายนของปีที่ครบเกษียณ
อายุราชการ
8. หากหน่วยงานที่จะรับย้ายมีกรอบอัตรากำลังเกินย้าย ไปไม่ได้
9. การย้ายกรณีปกติ ยื่นได้ปีละ 2 ครั้ง
10. ช่วงย้ายครั้งที่ 1 ช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ และครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 1-15 สิงหาคม
11. คำร้องขอย้ายที่ยื่นในครั้งที่ 1 ให้พิจารณาย้ายได้ถึง 31 กรกฎาคม ของปีเดียวกัน
12. คำร้องขอย้ายที่ยื่นในครั้งที่ 2 ให้พิจารณาย้ายได้ถึง 31 มกราคม ของปีถัดไป
13. กรณีย้ายไปอยู่หน่วยงานการศึกษาต่างเขตพื้นที่ หาก อ.ก.ค.ศ. อนุมัติ สำนักงานเขตพื้นที่จะต้องนำคำร้อง
เสนอเขตพื้นที่ ที่ขอย้ายไป ภายในช่วงที่ 1 คือ 1-15 ก.พ. ให้เสนอภายใน15 มี.ค. ของปีเดียวกัน
หากเป็นช่วงที่ 2 คือ 1-15 สิงหา ให้เสนอคำร้องภายใน 15 ก.ย. สรุปคือ หาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่อนุมัติ
เขตที่ยื่นขอย้ายต้องส่งคำขอไปยังเขตที่จะขอย้ายไปภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปนั่นเอง
14. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษากำหนด อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษา
15. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย
1. ผอ. เขต เป็นประธาน
2. รอง ผอ. เขต ผู้รับผิดชอบงานบริหารบุคคล เป็นรองประธาน
3. ตัวแทน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ จำนวน 3 คน (ที่คิดว่าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการย้าย)
4. ผู้แทนผู้บิหาร 2 คน จากประถม หรือขยายโอกาส 1 คน จากมัธยมใหญ่อีก 1 คน
5. ผู้แทนการมการสถานศึกษา 2 คน จากประถม หรือขยายโอกาส 1คน จากมัธยมใหญ่อีก 1คน
6. หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลในเขต 1 คน เป็นเลขานุการ
16. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษามี 9 คน
17. เลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษาคือ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลในเขตนั้น
18. ตัวแทนผู้บริหารและตัวแทนกรรมการสถานศึกษา ในคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อพิจารณาการย้ายผู้บริหาร
เป็นตัวแทนใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ไม่ได้
19. ขนาดโรงเรียนตามหลักเกณฑ์การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แบ่งขนาดสถานศึกษา
เป็น 4 ขนาด จำแนกตามจำนวนนักเรียน ได้แก่
- ขนาดเล็ก จำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 499 คน ลงมา
- ขนาดกลาง จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 500-1499 คน
- ขนาดใหญ่ จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1500-2499 คน
- ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวนนักเรียน 2500 คนขึ้นไป
20. ผู้บริหารโรงเรียนที่สอนช่วงชั้นที่ 1-2 หรือ 1-3 ไม่สามารถย้ายไปโรงเรียนที่สอนช่วงชั้น 3-4 ได้
21. หากมีผู้ขอย้ายหลายคนให้พิจารณาองค์ประกอบดังนี้ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวุฒิ หรือวิชาเอก
ผลการปฏิบัติงาน การรักษาวินัย หรือจรรยาบรรณ และความอาวุโสตามหลักราชการ
22. ผอ. ร.ร. ขนาดเล็ก สามารถย้ายเข้าโรงเรียนขนาดกลางได้ และต้องเป็นช่วงชั้นเดียวกัน และเป็นขนาด
ใกล้เคียงกันไม่เกิน 1 ขนาด
23. สถานศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะ หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษ คือ โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ โรงเรียนที่จัด
การศึกษาเน้นด้านวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส หรือโรงเรียนที่
จัดการศึกษาสงเคราะห์
24. การย้ายผู้บริหารโรงเรียนลักษณะพิเศษ หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษ ไม่สามารถย้ายข้ามประเภทได้
25. กรณีแต่งตั้งผู้บริหารวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ดำเนินการดังนี้ ให้ สพฐ เสนอ กคศ. พิจารณา
26. การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา หรือคู่สมรสที่เจ็บป่วยร้ายแรงจะต้องมีคุณสมบัติ ต้องเป็นบุตรคนเดียวหรือบุตรซึ่งเหลืออยู่คนเดียว หรือเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย
27. ผู้ประสงค์ขอย้ายกรณีพิเศษข้อ 1 เจ็บป่วยร้ายแรง สามารถยื่นคำร้องได้ตลอดปี
28. เลขาธิการ ก.ค.ศ. ปัจจุบันคื่อ นายประเสริฐ งามพันธ์
29. ลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์คือ 30 วันทำการขึ้นไป (ลาไม่ถึง 30 วันทำการ ผู้อนุญาตเห็นสมควรจะสั่งให้มี
ใบรับรองแพทย์ประกอบใบลาก็ได้)
30. ลาคลอดบุตร สามารถลาได้ครั้งหนึ่ง 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
31. ข้าราชการที่ยังไม่สมรส สามารถลาคลอดได้
32. การลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรถือเป็นการลาประเภท เป็นการลากิจ(ซึ่งลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการและ
ไม่ได้รับเงินเดือน)
33. ลากิจส่วนตัวลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการ
34. ในระหว่างลากิจส่วนตัวหากมีราชการจำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการ ก็ได้ (ยกเว้น
กรณีลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร)
35. การลานับวันลา นับเฉพาะวันทำการ
36. กรณีลากิจส่วนตัว หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นใบลาล่วงหน้า จะสามารถลาได้ (หากได้รับอนุญาต โดย
สามารถยื่นใบลาได้ในวันแรกที่มาทำการ)
37. ข้าราชการครู ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน(เพราะข้าราชการครูมีปิดเทอมอยู่แล้ว)
38. ลาพักผ่อน ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกตัวมาปฏิบัติราชการได้
39. การนับวันลานับตามปีงบประมาณ
40. ผู้ที่ลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์ ต้องไม่เคยอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจจ์มาก่อน และต้องมี
อายุราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี
41. ผู้ที่ลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์สามารถลาได้ 120 วัน
42. หลักเกณฑ์การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์ คือ
1. ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ยื่นใบลาเสนอก่อนอนุญาต 60 วัน หากกรณีมีเหตุพิเศษ ไม่
อาจเสนอใบลาก่อน 60 วัน ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการลา
2. หากได้รับอนุญาตให้ลาได้ จะต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับแต่วันลา หรือเดินทางไป
ประกอบพิธีฮัจจ์
3. จะต้องกลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับแต่ลาสิกขาบทหรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย
43. ผู้ลาอุปสมบทจะต้องกลับมารายงานตัวหลังลาสิกขาบทแล้วภายใน 5 วัน
44. หากได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบท จะต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน
45. การเข้ารับการตรวจเลือกหมายถึง การเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็นทหารประจำการ
46. เข้ารับการเตรียมพลหมายถึง เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการ
ตรวจความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
47. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลาได้ตามเวลาของภารกิจที่กำหนดไว้ในหมายเรียก
48. เมื่อพ้นจากการตรวจเลือก/เตรียมพล ต้องมารายงานตัวภายใน 7 วัน ขยายได้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
49. ผู้ได้รับหมายเรียกจะต้องรายงานผู้บังคับบัญชาก่อนเข้ารับการตรวจเลือกภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันได้รับ
หมายเรียก สำหรับเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันรับ
หมายเรียก
50. ผู้ที่จะลาไปทำงานในองค์การระหว่างประเทศ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
51. ลาติดตามคู่สมรส หมายความว่าลาติดตามสามีหรือภรรยา ซึ่งไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ตั้งแต่ 1ปีขึ้นไป
ไม่รวมไปศึกษาต่อ อบรม ดูงาน
52. ลาติดตามคู่สมรสลาได้ไม่เกิน 2 ปี ลาต่อได้อีกไม่เกิน 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 4 ปี หากเกิน 4 ปี ให้ลาออก
53. ลาบ่อย คือผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาลาเกิน 6 ครั้ง สำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง
54. มาทำงานสายเนืองๆ คือผู้ปฏิบัติงานสถานศึกษาต้องสาย เกิน 8 ครั้ง สำนักงาน เกิน 9 ครั้ง
55. หนังสือราชการมี 6 ชนิด คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ ได้แก่คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
5. หนังสือประชาสัมพันธ์ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
56. หนังสือภายนอก คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการ ใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่าง
ส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก
57. หนังสือภายใน คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้
หัวหน้าส่วนราชการ ระดับกองหรือผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับใช้ในกรณีที่ไม่ใช่
เรื่องสำคัญ ได้แก่ การขอรายละเอียดเพิ่มเติม การสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร การตอบรับทราบที่ไม่
เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน การแจ้งผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว การเตือนเรื่องที่ค้าง เรื่องหัวหน้า
ส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง
58. หนังสือสั่งการ ได้แก่อะไรบ้าง คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่ง
คือ…บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
ระเบียบ คือ…บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ ข้อบังคับ
คือ…บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้
59. หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด 3 ชนิด
1. ประกาศ – เพื่อประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ
2. แถลงการณ์ - เพื่อทำความเข้าใจ
3. ข่าว - เผยแพร่ให้ทราบ
60. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้ในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่
1.หนังสือรับรอง
2. รายงานการประชุม
3. บันทึก
4. หนังสืออื่น
61. ชั้นความเร็วของหนังสือ มี 3 ชั้น ได้แก่
1. ด่วนที่สุด…… (ปฏิบัติในทันที)
2. ด่วนมาก……. (ปฏิบัติโดยเร็ว)
3. ด่วน….. (ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ)
62. อายุการเก็บหนังสือ ปกติให้เก็บไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่หนังสือที่ปฏิบัติงานเสร็จสิ้น แล้ว และเป็นคู่สำเนา
ที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
63. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดา ปกติให้เก็บไว้ 1 ปี
64. การสำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บ เพื่อจัดทำบัญชีขอทำลาย ดำเนินการภายใน 60 วัน หลังจาก
วันสิ้นปีปฏิทิน
65. หนังสือเวียนหมายถึง หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมากมีใจความอย่างเดียวกันให้เพิ่มตัวพยัญชนะ ว
66. ผู้ทำรายละเอียดการขอทำลายหนังสือราชการคือ เจ้าหน้าที่ธุรการ
67. กรมประมวลข่าวกลาง สังกัดกระทรวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
68. ศูนย์รักษาความปลอดภัย สังกัดกระทรวงกลาโหม
69. ชั้นความลับของทางราชการมี 3 ชั้น ได้แก่ ลับที่สุด ลับมาก ลับ
70. เครื่องแบบข้าราชการโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ และเครื่องแบบพิธีการ
71. ป้ายชื่อข้าราชการมีขนาดเท่ากับ 2.5 คูณ 7.5 เซนติเมตร แสดงชื่อ สกุล และชื่อตำแหน่ง ติดที่อกเสื้อเหนือ
กระเป๋า ด้านขวา ไม่ต้องมีตรากระทรวง เช่น ตราเสมา
72. หลักเกณฑ์ในการเลื่อนวิทยฐานะที่ กคศ. กำหนด มี 5 หลัก ได้แก่
1. หลักความรู้ความสามารถ และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
2. หลักคุณธรรม
3. หลักผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อผู้เรียน ต่อคุณภาพการศึกษา ต่อวงวิชาการ วิชาชีพ ต่อชุมชน
และสังคม
4. หลักการทำงานแบบมืออาชีพ : การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดการเรียนรู้และการสร้าง
องค์กรแห่งการเรียนรู้
5. หลักการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตการทำงาน
73. หลักเกณฑ์และวิธีการให้ครูดำรงตำแหน่งครูมีวิทยฐานะชำนาญการต้องดำรงตำแหน่งครูไม่น้อยกว่า 6 ปี
สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี 4 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท และ 2 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก
74. ผู้ที่ยื่นขอประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษจะต้องมีชั่วโมงสอนไม่น้อยกว่า 18 คาบต่อสัปดาห์
75. ผู้ขอรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการสามารถยื่นขอรับการประเมินปีละ 1 ครั้ง
76. เมื่อมีผู้ขอประเมินวิทยฐานะชำนาญการ จะต้องดำเนินการประเมินให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1ปี
77. ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการถ้าประสงค์จะรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการต้องเหลือเวลาราชการไม่น้อย
กว่ากี่ 6 เดือน
78. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการประเมิน ประเมิน 3 ด้าน
1. ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน ประจักษ์พยาน และรายงานการประเมินตนเอง
ด้านการพัฒนาการสอนและพัฒนาผู้เรียน
3. ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน พิจารณา O-Net A-Net NT ผลสัมฤทธิ์
79. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม ใช้เกณฑ์ ผ่าน และ ไม่ผ่าน 80. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียนใช้เกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 65
81. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนใช้เกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 65
82. ผู้ยื่นขอประเมินชำนาญการในช่วง 1-30 เมษายน หากอนุมัติให้ผ่าน ให้มีผลในวัน ไม่ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม
ของปีที่ขอ
83. ผู้ยื่นขอประเมินชำนาญการในช่วง 1-31 ตุลาคม หากอนุมัติให้ผ่าน ให้มีผลในวัน ไม่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน
ของปีที่ขอ
84. การยื่นขอประเมินชำนาญการใช้เอกสาร ประจักษ์พยานการสอนอย่างน้อย 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
1. รายงานการประเมินตนเองด้านการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (Self assessment report)
อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
2. ผลงานอื่นๆ ถ้ามี
3. กพ 7 รับรองโดยผู้บังคับบัญชา
85. อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ฯ มีอำนาจตั้งกรรมการ 3 คน เพื่อประเมินเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ ประกอบด้วย
1. ผู้บริหารในโรงเรียนผู้ขอประเมิน มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า
ชำนาญการ
2. บุคคลภายนอกสถานศึกษาในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ กคศ. กำหนด จำนวน 2 คน
86. ประธานกรรมการประเมินวิทยฐานะชำนาญการคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ
87. ผอ. โรงเรียนของผู้ขอประเมินเป็นประธานคณะกรรมการประเมิน ไม่ได้
88. หากโรงเรียนนั้นไม่มีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิปริญญาโท หรือมีวิทยฐานะไม่สูงกว่าชำนาญการทำอย่างไร
ให้ได้คณะกรรมการประเมินชำนาญการครบ ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่ กคศ กำหนด
89. ผู้ที่จะขอรับการประเมินวิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการจะต้องดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 2 ปี
90. ผู้ที่ได้รับโทษภาคทัณฑ์สามารถขอรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการ ได้ แต่โทษสูงกว่าภาคทัณฑ์
ไม่สามารถประเมินได้ เว้นแต่ครบกำหนดโทษแล้ว
91. ประเมินวิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการประเมิน 3 ด้าน
1. ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ด้านคุณภาพการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา ประจักษ์พยานบริหารสถานศึกษาและ
รายงานการประเมินตนเองด้านการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา Self Assessment Report
อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
3. ด้านผลการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา O-Net A-Net NT ผลสัมฤทธิ์อย่างน้อย 2 ปี
การศึกษา รวมทั้งความร่วมมือ และการยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน ความสำเร็จในการ
พัฒนาครู ชุมชน สถานศึกษา
92. รองผอ. ชำนาญการ หากขอประเมินชำนาญการพิเศษต้องเสนอรายงานวิจัย เพื่อประกอบหลักฐานในข้อ 3
คือด้านผลการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา วิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้น
93. เกณฑ์การตัดสินรองผอ.วิทยฐานะชำนาญการพิเศษเป็นอย่างไร ด้านที่1ผ่าน/ไม่ผ่าน ด้านที่ 2 และ 3 ได้
คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ70
94. ผู้ขอประเมินรองชำนาญการพิเศษ เอกสารที่ยื่นขอรับการประเมินเหมือนรองชำนาญการ แต่ต้องเพิ่ม
เอกสารรายงานวิจัยสถาบัน
95. การประเมินวิทยฐานะวิธีพิเศษใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนเป็นกรรมการ
96. ยังไม่มีวิทยฐานะสามารถยื่นประเมินกรณีพิเศษได้หรือไม่ ไม่ได้
97. การประเมินวิทยฐานะเชี่ยวชาญสำหรับผู้บริหารแตกต่างจากชำนาญการพิเศษอย่างไร
ตอบ เพิ่มรายงานการพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา
98. เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะเชี่ยวชาญของผู้บริหารเป็นอย่างไร
ด้านที่ 1 เกณฑ์ผ่านและไม่ผ่าน ด้านที่2 และ3 ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
99. สถานศึกษามีสภาพเป็นอะไรในเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ สถานศึกษาเป็นส่วนราชการในเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเลขาธิการ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
100. ตามเอกสารแนวปฏิบัติงานสถานศึกษานิติบุคคล ทรัพย์สินที่สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการได้โดยอิสระ
คือทรัพย์สินประเภทใด ...
ตอบ ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษาเท่านั้นส่วนทรัพย์สินประเภทอื่นต้องบริหาร ภายใต้ กฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น