วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้Leaning Theory(3)

พัฒนาการของกระบวนการคิดในเด็ก
เด็กอายุ 11 ปีจะเริ่มเรียนรู้ที่จะเลือกทำสิ่งต่าง ๆ เรียนรู้เรื่อง กฎระเบียบวินัย ซึ่งเป็น การเรียนรู้ ในระดับสูงยิ่งขึ้น และ ธรรมชาติ ได้เตรียมเด็ก ให้มาถึง ขั้นตอนนี้ โดยผ่าน การเล่นนั่นเอง
ชอง เปียเจต์ ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงความคิด จาก รูปธรรม มาเป็น นามธรรม เพื่อจะให้เห็นว่าในเด็กเล็ก ๆ ก็มี การสร้างจินตนาการภายในตัวเอง (Inner Image) จากสิ่งกระตุ้นหรือวัตถุภายนอก อย่างเช่น
เด็กสมมุติว่า กล่องไม้ขีดเป็นเรือ หรือเป็น วัตถุต่าง ๆ เป็นต้น แต่พออายุ 7 ปีเด็กเริ่มจะเปลี่ยน ความคิดแบบรูปธรรมมาเป็น นามธรรม สามารถเอาวัตถ ุหรือ สิ่งแวดล้อม ที่เห็นเข้ามาเปลี่ยนเป็น ความคิดในตัวเองได้ คือ สร้างความคิดขึ้นมาได้ ซึ่ง เปียเจต์ เรียกว่า กระบวนการคิดแบบเป็นรูปธรรม (Concrete Operational Thinking)
จากทฤษฎีของเปียเจต์ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า ถ้าเอาแก้วน้ำ 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นแก้วทรงผอมสูง อีกใบเป็นแก้วทรงอ้วนเตี้ย เมื่อรินน้ำปริมาณเท่า ๆ กันลงในแก้วทั้งสองใบ แน่นอนที่สุดแก้วใบผอมสูงจะมีระดับน้ำสูงกว่าแก้วทรงอ้วนเตี้ย ถ้าถามเด็กเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ในวัยที่มีความคิด เป็นรูปธรรม ว่าน้ำในแก้วไหนมากกว่ากัน เด็กจะบอกว่า แก้วใบสูงมากกว่า และถึงแม้ จะเทน้ำออกมา ให้เด็กดูว่ามีปริมาณ เท่ากัน เด็กก็ยังบอกว่า ยังน้อยกว่า หรือ มากกว่ากันนิดหน่อยอยู่ดี คือเด็กยังไม่ยอมรับ ความคิดที่ว่า ปริมาณน้ำเท่ากัน แต่เมื่อเด็กอายุ 6-7 ปีขึ้นไป จะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งทำให้เด็ก สามารถเข้าใจได้ว่า ปริมาณน้ำในแก้วสองใบนี้เท่ากัน
ช่วงวัยของโอกาสที่จะเรียนรู้ (Window Of Opportunity)
สมองของคนเรามีช่วงวัยที่จะเรียนรู้แต่ละเรื่องแตกต่างกันไป อย่างเช่นในเรื่องของการเรียนรู้ภาษา ช่วงวัยที่คนเราสามารถเรียนรู้แต่ละส่วนของภาษาจะแตกต่างกัน เช่น การสร้างประโยค เด็กจะมีความสามารถรับรู้เรียนรู้ได้จนถึง 5-6 ขวบ หลังจากนั้นหากไม่ได้รับการสอนเลยจะเรียนรู้การสร้างประโยคได้ยากขึ้น แต่ถ้าเป็นการสร้างคำใหม่ ๆ จะไม่มีขอบเขตจำกัดวัยของการเรียนรู้ ดังที่เราจะเห็นว่าผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา
ความสามารถในการเรียนภาษาที่สองนอกเหนือจากภาษาแม่ จะเจริญสูงสุดในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 ขวบ หลังจากนั้นความสามารถจะลดลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในผู้ใหญ่จะเรียนภาษาอื่นได้ยากกว่าตอนเป็นเด็ก แต่ก็ยังสามารถเรียนได้อยู่ ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างสูง
จากข้อมูลนี้ทำให้เราพบว่า เราสามารถจะสอนเด็กให้รู้ภาษาที่สองได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในวัยประถมศึกษาหรือก่อนหน้านั้น หรือการให้การศึกษาพิเศษกับเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ก็สามารถจะเริ่มได้ตั้งแต่เด็กอายุ 3-4 ขวบ แทนที่จะรอไปถึง 9-10 ปี
นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมองจะเจริญเติบโตสูงสุดเมื่อเด็กอายุประมาณ 10-12 ปี จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลระหว่างการสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่และการเสื่อมสลายของ จุดเชื่อมต่อเหล่านี้ ซึ่งพบว่าหลังวัยนี้ไปแล้วสมองจะเริ่มทำลายหรือกำจัดจุดเชื่อมต่อที่ไม่มั่นคง และเก็บจุดเชื่อมต่อหรือเส้นใยประสาทที่มั่นคงซึ่งเป็นผลจากประสบการณ์ที่ได้รับเข้าไปเอาไว้
เด็กอายุ 7-11 ปี เป็นช่วงที่สามารถรับรู้ เรียนรู้ในเรื่องของแบบอย่างความคิดโดยที่ไม่มีขอบเขตจำกัด โดยเฉพาะในวัยอายุ 11 ปีเป็นช่วงที่จะยอมรับ ความคิดแบบอย่างต่าง ๆ ได้ดีที่สุด ไม่ว่าครูหรือผู้ใหญ่จะแนะนำหรือสอน ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สมองเรียนรู้ได้มาก เพราะเครือข่ายเส้นใยประสาทยังใหม่อยู่ แต่หลังอายุ 14 ปี เป็นต้นไป สมอง จะมีขอบเขตจำกัด จะเรียนรู้ยอมรับ ความคิดหรือแบบอย่างได้น้อยลง
ดร.ราคิก (Dr.Rakic) จากมหาวิทยาลัยเยล กล่าวไว้ว่า ในวัยรุ่นช่วงปลาย คืออายุประมาณ 18 ปี สมองจะหยุดยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ความสามารถพิเศษ หรือแนวโน้มที่จะมี ความสามารถพิเศษ ที่ได้รับ การหล่อหลอม มาตั้งแต่เล็ก ๆ จะเริ่มเบ่งบาน เห็นผล ในช่วงนี้ คือ ประสบการณ์ที่จะกระตุ้น ให้เกิด กระแสไฟฟ้าใน เครือข่ายเส้นใยประสาท เริ่มทำงาน เปรียบเสมือน ช่างแกะสลัก ที่กำลังสลักเสลารูป แกะสลัก ให้ออกมา เป็นรูปเป็นร่าง ที่สวยงาม สมองในขณะนี้ก็เช่นกัน กำลังพยายาม ตกแต่งโครงสร้าง ให้ออกมาเป็น แบบแผน ถ้า เครือข่ายเส้นใยประสาท ส่วนใดไม่ได้ใช้งาน ก็จะถูกทำลายไป ขณะที่ เครือข่ายเส้นใยประสาท ที่ใช้งานมาก ๆ จะอยู่คงทน มั่นคง
อย่างไรก็ตาม ในผู้ใหญ่เรา ก็ยังสามารถ ที่จะ อ่านหรือ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือมีความจำใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เกิดจากการใช้ เครือข่ายเส้นใยประสาท ที่มีอยู่เดิม หรือสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้มีหลากหลายทฤษฎี แต่ทฤษฎีที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม ที่ว่า ความรู้ไม่ใช่การให้ หรือ เทข้อมูลเข้าไปในสมองเด็ก แต่เด็กจะสร้างความรู้ ขึ้นในสมอง ของเขาเอง จาก สิ่งแวดล้อม ภายนอก ดังนั้นครูจึงไม่ใช่ผู้ใส่ความรู้ให้เด็ก แต่จะต้องคอยเป็นผู้ช่วยให้เด็กสร้างความรู้ขึ้นจากตัวของเด็กเอง
ดร.เพียร์ซ อธิบายถึง วงจรความสามารถในการเรียนรู้ว่า มี 3 ขั้นตอน เริ่มด้วยขั้นตอนพื้นฐานเหมือนกับ การหล่อปูนที่เริ่มจากผิวขรุขระ (Roughing In) จากนั้น จะเป็น ขั้นตอนการ สร้างความสัมพันธ์ ระหว่าง ข้อมูลเดิม และข้อมูลใหม่ ที่เติมเข้าไป (Relating And Filling In) และขั้นตอนสุดท้าย คือ การฝึกฝนและเรียนรู้ถึงความ แตกต่าง (Practice) ถ้าหากเด็กกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ยังไม่ครบวงจร เขาจะไม่สามารถรับข้อมูลใหม่เข้าไปได้
การเล่น การเล่านิทาน ก็เป็นการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ เอาข้อมูลภายนอก เข้าไปสร้าง จินตนาการ ในโลกภายใน แล้วแสดงกลับออกมาสู่โลกภายนอกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็น พื้นฐานของ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต่อไป
ช่วงระยะเวลา ของ ความสามารถใน การเรียนรู้ (Window Of Opportunity) แต่ละเรื่องจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เช่น ภาษารูปธรรมเด็ก สามารถเรียนรู้ใน 6-7 ปีแรกของชีวิต หลังจากนั้นจะเริ่มเรียนรู้ภาษาแบบนามธรรม ในขณะที่ภาษาที่สองเด็กจะเรียนได้ดีในช่วง 6 ปีแรก เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น