วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย-ชุด 4

201. ใครเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษสอดคล้อง
กับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
ตอบ กระทรวงศึกษาธิการ
202. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบ ควบคุมราชการประจำในกระทรวงผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการใสำนัก
งานปลัดกระทรวง
203. ส่วนราชการใดในกระทรวงศึกษามีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
204. สำนักงานที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับ
บัญชาโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการนั้นๆ มีกี่สำนักงาน
ตอบ ๔ สำนักงาน คือ
สำนักงานสภาการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
205. เลขาธิการส่วนราชการในกระทรวงมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงใช่หรือไม่
ตอบ ใช่แล้ว
206. การกำหนดจำนวนเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาด้านใด
ตอบ ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นๆ
207. ใครมีอำนาจกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
208. การจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษาแบ่งเป็นกี่ส่วน
ตอบ ๒ ส่วน คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
209. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาให้ใครกำหนด
ตอบ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
210. คณะกรรมการชุดใดในเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีอำนาจในการจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษาในเขตพื้นที่
ตอบ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
211. ใครเป็นคณะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
212. สถานศึกษาใดมีคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถานศึกษาอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
213. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบอาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
214. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา มีอะไรบ้าง
ตอบ บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ
๑. ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ควบคุม ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่น
๒. เป็นผู้แทนสถานศึกษาในการทำนิติกรรม สัญญา
๓. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา เสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
๔. อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตรของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
๕. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
215. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับปริญญาที่เป็นส่วนราชการและเป็นนิติบุคคคลสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แบ่งอย่างไร
ตอบ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสถานศึกษานั้น
216. ก.ม. ย่อมาจากอะไร
ตอบ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
217. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชัดธงชาติในสถานศึกษาประกาศ พ.ศ. ใด
ตอบ พ.ศ. 2547
218. ความหมายของสถานศึกษาตามระเบียบว่าด้วยการชัดธงชาติในสถานศึกษาคือข้อใด
ตอบ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัยหน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
219. หัวหน้าสถานศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการชักธงชาติ คือใคร
ตอบ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดีหรือหัวหน้าสถานศึกษา ที่เรียกชื่ออย่างอื่น
220. วันเปิดเรียนชักธงขึ้นเวลาใด
ตอบ เวลาเข้าเรียน ชักธงลงเวลา 18.00 น
221. วันปิดเรียนชักธงขึ้นเวลาใด
ตอบ 8.00 น ชักธงลงเวลา 18.00 น
222. รายละเอียดการชักธง และประดับธงชาติในวันสำคัญ วันใดบ้าง กี่วัน
ตอบ วันขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม ๑วัน
๑. มาฆะบูชา ๑ วัน
๒. วันจักรี ๖ เมษายน ๑ วัน
๓. สงกรานต์ ๑๓ เมษายน ๑ วัน
๔. ฉัตรมงคล ๕ พ.ค. ๑ วัน
๕. วิสาขบูชา ๑ วัน
๖. อาสาฬหบูชา ๑ วัน
๗. เข้าพรรษา ๑ วัน
๘. วันแม่ ๑ วัน
๙. วันสหประชาชาติ ๒๔ ต.ค. ๑ วัน
๑๐. วันพ่อ วันที่ ๕ ๖ และ ๗ เป็นเวลา ๓ วัน
๑๑. วันรัฐธรรมนูญ ๑ วัน
223. การชักธงลงครึ่งเสาปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ชักขึ้นจนสุดยอดเสา แล้วลดลงให้อยู่ในระดับความสูง ๒ ใน ๓ ของความสูงเสาธงเมื่อจะเอาธงลง ก็ชักขึ้นให้สุดแล้วค่อยชักลงตามปกติ
224. ใครรักษาการตามระเบียบว่าด้วยการชักธง
ตอบ ปลัดกระทรวง
225. ข้าราชการครูตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ หมายความว่าอย่างไร ตอบ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐ
226. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด
ตอบ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
227. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าอย่างไร
ตอบ บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน
228. คณาจารย์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
229. ผู้สอนในระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญา เรียกคณาจารย์ได้หรือไม่
ตอบ ไม่เรียกคณาจารย์
230. บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษาและการปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
231. ส่วนราชการหมายถึงข้อใด
ตอบ หน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเทียบเท่ากรม
232. ก.ค.ศ. หมายถึงข้อใด
ตอบ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
233. ใครเป็นประธาน ก.ค.ศ.
ตอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
234. ใครเป็นรองประธาน ก.ค.ศ
ตอบ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
235. คณะกรรมการ ก.ค.ศ. ประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ ๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
๒. ปลัดกระทรวงศึกษาเป็นรองประธาน
๓. กรรมการโดยตำแหน่ง ๕ คน คือ
-เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน
-เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
-เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
-เลขาธิการคุรุสภา และ
-เลขาธิการ ก.พ.
๔. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน ซึ่งเชี่ยวชาญด้าน
-การศึกษา
-การบริหารบุคคล
-กฎหมาย
-การบริหารจัดการภาครัฐ
-การบริหารองค์กร
-การศึกษาพิเศษ
-การบริหารธุรกิจหรือเศรษฐกิจ
๕. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาจากการเลือกตั้ง ๗ คน ได้แก่
-ผู้แทน ผอ. เขต
-ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา
-ผู้แทนข้าราชการครู ๔ คน
-ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๑ คน
236. ผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ตอบ ๓๕ ปี
237. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
238. สมาชิกสภาท้องถิ่น เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
239. ผู้มีอายุเกิน ๗๐ ปี สามารถเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ. ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
240. การมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน กคศ. จะต้องเป็นผู้บริหารไม่น้อยกว่ากี่ปี
ตอบ ๕ ปี
241. ไม่มีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา สามารถเป็นกรรมการใน กคศ. ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
242. ครูใน กคศ. จะต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่ากี่ปี
ตอบ ๑๕ ปี
243. ครูที่ไมมีวิทยฐานะสามารถเป็นกรรมการใน กคศ. ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ ต้องมีวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป
244. ครูผู้เคยถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสามารถเป็นกรรมการใน กคศ. ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้
245. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน กคศ. วาระกี่ปี
ตอบ คราวละ ๔ ปี อาจได้รับเลือกตั้งใหม่อีก แต่ดำรงตำแหน่งเกิน ๒ วาระติดต่อกันไม่ได้
246. หากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน กคศ.ว่างลง
ต้องดำเนินการแต่งตั้ง หรือเลือกตั้งภายในกี่วัน
ตอบ ภายใน ๖๐ วัน เว้นแต่วาระเหลือไม่ถึง ๙๐ วัน จะดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งแทนก็ได้หากเข้ามาแทนก็อยู่ในวาระเท่าเพื่อนในคณะ
247. การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล จะส่งผลดีอย่างไร
ตอบ สถานศึกษามีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาของตนได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
248. คำว่า “นิติบุคคล” หมายความว่าอย่างไร
ตอบ หมายความว่า กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน เพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า “นิติบุคคล”เป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น ให้มีสิทธิและหน้าที่ และสามารถทำกิจการใดๆ อันเป็นการก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายใต้ขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนั้น
249. นิติบุคคล แบ่งเป็นกี่ประเภท
ตอบ โดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
-นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน และ
-นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน
250. การพิจารณาว่าเป็นนิติบุคคลในกฎหมายเอกชน หรือมหาชน พิจารณาด้านใด
ตอบ พิจารณาจากกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคล และกิจกรรมที่นิติบุคคลนั้นดำเนินการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น