วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย-ชุด 6

301. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน.........
ตอบ ๗ คน
302. กรรมการประเภทใดมีจำนวนมากที่สุดในคณะกรรมการคุรุสภา.........
ตอบ กรรมการผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพ
303. กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการคุรุสภา มีกี่คน............
ตอบ ๗ คน
304. คณะกรรมการคุรุสภามีทั้งหมดกี่คน.............
ตอบ ๓๖ คน
305. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคุรุสภา.............
ตอบ เลขาธิการคุรุสภา
306.การเลือกกรรมการผู้แทนคณบดีคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ซึ่งเป็นกรรมการในคณะ
กรรมการคุรุสภา มีวิธีเลือกอย่างไร.................
ตอบ คณบดี คณะครุศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัย ต่างๆ เลือกกันเอง
307. กรรมการชุดใดในคณะกรรมการคุรุสภาที่ได้มาจากการเลือกตั้ง......
ตอบ กรรมการผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้เลือกตั้งกันตามสัดส่วน
308. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา กล่าวถึงคณะกรรมการกี่คณะ.......
ตอบ ๓ คณะ ได้แก่
๑. คณะกรรมการคุรุสภา
๒. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (ว่าด้วยมาตรฐานและใบอนุญาต)
๓. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
309. คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง..................
๑.บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่กำหนด
ใน พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
๓. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ตามมาตร ๕๔
๔. เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด
๕. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
๖. ควบคุมดูแลการดำเนินงานและบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เกี่ยวกับเรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการฯ การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน วินัย และลงโทษวินัย การ
ออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ การบริหารจัดการการเงิน พัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
๗. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการฯ
๘. ปฏิบัติงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
๙. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
310. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ตาม พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีอะไรบ้าง....................
๑. พิจารณาการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา การพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต
๒. กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
๓. ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภา กำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
๔. ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
๕. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
311. คณะกรรมการคุรุสภามีการประชุมอย่างน้อยเดือนละกี่ครั้ง............
ตอบ ๑ ครั้ง
312. หากการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ประธานไม่อยู่ ทำอย่างไร........
ตอบ ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งมาเป็นประธาน
313. รัฐมนตรีสามารถเข้าร่วมประชุม หรือชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาได้หรือไม่ .....
ตอบ ได้
314. การดำเนินการของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายใด..........
ตอบ ประมวลกฎหมายอาญา
315. กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ กับกรรมการคุรุสภา สามารถดำรงตำแหน่งในคราวเดียวกันได้หรือไม่......
ตอบ ไม่ได้ ยกเว้นประธาน และกรรมการโดยตำแหน่ง
316. กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยใครบ้าง....................
ตอบ ๑๙ คน
๑. รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา
๒. กรรมการโดยตำแหน่ง ๕ คน
๓. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน
๔. กรรมการผู้แทนคณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ ๒ คน
๕. กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖ คน
๖. เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ
317. ใครมีอำนาจในการสรรหา และถอดถอนเลขาธิการคุรุสภา...........
ตอบ คณะกรรมการคุรุสภา
318. เลขาธิการคุรุสภาจะต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาหรือไม่...............
ตอบ เลขาธิการคุรุสภาจะต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้สำนักงานคุรุสภาได้เต็มเวลา
319. อายุต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ สามารถเป็นเลขาธิการคุรุสภาได้หรือไม่.........
ตอบ ไม่ได้
320. อายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ สามารถเป็นเลขาธิการคุรุสภาได้หรือไม่..........
ตอบ ไม่ได้
321. เลขาธิการคุรุสภามีวาระดำรงตำแหน่งกี่ปี.............
ตอบ คราวละ ๔ ปี อาจได้รับแต่งตั้งอีก แต่ดำรงตำแหน่งเกิน ๒ วาระติดต่อกันไม่ได้
322. หน้าที่ของเลขาธิการคุรุสภามีอะไรบ้าง.............
ตอบ บริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ระเบียบ ข้อบังคับเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่งในสำนักงาน
323. ใครมีหน้าที่เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาต่อคณะกรรมการคุรุสภา
ตอบ เลขาธิการคุรุสภา
324. วิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้แก่วิชาชีพใดบ้าง....
ตอบ วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา
325. ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต จะได้รับโทษอย่างไร.........
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
326. ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาถือว่าผิด พรบ. สภาครู หรือไม่..........
ตอบ ไม่ผิด
327. ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาตจะได้รับโทษจำคุก และปรับ ยกเว้นบุคคลใด.......
ตอบ ผู้เข้ามาเป็นวิทยากรพิเศษ หรือให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นครั้งคราว หรือ ผู้ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอนแต่บางครั้งต้องทำหน้าที่สอน นักศึกษาฝึกงานการสอนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
328. ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือไม่........
ตอบ ไม่ต้องมี
329. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียน ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง
330. คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือไม่....
ตอบ ไม่ต้อง
331. ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือไม่.....
ตอบ มี
332. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือไม่.........
ตอบ จะต้องมี เพราะเป็นผู้บริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ไม่ต้องมี
333. อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี สามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้หรือไม่........
ตอบ ไม่ได้
334. ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง..................
๑. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
๒. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือมีวุฒิการศึกษาตามที่คุรุสภารับรอง
๓. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติการสอนตามที่คุรุสภากำหนด
335. ผู้ฝ่าฝืนประกอบวิชาชีพควบคุมโดยมิได้รับอนุญาตจากคุรุสภาจะได้รับโทษอย่างไร.....
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
336. มาตรฐานวิชาชีพ ตาม พรบ. สภาครู ๒๕๔๖ ประกอบด้วยมาตรฐานด้านใดบ้าง......
ตอบ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน
337. มาตรฐานการปฏิบัติตนให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วยจรรยาบรรณด้านใดบ้าง
๑. จรรยาบรรณต่อตนเอง
๒. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๔. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๕. จรรยาบรรณต่อสังคม
338. อำนาจชี้ขาด (บทลงโทษ) ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอะไรบ้าง.........
๑. ยกข้อกล่าวหา
๒. ตักเตือน
๓. ภาคทัณฑ์
๔. พักใบอนุญาตตามสมควร แต่ไม่เกิน ๕ ปี
๕. เพิกถอนใบอนุญาต (เป็นเวลา ๕ ปี)
339. ผู้ถูกกล่าวหาสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพภายในกี่วัน....
ตอบ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
340. คำวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพออกในรูปแบบใด.....
ตอบ คำสั่ง พร้อมด้วยเหตุผลแนบ
341. หากผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฝ่าฝืนจะได้รับโทษอย่างไร.....
ตอบ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๖๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
342. สมาชิกคุรุสภามีกี่ประเภท........
ตอบ ๒ ประเภท สมาชิกสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์
343. ผู้ที่เป็นสมาชิกสามัญของคุรุสภา จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร.......
ตอบ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ไม่เป็นคนล้มละลาย ไร้ความสามารถหรือมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม
344. สมาชิกคุรุสภา ประเภทสมาชิกกิตติมศักดิ์ เป็นอย่างไร......
ตอบ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยต้องมีมติเป็นเอกฉันท์
345. ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นสมาชิกคุรุสภาประเภทใด.....(สมาชิกสามัญ)
346. สมาชิกสามัญสามารถแสดงความคิดเห็นหรือซักถามเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภาต่อคณะกรรมการฯได้หรือไม่
ตอบ ได้
347. กรณีใดถือว่าพ้น (หรือสิ้นสุด) จากการเป็นสมาชิกคุรุสภา......
ตอบ ตาย ลาออก มติคณะกรรมการฯ รวมถึงการถูกเพิกถอนใบอนุญาต
348. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๖ เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ใด.........
๑. ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
๒. ส่งเสริมความสามัคคี ผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ
๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษา เรื่อง สื่อการเรียนการสอน วัสดุ
อุปกรณ์
๔. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ การผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพ
349. ใครเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูฯ ....
ตอบ ปลัดกระทรวงศึกษาฯ
350. กรรมการโดยตำแหน่ง ๖ คน ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูฯ มีใครบ้าง.
๑. เลขาธิการสภาการศึกษา (สภาการศึกษา)
๒. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
๓. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๔. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๕. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น