วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่มีศักยภาพในการจัดประสานการปฏิบัติราชการที่มีธรรมาภิบาลเติมเต็มปัญญาแก่สังคม ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
พันธกิจ
1. มุ่งมั่น สร้างสรรค์ พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและสร้าง
ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
2. เร่งรัด พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ
3. เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ทุกส่วนร่วมมือหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตาม
อัธยาศัย
4. เร่งรัด พัฒนาข้าราชการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ
องค์กร
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการบริหาร การบริการและการเรียนรู้
3. สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. เสริมสร้างความเข้มแข็ง ระบบบริหารงานบุคคล พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าของข้าราชการ
ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

ค่านิยามร่วม (Shared Values) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
TEAM WINS มีความหมายว่า “ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีการทำงานเป็นทีม มุ่งไปสู่ชัยชนะ ตามพันธกิจ และเป้าประสงค์ขององค์กร” ประกอบด้วย 8 คำ ดังนี้
T = Teamwork การทำงานเป็นทีม
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทำงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ
M = Moral and Integrity ศีลธรรมและความซื่อสัตย์
W = Willful ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
S = Service Mind
จิตมุ่งบริการ TEAM WINS เป็นข้อกำหนดร่วมกันของบุฃคากรในสำนัก-งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นเครื่องกระตุ้น และโน้มน้าวให้บุคลากรเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน และมีพฤติกรรมในทางเดียวกัน เป็นสิ่งที่สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคาดหวังให้บุคลากรทุกคนในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการคิดและปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน เพื่อผลสำเร็จตามพันธกิจ นำมาซึ่งทิศทางที่ชัดเจนเกิดความร่วมมือและ
เกิดพลังของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
TEAM WINS เป็นลักษณะของค่านิยมร่วม ง่ายต่อการเข้าใจ จดจำ เร้าใจให้ปฏิบัติตามโดยมาจาก
ความคิด ของคณะทำงานและบุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่มีความทันสมัย สอดคล้อง
กับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทุกคนเกิดความมุ่งมั่นในการ ที่จะสร้างความสำเร็จ และชื่อเสียงเกียรติคุณให้สำนัก-งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เสริมสร้างพลังสามัคคีในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
TEAM WINS เป็นการโน้มน้าวบุคลากรให้ปฏิบัติเป็นการหล่อหลอมจิตใจบุคลากรสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรสำนักงานปลัด
กระทรวงศึกษาธิการ ปลูกฝังให้บุคลากรสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีจิตสำนึก ค่านิยม ความ
เชื่อที่ถูกต้องร่วมกัน ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ มีความสุขในการทำงาน บุคลากรสำนักงานปลัด
กระทรวงศึกษาธิการมีวิถีชีวิตในการทำงานไปในทิศทางที่จะทำให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บรรลุ
วิสัยทัศน์และประสบความสำเร็จได้

ข้อสอบ-ข่าวสารพลวัต

ข้อสอบ-ข่าวสารพลวัต

1. มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2009 คือใคร
ก. นางสาวพงศ์ชนก กันกลับ
ข. นางสาวพงศ์ชนก กลับกัน
ค. นางสาวชนก กันกลับ
ง. นางสาวชนก กลับกัน
ตอบ ก
2. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข คือใคร
ก. นพ.นิวัตชัย สุจริตจันทร์
ข. นพ.บรรลุ ศิริพานิช
ค. นพ.วิชัย โชควิวัฒน์
ง. พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ
ตอบ ข
3. การทดสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ ตรงกับข้อใด
ก. R-NET ข. V-NET
ค. O-NET ง. RV-NET
ตอบ ข
4. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ก. ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
ข. เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม
ค. มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง
ง. เน้นการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและอ่านออกเขียนได้
ตอบ ข
5. “การบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพและไม่เกิดความเสี่ยงภายหลัง” ต้องมีองค์ประกอบสำคัญข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. มีระบบตรวจสอบภายใน
ข. มีการกำกับและควบคุมภายใน
ค. การจัดการทำต้นทุนผลผลิต
ง. การบริหารความเสี่ยง
ตอบ ค
6. กระบวนการบริหารความเสี่ยงมี 5 ขั้นตอน ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ระบุความเสี่ยง
ข. ประเมินความเสี่ยง
ค. การจัดการความเสี่ยง
ง. วางแผนความเสี่ยง
ตอบ ง
7. “การจัดทำระบบควบคุมภายใน”เกี่ยวข้องกับขั้นตอนกระบวนการบริหารความเสี่ยงข้อใด
ก. ระบุความเสี่ยง
ข. ประเมินความเสี่ยง
ค. การจัดการความเสี่ยง
ง. วางแผนความเสี่ยง
ตอบ ค
8. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
ก. นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ
ข. นายสุธรรม นทีทอง
ค. นางสาวลีลาวดี วัชโรบล
ง. นายสมเชาว์ เกษประทุม
ตอบ ก
9. TEAM WINS ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
ก. T คือ Tearmwork
ข. E คือ Equality of work
ค. M คือ Man Power
ง. S คือ Service Mind
ตอบ ค
10. Knowledge base Economy เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ก. สังคมเศรษฐกิจ
ข. สังคมแห่งการเรียนรู้
ค. สังคมเศรษฐกิจแห่งการเรียนรู้
ง. สังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเรียนรู้
ตอบ ค

ข้อสอบกฎหมาย

ข้อสอบกฎหมาย
ที่อาจถูกหรือผิด 50 : 50 ต้องระวัง จำให้ดี
1.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองในลักษณะใด
ก.Centralization
ข.Decentralization
ค.Deconcentralization
ง.ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข
2. ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.สำนักนายกรัฐมนตรี ข.กระทรวง
ค.ทบวง ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก
3. ในกรณีที่มีการยุบอำเภอ หรือเปลี่ยนแปลงอำเภอต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ข
4. การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ผู้รับมอบจะมอบให้คนอื่นต่อไม่ได้ยกเว้นมอบ
ก. รัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง
ค. อธิบดี ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ง
5. ก.พ.ร. ย่อมาจาก
ก. กรรมการพัฒนาราชการ
ข. คณะกรรมการพัฒนาราชการ
ค. กรรมการพัฒนาระบบราชการ
ง. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ตอบ ง
6. ปัจจุบันประเทศไทยมีกี่กระทรวง
ก. 15 กระทรวง ข.16 กระทรวง
ค. 19 กระทรวง ง. 20 กระทรวง
ตอบ ง
7. ส่วนราชการใด ไม่อยู่ในบังคับบัญชานายกรัฐมนตรี
ก. สำนักราชวัง
ข.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค. ราชบัณฑิตยสถาน
ง. สำนักงานอัยการสูงสุด
ตอบ ง
8. การศึกษาในข้อใด ไม่ใช่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ก่อนประถมศึกษา
ข.มัธยมศึกษา
ค.ปวส.
ง. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกข้อ
ตอบ ค
9. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของคำว่าผู้สอน
ก. ครู ข.คณาจารย์
ค.อาจารย์ ง.เป็นความหมายทุกข้อ
ตอบ ค
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับของผู้ปกครอง
ก.เป็นสิทธิ์ ข.เป็นหน้าที่
ค.เป็นเสรีภาพ ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข
11. ข้อใดเป็นศูนย์การเรียน
ก.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ข.โรงเรียนเอกชน
ค.สถานที่เรียนที่เอกชนเป็นผู้จัด
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ค
12. คณะกรรมการเทียบโอนการศึกษามีกี่คน
ก.ไม่เกิน 5 คน ข.5 คน
ค.3 คน ง.ไม่เกิน 3 คน
ตอบ ก
13. การแบ่งส่วนราชการใน สพฐ. ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ค
14. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ง
15. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัด สพท. ต้องตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.กฎกระทรวง
ข.ประกาศกระทรวง
ค. ประกาศ สพท.
ง.ระเบียบ สพท.
ตอบ ง
16. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.รมต.ศธ
ค.รมต.ศธ.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ง
17. ในกรณี กพฐ. ว่างลงก่อนฃรบกำหนด ต้องดำเนินการสรรหาภายในระยะเวลาใด
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ค
18. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานว่างลงก่อนครบกำหนดต้องดำเนินการสรรหาภายใน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ง
19. บุคคลในข้อใด ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา
ก.ครู
ข.คณาจารย์
ค.ผู้บริหารสถานศึกษา
ง.ผู้บริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ข
20. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คือ
ก. รมต.ศธ.
ข. ปลัด.ศธ.
ค.รมต.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ตอบ ค
21. ผู้มีอำนาจพิจารณาโทษทางวินัยร้ายแรงของข้าราชการครูในสถานศึกษาคือใคร
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
22. ผู้พิจารณาโทษผู้ที่กระทำผิดร้ายแรงสำหรับข้าราชการครูสังกัด สพฐ. ที่ไม่มีวิทยฐานะคือ
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
23. การฟ้องคดีทางปกครองต้องยื่นฟ้องภายในกี่วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ก.ภายใน 60 วัน ข.ภายใน 90 วัน
ค.ภายใน 6 เดือน ง.ภายใน 1 ปี
24.ก่อนนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกให้สั่งสรุปข้อเท็จจริงของศาลตุลาการเจ้าของสำนวนให้คู่กรณีทราบล่วงหน้ากี่วัน
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
25.คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองต้องบังคับตามข้อใด
ก.ตามกฎหมาย ข.ตามความเห็นข้างมากขององค์คณะพิจารณา
ค.ตามเสียงข้างมากขององค์คณะพิจารณา ง.ถูกทุกข้อ ตอบ ข
26. กรณีเจ้าหน้าที่รัฐ เห็นว่าถ้าเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการใดกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านได้โดยให้เวลาเสนอคำคัดค้านตามข้อใด
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ตอบ ค
27. การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกินกี่ปี
ก.2 ปี ข. 3 ปี
ค.4 ปี ง. 5 ปี
ตอบ ก
28. ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับมีความจำ-เป็นอาจรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพไว้ปกครองดูแลชั่วคราวได้ในระยะเวลาใด
ก.ไม่เกิน 15 วัน ข.ไม่เกิน 1 เดือน
ค.ไม่เกิน 3 เดือน ง.ไม่เกิน 6 เดือน
ตอบ ค
29. ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กคือใคร
ก.ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง.ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ก
30. เมื่อส่วนราชการได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนต้องตอบคำถามภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 10 วัน
ค. 15 วัน ง.20 วัน
ตอบ ค
31.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อยต้องมีเกณฑ์ตามข้อใด
ก.การลดขั้นตอนการปฏฺบัติงาน ข.การปรับปรุงกิจการของหน่วยงาน
ค.การบริหารราชการอย่างมีคุณภาพ ง.การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐ
ตอบ ก
32. พนักงานราชการมีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 6 ประเภท
33. คุณสมบัติ/ข้อห้ามของพนักงานราชการมีกี่ข้อ
ก.3 ข้อ ข.5 ข้อ
ค.7 ข้อ ง.9 ข้อ
ตอบ ง
34. พนักงานราชการที่ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ส่วนราชการแจ้งภายในกี่วัน
ก.3 วัน ข.5 วัน
ค.7 วัน ง.9 วัน
ตอบ ค
35. ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการจ้างพนักงานราชการต่อคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการภายในเดือนใด
ก.กันยายน ข.ตุลาคม
ค.พฤศจิกายน ง.ธันวาคม
ตอบ ง
36. ผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ข้าราชการครู สังกัดสพฐ. ลาอุปสมบทคือใคร
ก.ผอ.รร. ข.ผอ.สพท.
ค.เลขา สพฐ . ง.ปลัดกระทรวง
ตอบ ง ถ้าพิจารณาอนุญาต ผอ.สพท.
37.นายติวสอบลากิจส่วนตัว ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552แต่มีราชการเร่งด่วน ผอ.รร.จึงเรียกตัวมาปฏฺบัติราชการ วันที่12 พฤศจิกายน 2552 โดยนายติวสอบออกเดินทางกลับ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ดังนั้นวันปฏฺบัติหน้าที่ราชการของนายติวสอบเริ่มวันที่ใด
ก.10 พฤศจิกายน 2552
ข.11 พฤศจิกายน 2552
ค.12 พฤศจิกายน 2552
ง.อยู่ในดุลยพินิจ ผอ.รร.
ตอบ ข เริ่ม= ออกเดินทาง , หมด = ก่อนออกเดินทาง
38. การลาประเภทใดต่อไปนี้ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ก.ลาทางโทรศัพท์
ข.มายื่นใบลาไม่ได้
ค.กลับมาแล้วค่อยยื่นวันแรก
ง.ฝากข้อความเพื่อนร่วมงาน
ตอบ ง
39. หน่วยงานใดกำหนดเวลาทำงานของข้าราชการทั่วไป
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.กระทรวง
ค.สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. กรม
ตอบ ค
40. ผู้กำกับห้องสอบประมาทเลินเล่ออย่างแรงจนเป็นเหตุให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการประ-พฤติชั่วอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยอย่างไร
ก.ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน
ข.ลดการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเวลา 1 เดือน
ค.ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
ง.ไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ
ตอบ ง
ที่อาจถูกหรือผิด 50 : 50 ต้องระวัง จำให้ดี
1.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองในลักษณะใด
ก.Centralization
ข.Decentralization
ค.Deconcentralization
ง.ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข
2. ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.สำนักนายกรัฐมนตรี ข.กระทรวง
ค.ทบวง ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก
3. ในกรณีที่มีการยุบอำเภอ หรือเปลี่ยนแปลงอำเภอต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ข
4. การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ผู้รับมอบจะมอบให้คนอื่นต่อไม่ได้ยกเว้นมอบ
ก. รัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง
ค. อธิบดี ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ง
5. ก.พ.ร. ย่อมาจาก
ก. กรรมการพัฒนาราชการ
ข. คณะกรรมการพัฒนาราชการ
ค. กรรมการพัฒนาระบบราชการ
ง. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ตอบ ง
6. ปัจจุบันประเทศไทยมีกี่กระทรวง
ก. 15 กระทรวง ข.16 กระทรวง
ค. 19 กระทรวง ง. 20 กระทรวง
ตอบ ง
7. ส่วนราชการใด ไม่อยู่ในบังคับบัญชานายกรัฐมนตรี
ก. สำนักราชวัง
ข.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค. ราชบัณฑิตยสถาน
ง. สำนักงานอัยการสูงสุด
ตอบ ง
8. การศึกษาในข้อใด ไม่ใช่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ก่อนประถมศึกษา
ข.มัธยมศึกษา
ค.ปวส.
ง. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกข้อ
ตอบ ค
9. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของคำว่าผู้สอน
ก. ครู ข.คณาจารย์
ค.อาจารย์ ง.เป็นความหมายทุกข้อ
ตอบ ค
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับของผู้ปกครอง
ก.เป็นสิทธิ์ ข.เป็นหน้าที่
ค.เป็นเสรีภาพ ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข
11. ข้อใดเป็นศูนย์การเรียน
ก.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ข.โรงเรียนเอกชน
ค.สถานที่เรียนที่เอกชนเป็นผู้จัด
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ค
12. คณะกรรมการเทียบโอนการศึกษามีกี่คน
ก.ไม่เกิน 5 คน ข.5 คน
ค.3 คน ง.ไม่เกิน 3 คน
ตอบ ก
13. การแบ่งส่วนราชการใน สพฐ. ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ค
14. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ง
15. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัด สพท. ต้องตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.กฎกระทรวง
ข.ประกาศกระทรวง
ค. ประกาศ สพท.
ง.ระเบียบ สพท.
ตอบ ง
16. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.รมต.ศธ
ค.รมต.ศธ.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ง
17. ในกรณี กพฐ. ว่างลงก่อนฃรบกำหนด ต้องดำเนินการสรรหาภายในระยะเวลาใด
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ค
18. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานว่างลงก่อนครบกำหนดต้องดำเนินการสรรหาภายใน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ง
19. บุคคลในข้อใด ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา
ก.ครู
ข.คณาจารย์
ค.ผู้บริหารสถานศึกษา
ง.ผู้บริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ข
20. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คือ
ก. รมต.ศธ.
ข. ปลัด.ศธ.
ค.รมต.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ตอบ ค
21. ผู้มีอำนาจพิจารณาโทษทางวินัยร้ายแรงของข้าราชการครูในสถานศึกษาคือใคร
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
22. ผู้พิจารณาโทษผู้ที่กระทำผิดร้ายแรงสำหรับข้าราชการครูสังกัด สพฐ. ที่ไม่มีวิทยฐานะคือ
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
23. การฟ้องคดีทางปกครองต้องยื่นฟ้องภายในกี่วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ก.ภายใน 60 วัน ข.ภายใน 90 วัน
ค.ภายใน 6 เดือน ง.ภายใน 1 ปี
24.ก่อนนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกให้สั่งสรุปข้อเท็จจริงของศาลตุลาการเจ้าของสำนวนให้คู่กรณีทราบล่วงหน้ากี่วัน
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
25.คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองต้องบังคับตามข้อใด
ก.ตามกฎหมาย ข.ตามความเห็นข้างมากขององค์คณะพิจารณา
ค.ตามเสียงข้างมากขององค์คณะพิจารณา ง.ถูกทุกข้อ ตอบ ข
26. กรณีเจ้าหน้าที่รัฐ เห็นว่าถ้าเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการใดกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านได้โดยให้เวลาเสนอคำคัดค้านตามข้อใด
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ตอบ ค
27. การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกินกี่ปี
ก.2 ปี ข. 3 ปี
ค.4 ปี ง. 5 ปี
ตอบ ก
28. ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับมีความจำ-เป็นอาจรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพไว้ปกครองดูแลชั่วคราวได้ในระยะเวลาใด
ก.ไม่เกิน 15 วัน ข.ไม่เกิน 1 เดือน
ค.ไม่เกิน 3 เดือน ง.ไม่เกิน 6 เดือน
ตอบ ค
29. ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กคือใคร
ก.ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง.ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ก
30. เมื่อส่วนราชการได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนต้องตอบคำถามภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 10 วัน
ค. 15 วัน ง.20 วัน
ตอบ ค
31.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อยต้องมีเกณฑ์ตามข้อใด
ก.การลดขั้นตอนการปฏฺบัติงาน ข.การปรับปรุงกิจการของหน่วยงาน
ค.การบริหารราชการอย่างมีคุณภาพ ง.การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐ
ตอบ ก
32. พนักงานราชการมีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 6 ประเภท
33. คุณสมบัติ/ข้อห้ามของพนักงานราชการมีกี่ข้อ
ก.3 ข้อ ข.5 ข้อ
ค.7 ข้อ ง.9 ข้อ
ตอบ ง
34. พนักงานราชการที่ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ส่วนราชการแจ้งภายในกี่วัน
ก.3 วัน ข.5 วัน
ค.7 วัน ง.9 วัน
ตอบ ค
35. ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการจ้างพนักงานราชการต่อคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการภายในเดือนใด
ก.กันยายน ข.ตุลาคม
ค.พฤศจิกายน ง.ธันวาคม
ตอบ ง
36. ผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ข้าราชการครู สังกัดสพฐ. ลาอุปสมบทคือใคร
ก.ผอ.รร. ข.ผอ.สพท.
ค.เลขา สพฐ . ง.ปลัดกระทรวง
ตอบ ง ถ้าพิจารณาอนุญาต ผอ.สพท.
37.นายติวสอบลากิจส่วนตัว ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552แต่มีราชการเร่งด่วน ผอ.รร.จึงเรียกตัวมาปฏฺบัติราชการ วันที่12 พฤศจิกายน 2552 โดยนายติวสอบออกเดินทางกลับ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ดังนั้นวันปฏฺบัติหน้าที่ราชการของนายติวสอบเริ่มวันที่ใด
ก.10 พฤศจิกายน 2552
ข.11 พฤศจิกายน 2552
ค.12 พฤศจิกายน 2552
ง.อยู่ในดุลยพินิจ ผอ.รร.
ตอบ ข เริ่ม= ออกเดินทาง , หมด = ก่อนออกเดินทาง
38. การลาประเภทใดต่อไปนี้ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ก.ลาทางโทรศัพท์
ข.มายื่นใบลาไม่ได้
ค.กลับมาแล้วค่อยยื่นวันแรก
ง.ฝากข้อความเพื่อนร่วมงาน
ตอบ ง
39. หน่วยงานใดกำหนดเวลาทำงานของข้าราชการทั่วไป
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.กระทรวง
ค.สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. กรม
ตอบ ค
40. ผู้กำกับห้องสอบประมาทเลินเล่ออย่างแรงจนเป็นเหตุให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการประ-พฤติชั่วอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยอย่างไร
ก.ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน
ข.ลดการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเวลา 1 เดือน
ค.ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
ง.ไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ
ตอบ ง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างข้อสอบกฎหมาย

ตัวอย่างข้อสอบกฎหมาย-จากเวปรองโจ้

1) “คำสั่งทางปกครอง” คือ
A. การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของบุคคล
B. การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อสิทธิของบุคคล
C. การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลกระทบต่อหน้าที่ของบุคคล
D. ถูกทุกข้อ
ตอบ D
2) ข้อใดไม่เป็นรูปแบบคำสั่งทางปกครอง
A. การสั่งด้วยวาจา
B. การสั่งเป็นหนังสือ
C. การประกาศทางหนังสือพิมพ์
D. เป็นรูปแบบคำสั่งทางปกครองทุกข้อ
ตอบ D
3) การแจ้งคำสั่งทางปกครองโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับภายในประเทศให้ถือว่ารับแจ้นับตั้งแต่
วันส่งภายในกี่วัน
A. 5 วัน B. 7 วัน
C. 15 วัน D. 30 วัน
ตอบ B (ใน 7 นอก 15)
4) มิให้เปิดเผยให้ดำเนินการอย่างไร
A. ห้ามเปิดเผยทั้งฉบับ
B. ให้ขีดฆ่าด้วยหมึกแดง
C. ให้ลบหรือตัดตอนข้อความนั้น
D. ให้ดำเนินการข้อใดข้อหนึ่ง
ตอบ ......
5) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ควรเปิดเผยหน่วยงานรัฐต้องดำเนินการอย่างไร
A. แจ้งให้ประชาชนได้ทราบ
B. ประกาศห้ามในราชกิจจานุเบกษา
C. ลบหรือตัดทอนข้อมูลข่าวสารนั้น
D. ทำคำสั่ง ห้ามเปิดเผย
ตอบ D
6) ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา หรือมีอายุครบเก็บ จะต้องเก็บรักษาจัดให้ประชาชนได้ศึกษาที่หน่วยงานใด
A. สำนักนายกรัฐมนตรี
B. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
C. กรมประชาสัมพันธ์
D. หน่วยงานรัฐนั้น ๆ
ตอบ B
7) ข้อมูลที่มีฃำสั่งมิให้เปิดเผย หากมีอายุการเก็บครบ 20 ปี แต่หน่วยงานรัฐเห็นว่ายังไม่ควรเปิดเผยต้องขอขยายเวลาส่งเก็บรักษาโดยขยายเวลาไม่เกินคราวละกี่ปี
A. 1 ปี B. 5 ปี
C. 7 ปี D. 10 ปี
ตอบ B
8) AOC คือ
A. Area Office Center
B. Area Operation Center
C. Area Object Center
D. Area One-Stop Center
ตอบ B
9) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศเกียรติคุณบัตรให้แก่ผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน สำหรับการบริจาคจำนวนเท่าไหร่
A. ไม่ถึง 1 ล้านบาท
B. ไม่ถึง 5 ล้านบาท
C. ตั้งแต่ 5 ล้านบาทแต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท
D. ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ตอบ D
10) การพานักเรียนไปนอกสถานศึกษาต้องมีครูควบคุม
A. 1 ต่อ 10 B. 1 ต่อ 15
C. 1 ต่อ 20 D. 1 ต่อ 30
ตอบ D
11) สำนักงานลูกเสือจังหวัดให้จัดตั้ง ณ ที่ใด
A. ศาลากลางจังหวัด
B. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
C. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตใดเขตหนึ่ง
D. ตามความเหมาะสม
ตอบ B
12) ข้อใดคือ คติพจน์ของลูกเสือสำรอง
A. Do Our Best B. Be prepared
C. Look wide D. Service
ตอบ A (DO BE LOOK SER)
คติพจน์ของลูกเสือทั่วไป
เสียชีพอย่าเสียสัตย์
คติพจน์ของลูกเสือสำรอง
ทำดีที่สุด Do your best คติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
มองไกล Look wide
คติพจน์ของลูกเสือสามัญ
จงเตรียมพร้อม Be prepared
คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ
บริการ Service
13) ใครมีหน้าที่ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
A. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
B. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
C. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
D. ข้อ ก และ ข้อ ข
ตอบ D
14) การจัดตั้งสถานศึกษาระดับประถมศึกษาขึ้นใหม่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 จะต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่ากี่คนมาเข้าเรียน
A. 20 คน B. 25 คน
C. 30 คน D. 35 คน
ตอบ B
15) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประดับธงชาติในสถานศึกษา
A. วันสงกรานต์ 1 วัน
B. วัน 5 ธันวาคม 3 วัน
C. วันออกพรรษา 1 วัน
D. ถูกต้องทุกข้อ
ตอบ B
16) ข้อใดคือ เวลาการชักธงชาติในวันทำการปกติของสถานศึกษา
A. ขึ้น 8.00 น. ลง 16.30 น.
B. ขึ้น 8.30 น. ลง 16.30 น.
C. ขึ้น 8.30 น. ลง 18.00 น.
D. ขึ้นเวลาเรียน ลง 18.00 น.
ตอบ D (เปิดเข้า ปิด 18)
17) ผู้ขอลาศึกษาต่อภาคนอกเวลาราชการ ต้องมีอายุไม่เกินเท่าไหร่
A. 35 ปี B. 40 ปี
C. 45 ปี D. 55 ปี
ตอบ C
18) ใครคือผู้รักษาการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมฃวามประพฤตินักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. ๒๕๔๘
A. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
B. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
C. เลขาธิการ สพฐ.
D. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียน
ตอบ B
19) มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนที่กำหนดเป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ดำเนินการพัฒนห้องสมุด
ในโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกี่มาตรฐาน
A. 3 มาตรฐาน B. 4 มาตรฐาน
C. 5 มาตรฐาน D. 6 มาตรฐาน
ตอบ B : ผู้บริหาร / ครู / ผู้เรียน / ทรัพยากรสารสนเทศ
20) ข้อใดไม่ใช่ มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน
A. มาตรฐานด้านผู้บริหาร
B. มาตรฐานด้านครู
C. มาตรฐานด้านสถานที่
D. มาตรฐานด้านทรัพยากรสารสนเทศ
ตอบ C
21) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีกี่คน
A. 26 คน B. ไม่เกิน 26 คน
C. 27 คน D. ไม่เกิน 27 คน
ตอบ C
22) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมดวาระ ให้สรรหาภายในกี่วัน
A. 60 วัน B. 90 วัน
C. 120 วัน D. 180 วัน
ตอบ B
23) คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎกระทรวงฯมีกี่คน
A. 15 คน B. ไม่เกิน 15 คน
C. 17 คน D. ไม่เกิน 17 คน
ตอบ A
24) ใครเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
A. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
B. เลขาธิการ สพฐ.
C. ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
D. ผู้อำนวยการ สพท.
ตอบ C
25) ประธานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำรงตำแหน่งประธานฯ ได้กี่เขต
A. ไม่เกิน 1 เขต B. ไม่เกิน 2 เขต
C. ไม่เกิน 3 เขต D. ไม่ได้กำหนด
ตอบ B
26) คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หมดวาระ ต้องสรรหาภายในกี่วัน
A. 60 วัน B. 90 วัน
C. 120 วัน D. 180 วัน
ตอบ B
27) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนเกินสามร้อยคน มีกี่คน
A. 9 คน B. ไม่เกิน 9 คน
C. 15 คน D. ไม่เกิน 15 คน
ตอบ C (มีคำว่า ไม่เกิน คือ กพฐ ไม่เกิน 27 คน , เทียบโอน ไม่เกิน 5 คน )
28) ผู้แทนใดในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่ได้สรรหาโดยตรง
A. ผู้แทนครู
B. ผู้แทนศาสนา
C. ผู้แทนศิษย์เก่า
D. ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน
ตอบ ผู้แทนองค์กรปกฃรองส่วนท้องถิ่น
29) ใครเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
A. เลขาธิการสพฐ.
B. ผอ.สพท.
C. ผอ.สถานศึกษา
D. ประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ B
30) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมดวาระต้องสรรหาภายในกี่วัน
A. 60 วัน B. 90 วัน
C. 120 วัน D. 180 วัน
ตอบ B (รร. 90 กพฐ 60)

ตัวอย่าง ข้อสอบกฎหมายและพลวัต(ครูผู้ช่วยและผู้บริหาร)

ตัวอย่าง ข้อสอบกฎหมายและพลวัต(ครูผู้ช่วยและผู้บริหาร)

1). พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้
วันที่เท่าไร
ก. 23 ธ.ค. 2547 ข. 24 ธ.ค. 2547
ค. 20 ก.พ. 2551 ง. 21 ก.พ. 2551
ตอบ ง
อย่าหลงกับฉบับแรก ใหม่ 20/ 21 ก.พ.51
2). พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีกี่มาตรา ?
ก. 13 มาตรา ข. 15 มาตรา
ค. 17 มาตรา ง. 21 มาตรา
ตอบ ค
3). พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีผลกระทบโดยตรงต่อ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กี่มาตรา ?
ก. 13 มาตรา ข. 15 มาตรา
ค. 17 มาตรา ง. 21 มาตรา
ตอบ ก ยกเลิก
4). พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ตราขึ้นโดยคำ
แนะนำและยินยอมจากข้อใด ?
ก. ครม. ข. รัฐสภา
ค. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ง. สภาการศึกษา
ตอบ ค
5). ก.ค.ศ. ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่งกี่คน ?
ก. 5 คน ข. 7 คน
ค. 8 คน ง. 10 คน
ตอบ ค แหน่ง ทรงคุณวุฒิ 8 9 9
6). กรรมการโดยตำแหน่งของ ก.ค.ศ. แตกต่างจาก
เดิมกี่คน ?
ก. 1 คน ข. 2 คน
ค. 3 คน ง. 4 คน
ตอบ ค 7). ก.ค.ศ. โดยตำแหน่งข้อใดที่ปรากฏในฉบับเดิม ?
ก. ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
ข. เลขาธิการ ก.พ.
ค. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ง. เลขาธิการ ก.ค.ศ.
ตอบ ข
8). กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ค.ศ. แตกต่างจากเดิมกี่คน ?
ก. 1 คน ข. 2 คน
ค. 3 คน ง. 4 คน
ตอบ ข
9). กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ค.ศ. ได้รับแต่งตั้งจากข้อใด ?
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. รมต.กระทรวงศึกษาธิการ
ง. สภาการศึกษา
ตอบ ก
10). กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ค.ศ. ใหม่ที่ซ้ำกับฉบับเดิมคือข้อใด ?
ก. ด้านการบริหารองค์กร
ข. ด้านการจัดการความรู้
ค. ด้านการผลิตและพัฒนาครู
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก
11). อ.ก.ค.ศ. ตามพรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
มีกี่คน ?
ก. 9 คน ข. 10 คน
ค. 11 คน ง. 12 คน
ตอบ ง
12). อ.ก.ค.ศ. โดยตำแหน่งมีกี่คน ?
ก. 1 คน ข. 2 คน
ค. 3 คน ง. 4 คน
ตอบ ข
13). ข้อใดเป็น อ.ก.ค.ศ. โดยตำแหน่ง ?
ก. ผู้แทน ก.ค.ศ.
ข. ผู้แทนครู
ค. ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ง. ผอ. สพท.
ตอบ ง
14). ผู้ทรงคุณวุฒิของ อ.ก.ค.ศ. มีกี่คน ?
ก. 3 คน ข. 4 คน
ค. 5 คน ง. 6 คน
ตอบ ข
15). ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ อ.ก.ค.ศ. ที่มาจากสายประถมมีกี่คน ?
ก. 1 คน ข. 2 คน
ค. 3 คน ง. 4 คน
ตอบ ข
16). ข้อใดคือสัดส่วนโดยตำแหน่ง : คุณวุฒิ : ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของ
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ?
ก. 3 : 3 : 3 ข. 2 : 4 : 5
ค. 3 : 4 : 5 ง. 2 : 5 : 5
ตอบ ข
17). ข้อใดต่อไปนี้เป็น อ.ก.ค.ศ. ได้ ?
ก. สมชายเป็น ผอ.โรงเรียนและเป็นผู้แทน
ก.ค.ศ.
ข. สมศรีเป็นครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญและเป็น
ผู้ทรงคุณวุฒิ
ค. สมปองเป็นครู วิทยฐานะชำนาญการและ
เป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชนเป็นผู้แทน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. สมสมัยเป็นผู้แทนคุรุสภาแต่ไม่มีใบประกอบ
วิชาชีพ
ตอบ ค
18). ใครเป็นผู้แต่งตั้ง รอง ผอ.สถานศึกษา ?
ก. ผอ.สพท.
ข. อ.ก.ค.ศ.
ค. ผอ. สพท. โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
ง. อ.ก.ค.ศ. โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
ตอบ ค
19). กรณีที่การดำเนินการ ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ใดเห็นว่าไม่ถูกต้องสามารถร้องทุกข์ต่อใคร ?
ก. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ข. ก.ค.ศ.
ค. เลขาธิการ สพฐ.
ง. ศาลปกครอง
ตอบ ข
20). ข้อใดคือเหตุผลในการออก พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุฃลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551 ?
ก. เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยน
แปลงไป
ข. รองรับการกระจายอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น
ค. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาไม่มีประสิทธิภาพ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค

ตัวอย่างข้อสอบภาค ข (สอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร)

ตัวอย่างข้อสอบภาค ข (สอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร)

1. พ.ร.บ.การศึกษามีผลบังคับใช้เมื่อใด
20 สิงหาคม หลังวันประกาศ 1 วัน
2. SP2 ย่อมาจาก
STIMULUTE PACGAG 2
3. เงินดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการอยู่ในกฎหมายใด พ.ร.บ.การศึกษา มาตรา 55
4. ข้อใดคือทฤษฏี X
ไม่ดี ชอบควบคุม บังคับ5. ข้อใดคือทฤษฏี Y
ดี ไม่ต้องมีใครบังคับควบคุม ทำงานแบบ
มีจิตสาธารณะ
6. ใครคือบุคลากรลูกเสือ
ผู้บังคับลูกเสือ อาสาสมัครลูกเสือเจ้าหน้าที่
ลูกเสือ
7. ประธานลูกเสือจังหวัดคือใคร
ผู้ว่าราชการจังหวัด
8. การขออนุญาตจัดตั้งค่ายลูกเสือจังหวัดขออนุญาตใคร
ผู้ว่าราชการจังหวัด
9. คัดลอกผลงานทางวิชาการผิดวินัยมาตราใด
พ.ร.บ.ครูฯ มาตรา 91
10. จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ค.ศ.เขตฯกี่คน
4 คน (เดิม 3 คน)
11. ข้อมูล น้ำหนัก ส่วนสูงนักเรียน อยู่ในโปรแกรมใด SMISS
12. ข้อมูลบุคลากรอยู่ในโปรแกรมใด
P-OBEC
13. ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ประเทศใด
ลาว
14. เยาวชน หมายถึงช่วงอายุเท่าใด-เท่าใด ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราช
บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ เยาวชน
หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ และไม่ใช่ผู้บรรลุ
นิติภาวะแล้วจากการจดทะเบียนสมรส ในทางกฎหมายก็ถือว่าบุคคลที่มีอายุระหว่างนี้เป็นเยาวชนและหากต้องระวางโทษก็จะพิจารณาโทษแตกต่างจากผู้ใหญ่ความหมายในระดับสากล โดย สห-
ประชาชาติ ระบุว่า เยาวชน หมายถึงคนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง ๑๕ - ๒๕ ปี หรือเป็นช่วงวัยหนุ่มสาว
15. ประเภทของความพิการ 9 ประเภทข้อใดไม่ใช่
1.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น,
2.การได้ยิน,
3.ทางสติปัญญา,
4.ทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ,
5.ทางการเรียนรู้,
6.ทางการพูด และภาษา,
7.ทางพฤติกรรม หรืออารมณ์,
8.ออทิสติค และ
9.พิการซ้อน
ที่นอกเหนือจากนี้ไม่ใช่
16. ครูชำนาญการเบิกค่าเช่าบ้านได้เท่าไหร่
3,500 บาทต่อเดือน
17. แบบฟอร์มขอเบิกค่าเช่าบ้านคือข้อใด
แบบ 6006
18. HOT SCHOOL หมายถึงข้อใด
โรงเรียนแห่งความคิด higher order thinking
19. โรงเรียน 2 ภาษา คือ
ภาษาไทยกลางกับภาษาอื่นอีกหนึ่งภาษา
20. รางวังซีไรท์คือข้อใด
ลับแล แก่งคอย ของ อุทิศ เหมะมูล
21. รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคือใคร
บารักโอบามา
22. ข้อย้ายนักเรียนแบบ บค.ใด
บค.19
23. โรงเรียนเอกชนจัดการศึกษาระดับใด
ทุกระดับและทุกประเภท
24. ข้อใดไม่ใช่โรคต้องห้ามรับราชการ
โรคเรื้อน (ต้องห้ามต้องมีคำต่อท้ายว่าระยะแสดงอาการเป็นที่น่ารังเกียจ)
25. เวลาทำงานจาก-ถึง
08.30-16.30 น.
26. ไทยสามัคคีไทยเข้มแข็งคือข้อใด
ร่วมร้องเพลงชาติเวลา 18.00 น.
27. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปิดภาคเรียน
วันปิดภาคเรียนเป็นวันพักผ่อนของครู
28. การแบ่งศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษามัธยมฯกี่กลุ่ม
29. กลุ่มเครือข่ายฯมัธยม
19
30. ขอนแก่นอยู่ศูนย์ฯที่เท่าไหร่
ขอนแก่น 24,
กำแพงเพชร 40
31. V-NET คืออะไร
วุฒิบัตรวิชาชีพ (อาชีวศึกษา)
32. การสอบ LAS สอบในชั้นใดบ้าง
ป.2, ป.5,ม.2
33. ผลิตภัณฑ์มวลรวมคือข้อใด
GDP
34. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียและแปซิฟิก
คือข้อใด
APEC = (เอเปก)
Asia-Pacific Economic Cooperation
35. กรรมการโดยตำแหน่ง ใน อ.ก.ค.ศ.เขตฯคือข้อใด
ผู้แทน ก.ค.ศ. และผู้แทนคุรุสภา
36. หลักสูตร 44 กับ 51 แตกต่างกันข้อใด
สมรรถนะ
37. เงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
คือข้อใด
2,400


ครม.เห็นชอบเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้กับนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน จำนวน 13,880 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีนักเรียนต่ำกว่า 300 คน จำนวน 437 แห่ง ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ โดยนักเรียนระดับประถม จะได้รับเงินเพิ่มขึ้นคนละ 500 บาท จากเดิมที่ได้รับ 1,900 บาท เพิ่มเป็น 2,400 บาท ส่วนระดับ ม.ต้นและม.ปลาย ได้รับเพิ่มขึ้นคนละ 1,000 บาท โดย ม.ต้น เดิมได้รับ 3,500 บาท เพิ่มเป็น 4,500 บาท และม.ปลายเดิมได้รับ 3,800 บาท เพิ่มเป็น 4,800 บาท

ตัวอย่าง ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุด 3

ตัวอย่าง ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุด 3

1. ข้อใดคือประธานคณะกรรมการ สมศ.คนปัจจุบัน
ก. ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ข. นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ค. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์
ง. นายประเสริฐ งามพันธ์
ตอบ ค
2.จากข้อ 1 ใครคือ ผู้อำนวยการ สมศ.คนปัจจุบัน
ก. ศ.กิตติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ข. นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ค. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์
ง. นายประเสริฐ งามพันธ์
ตอบ ข
3. ข้อใดคือคำขวัญของนโยบาย 3D ตามประกาศ
กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552
ก. ยึดมั่นประชาธิปไตย ห่างไกลยาเสพติด
มีคุณธรรม และความเป็นไทย
ข. ยึดมั่นประชาธิปไตย มีคุณธรรมและ
ความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด
ค. ยึดมั่นประชาธิปไตย มีคุณธรรม
ความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด
ง. ยึดมั่นประชาธิปไตย มีคุณธรรม ความเป็นไทยและห่างไกลยาเสพติด
ตอบ ข
4.ใครเป็นคนเซ็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ประกาศการใช้สัญลักษณ์ 3D เมื่อวันที่
27 ตุลาคม 2552
ก. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
อ้างอิง http://www.kruthai.info/main/board01_/show.php?Category=newsfind&No=176
5. ตามหลักสุตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปี 2551 การสั่งซื้อ ปพ.1และ ปพ.2 ใครเป็นผู้สั่งซื้อ
ก. ผอ.สพท.
ข. ผอ. สพท. โดยอนุมัติฃณะกรรมการเขต
ค. ผอ. สถานศึกษาโดยตรง
ง. ผอ.สถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดย
อนุมัติคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ ก
6. ตามหลักสุตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปี 2551 การสั่งซื้อ ปพ.1 ใครเป็นผู้สั่งซื้อ
ก. ผอ.สพท.
ข. ผอ. สพท. โดยอนุมัติฃณะกรรมการเขต
ค. ผอ. สถานศึกษาโดยตรง
ง. ผอ.สถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดย
อนุมัติคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ ก
7. ข้อใดคือระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกน-
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ก. ปพ.1: ป ข. ปพ.1: บ
ค. ปพ.1: ม ง. ปพ.1: พ
ตอบ ข
8. ข้อใดคือระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกน-
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย
ก. ปพ.1: ป ข. ปพ.1: บ
ค. ปพ.1: ม ง. ปพ.1: พ
ตอบ ง
9. ข้อใดคือระเบียนแสดงผลการเรียนหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา
ก. ปพ.1: ป ข. ปพ.1: บ
ค. ปพ.1: ม ง. ปพ.1: พ
ตอบ ข
10. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษษผู้ที่ผ่าน การประเมิน
ผลงานทางวิชาการ ภายหลังที่มีการเปลี่ยนตำ-
แหน่งใหม่ ตามหนังสือ สำนักงน ก.ค.ศ. เมื่อวันที่
4 พ.ย.2552 ให้ใช้แต่งตั้งตามข้อใด
ก. ผู้ที่ได้ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การ
ประเมิน ฯ ที่ใช้บังคับตาม พ.ร.บ. ระเบียบ
ข้าราชการครู พ.ศ.2523
ข. ผู้ที่ได้ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การ
ประเมิน ฯ ที่ใช้บังคับตามหนังสือสำนัก
งาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ. 0206.3/ ว.25
ลว. 29 ธ.ค.2548
ค. ก.และ ข ถูกต้อง
ง. ข้อ ก. ถูกแต่ข้อ ข.ต้อง พ.ศ.2549 ไม่ใช่
2548 เท่านั้น
ตอบ ค

ตัวอย่าง –ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุด 2

ตัวอย่าง –ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุด 2

1. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ข้อใดถูกต้อง
ก. พ.ศ. 2551 - 2560
ข. พ.ศ. 2552 - 2561
ค. พ.ศ. 2553 - 2561
ง. พ.ศ. 2553 - 2562
2. งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของ สพฐ.ประจำปี พ.ศ.
2552 จัดเป็นครั้งที่เท่าไร
ก. 57 ข.58
ค. 59 ง. 60
3. ข้อใดคือเว็บไซต์งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของ สพฐ
ประจำปี 2552
ก.http://www.pr.obec.go.th
ข.http://pr.obec.go.th
ค.http://pr.obec.or.th
ง.http://pr.obec.net
4. งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ภาคเหนือ จัดระหว่าง
วันใด
ก. 7-9 ธ.ค. 2552
ข. 15-17 ธ.ค. 2552
ค. 17-19 ธ.ค. 2552
ง. 20-23 ธ.ค. 2552
5. จากข้อ 4 จัดที่จังหวัดใด
ก. กำแพงเพชร ข. นครสวรรค์
ค. เพชรบูรณ์ ง. อุตรดิตถ์
6. ใครคือ 1 ใน 2 อนุกรรมการที่ปรึกษา ของคณะอนุ
กรรมการการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
ก. ศ.ดร.เกษม วัฒนชัย
ข. ศ.เกียรติคุณเกษม วัฒนชัย
ค. ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ง. ศ.ยงยุทธ์ ยุทธวงษ์
7. จกข้อ 6. ใครคือประธานคณะอนุกรรมการการ
ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
ก. ศ.ดร.เกษม วัฒนชัย
ข. ศ.เกียรติคุณเกษม วัฒนชัย
ค. ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ง. ศ.ยงยุทธ์ ยุทธวงษ์
8. ใครคือประธานสภาการศึกษา
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
9. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ 4 ใหม่แห่งการปฏิรูปการศึกษา
ในทศวรรษที่สอง
ก. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
ข. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
ค.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่ง
เรียนรู้ยุคใหม่
ง. ถูกทั้ง ก ข และ ค
10. การรับสมัฃรสมาชิก ช.พ.ค.- ช.พ.ส.กรณีพิเศษ รับ
สมัครระหว่างวันใด และเสียค่าสมัครเท่าใด ตาม
ลำดับ
ก. 1 พ.ย.- 30 ธ.ค.2552 ค่าสมัคร 100 บาท
ข. 1 พ.ย.- 30 ธ.ค.2552 ค่าสมัคร 200 บาท
ค. 1 พ.ย.- 31 ธ.ค.2552 ค่าสมัคร 100 บาท
ง. 1 พ.ย.- 31 ธ.ค.2552 ค่าสมัคร 200 บาท

1.ข 2. ค 3. ข 4. ข 5. ข
6 ข 7 ค 8 ข 9 ง 10 ค

ตัวอย่าง ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุดที่ 1

ตัวอย่าง ข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ชุดที่ 1

1.การประชุม World DIDAC 2009 วันที่ 28-30 ตุลา-
คม 2552 จัดที่ประเทศใด
ก. ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ประเทศไทย
ข. ศูนย์เรคแซม ประเทศมาเลเซีย
ค. ศูนย์แมกไซไซ ประเทศฟิลิปินส์
ง. ศูนย์พิพิธภัณฑ์โตชะเรง ประเทศกัมพูชา
2.ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า “Logistics”
มากที่สุด
ก. World DIDAC 2009
ข. Fed EX
ค. Check Dam
ง. HOT School
3.ข้อใดคือคำเต็มของคำว่า MOU
ก. Memorandum for Understanding
ข. Memorandum of Understanding
ค. Memory for Understand
ง. Memory of Understand
4.พื้นที่จังหวัดทุกข้อต่อไปนี้ที่เป็นโซนนำร่อง 3 G Zone
ยกเว้นข้อใด
ก. เชียงใหม่ ข. กรุงเทพฯ
ค. ชลบุรี ง. นครราชสีมา
5.ท่านเป็นผู้อำนวยโรงเรียนยุคผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ท่านจะใช้สื่อในทุกข้อต่อไปนี้ประชาสัมพันธ์โรง-
เรียนของท่านได้ ยกเว้นข้อใด
ก. Facebook ข. Site Visit
ค. Twitter ง. Reach
6.การประชุมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่ประเทศญี่ปุ่น
จัดเป็นครั้งที่เท่าใด
ก. ครั้งที่ 1 ข. ครั้งที่ 2
ค. ครั้งที่ 3 ง. ครั้งที่ 4
7.ศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มากที่สุด
ก Modem ข Hub
ค Speed ง CPU
8.นักฟุตบอลไทยที่ไม่ได้ติดทีมชาติชุดเอเชียนคัพ รอบ
คัดเลือกกับทีมชาติสิงคโปร์ในวันที่ 14 และ18 เดือน
พฤศจิกายน 2552 นี้คือใคร
ก ปีเตอร์ แลง ข ธีรศิลป์ แดงดา
ค ศรายุทธ ชัยคำดี ง ธีรเทพ วิโณทัย
9.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์
ก PDA ข 3 G
ค CDMA ง MP4
10.สายด่วน Call Center : Tutor Channel
ก 1579 ข 1660
ค 1666 ง 1599
1.การประชุม World DIDAC 2009 วันที่ 28-30 ตุลา
คม 2552 จัดที่ประเทศใด
ก ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ประเทศไทย
2.ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับคำว่า “Logistics”มากที่สุด
ง HOT School
3.ข้อใดฃคอคำเต็มของฃำว่า MOU
ข Memorandum of Understanding
4.พื้นที่จังหวัดทุกข้อต่อไปนี้ที่เป็นโซนนำร่อง 3 G Zone
ยกเว้นข้อใด
ง นครราชสีมา
5.ท่านเป็นผู้อำนวยโรงเรียนยุฃผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ท่านจะใช้สื่อในทุกข้อต่อไปนี้ประชาสัมพันธ์โรง-
เรียนของท่านได้ ยกเว้นข้อใด
ง Reach
6.การประชุมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่ประเทศญี่ปุ่น
จัดเป็นครั้งที่เท่าใด
ก ครั้งที่ 1 (6-7 พ.ย. 52 ณ ญี่ปุ่น)
7.ศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มากที่สุด
ข Hub
8.นักฟุตบอลไทยที่ไม่ได้ติดทีมชาติชุดเอเชียนคัพ รอบ
คัดเลือกกับทีมชาติสิงคโปร์ในวันที่ 14 และ 18 เดือน
พฤศจิกายน 2552 นี้คือใคร
ค ศรายุทธ ชัยคำดี
9.ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์
ง MP4
10.สายด่วน Call Center : Tutor Channel
ก 1579

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ
การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือก เป็นวิธีการสรรหาบุคคลเข้าทำงานทั้งในภาคเอกชนและภาคราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคราชการมีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการสรรหาบุคคล เข้ารับราชการด้วยระบบคุณธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ การสอบคัดเลือก การคัดเลือก เป็นวิธีการที่ส่วนราชการใช้สรรหาบุคคลในระบบเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งสายหัวหน้างาน หรือผู้บริหารมักจะมี หลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานนั้นๆ กำหนด เช่นการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ก.ค.ศ. ได้กำหนดให้มีสอบ ข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ โดยหลักสูตรสอบข้อเขียนประกอบด้วย ภาคความรอบรู้ สมรรถนะทางการบริหาร ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือกฎหมายระเบียบการศึกษาและปฏิบัติราชการและภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยการประเมินผลงานหรือสอบสัมภาษณ์โดยในแต่ละภาค ได้กำหนดเรื่องหรือหัวข้อที่จะวัดเอาไว้เกณฑ์การผ่านและรายละเอียดอื่นๆ หรือการสอบคัดเลือก คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ หรือเลื่อนตำแหน่งของ ก.พ. หรือส่วนราชการอื่นก็ทำนองเดียวกัน ทั้งนี้เป้าหมายของการสอบแข่งขัน ก็เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ มีสมรรถนะและเจตคติที่ดี เข้ามาทำงานราชการนั่นเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสอบ นั่นคือเป็นผู้ที่สามารถสอบได้หรือสอบผ่าน มีชื่อในบัญชีรายชื่อ ผู้สอบคัดเลือกได้ หรือผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ดังนั้นจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้านกล่าวคือ
1.1 จะจัดหาเอกสารหรือหนังสือสำหรับเตรียมสอบอย่างไร
หนังสือหรือเอกสารที่ใช้ในการอ่านเตรียมสอบเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะหากมีหนังสือแต่ เป็นหนังสือที่เก่า ล้าสมัย เนื้อหาไม่ตรง หรือครอบคลุมตามหลักสูตรสอบฯก็จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้เกิดความสับสน ส่งผลต่อการสอบอย่างแน่นอน วิธีการหาหนังสือหรือเอกสารเตรียมสอบ มีดังนี้
1) หนังสือหรือเอกสารมีเนื้อหาที่ตรงตามหลักสูตรสอบคัดเลือก คัดเลือกฯ
2) เป็นหนังสือที่ใหม่ มีเนื้อหาสาระใหม่ ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือสาระในปัจจุบัน
3) ควรเลือกหนังสือทั้งที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียด เนื้อหาสรุปและหรือหนังสือที่เป็นแบบฝึก
4) ควรเลือกหนังสือหลายๆ เล่ม เจ้าของหรือผู้แต่งที่เชื่อถือได้
5) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรเลือกหนังสือประเภทนี้โดยเฉพาะ เช่น หนังสือวัดความถนัด ทางการเรียน หนังสือฃวามสามารถทั่วไป หรือหนังสือประเภท Aptitude test ที่มีแบบฝึกหรือข้อสอบด้วย
6) ภาฃวิชาการศึกษา ควรเลือกหนังสือเฉพาะเรื่อง เช่น การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา หลักการจัดการศึกษา หลักสูตรและการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา สมรรถนะทางการบริหาร เป็นต้น ส่วนมากจะมีในสถาบันการศึกษา และหนังสือเตรียมสอบทั่วไปซึ่งส่วนมากจะเป็นเนื้อหาโดยสรุป
7) ภาคกฎหมายการศึกษาหรือปฏิบัติราชการ หนังสือที่เหมาะคือหนังสือรวมระเบียบกฎหมาย หนังสือหรือคู่มือเตรียมสอบโดยทั่วไปเพราะมีทั้งเนื้อหาโดยละเอียดและสรุปไว้แล้ว มีตัวอย่างข้อสอบหรือ แบบทดสอบให้ฝึกทำด้วย
8) ภาคความรอบรู้ หรือการปฏิบัติงานในหน้าที่ หน่วยงาน สถานศึกษา ควรเลือกหนังสือที่เป็นคู่มือ การปฏิบัติงาน เอกสารเรื่องนั้นๆที่ทางราชการจัดขึ้นโดยเฉพาะไม่ควรยึดหนังสือเตรียมสอบฯเป็นหลักเพราะเนื้อหามีน้อย หรือหากเป็นข้อสอบที่นำมาเป็นตัวอย่าง บางข้ออาจจะเป็นข้อสอบเก่าล้าสมัย
9) หนังสือรวมข้อสอบฯ หรือหนังสือที่มีตัวอย่างข้อสอบ หรือแบบทดสอบให้ฝึกทำ ก็เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีไว้ เพื่อฝึกทักษะการทำข้อสอบ สร้างความคุ้นเคย และเพื่อเป็นการทบทวนความรู้
10) หนังสืออิเลคทรอนิค(E-book ) รวมทั้งเนื้อหาสาระ ที่มีให้บริการบนสื่ออินเตอร์เน็ต ตามเว็บไซต์หน่วยงานราชการ สถานบัน องค์กร หรือเว็บไชต์สำหรับการเตรียมสอบโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสื่อที่มีหลากหลาย สามารถสืบค้น หรือดาวน์โหลดข้อมูลมาเก็บไว้ได้ตลอดเวลา ที่สำคัญประหยัด ไม่ต้องซื้อหา และ ได้เนื้อหาใหม่ ทันสมัย

1.2 วิธีการอ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าใจและจำได้เร็ว
มีเอกสารหรือหนังสือสำหรับใช้เตรียมสอบที่มคุณภาพและจำนวนมากจะไม่ก่อประโยชน์อะไรในการสอบเลยหากไม่อ่านหนังสือนั้น ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ คือ การอ่าน การเขียน การฟัง การพูดหรือการฝึกทำ เพราะคนเราจะจำหรือเข้าใจในเนื้อหาต้องใช้เรียนรู้หลายๆ วิธี ส่วนเทคนิคการค้นคว้าหรืออ่านหนังสือ มีดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตรการสอบคัดเลือก การคัดเลือก ให้เข้าใจ และจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา หนังสือ และวิธีการศึกษา
2) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรศึกษาโดยวิธีฝึกทำข้อสอบ ดูเฉลยและทำความเข้าใจ เรื่องไหน ที่ยากควรทำจุดสังเกตไว้ในหนังสือหรือบันทึกสรุปวิธีการหรือหลักการหาคำตอบไว้ในสมุดบันทึก ไว้ใช้ทบทวนในคราวต่อไป
3) วิชาการศึกษา การบริหาร วิชาความรอบรู้ หรือการปฏิบัติงานในหน้าที่ ควรศึกษาเป็นเรื่องๆ ตามกรอบหลักสูตรสอบฯโดยใช้หนังสือหรือเอกสารหลายๆ เล่มประกอบกัน(ไม่ควรอ่านหนังสือที่ละเล่มแต่ควรอ่านที่ละเรื่อง) ทำจุดสังเกต (เน้นความสำคัญ) ไว้ในหนังสือหรือสรุปเนื้อหาไว้ในสมุดบันทึก ใช้ทบทวนในคราวต่อไป
4) วิชากฎหมายการศึกษา ควรศึกษาเฉพาะกฎหมายที่ระบุในหลักสูตรฯ ในประเด็นสำคัญและเรื่องที่ใช้ในการปฏิบัติงาน บันทึกเรื่องหรือประเด็นสำคัญเอาไว้ทบทวนในคราวต่อไป ควรฝึกทำข้อสอบจะทำให้จดจำได้ (แต่อย่าท่องข้อสอบ)
5) วิชาความรอบรู้ (ส่วนที่เป็นความเคลื่อนไหว) หรือเนื้อหาใหม่ๆ ควรศึกษา สืบค้น เนื้อหานั้นๆ ในหนังสือพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อประสมอย่างอื่น ในประเด็นสำคัญ สรุปและบันทึกสาระสำคัญเอาไว้ ฝึกทำข้อสอบวิชา หรือเนื้อหานั้น(ถ้ามี)
6) ควรวางแผนในการศึกษาหรืออ่านหนังสือทั้งในเรื่อง สถานที่ เวลา เนื้อหาวิชาตามความถนัดและความสะดวกของตนเอง เช่น สถานที่เหมาะหากเป็นเวลากลางวัน ควรเป็นที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา เพราะเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ไม่ทำให้เสียสมาธิ มีหนังสือใหค้นคว้า มีบริการอินเตอร์เน็ตหรือสื่ออย่างอื่น เวลาที่เหมาะสำหรับอ่านหนังสือที่บ้านควรจะเป็นตอนเช้าประมาณ 04.00 -06.00 นาฬิกา เพราะเป็นเวลาที่สงบเงียบ สมองได้พักผ่อนมาแล้ว ความจดจำและความเข้าใจจะมีสูง การแบ่งเนื้อหาในการศึกษาก็เป็นเรื่องที่สำคัญและคนส่วนมากมักละเลยและให้ความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกินไป จนพบปัญหาว่าดูหนังสือไม่ทัน ไม่ครอบคลุมหลักสูตรฯ
7) นอกจากการศึกษาเอกสารแล้วสื่อเอกสารอย่างอื่นก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การสอบถามหรือปรึกษากับครู อาจารย์ หรือผู้รู้ฯ การเข้ารับการอบรมสัมมนา (ติวสอบฯ) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอบเพราะจะได้รู้ความเคลื่อนไหวเทคนิควิธีการต่างๆ หรือการศึกษาโดยสื่อวีดีทัศน์ เทปคำบรรยาย เป็นต้น
8) การติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากเพราะเนื้อหาเหล่านี้จะกำหนดในหลักสูตรสอบฯ และออกข้อสอบทุกครั้ง เรื่องเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือแน่นอนเพราะมักจะเป็นเรื่องใหม่ เหตุการณ์ปัจจุบัน วิธีการศึกษาที่ดีที่สุด คือ ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือตามอินเตอร์เน็ต

1.3 จะสมัครสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือก ที่ไหนดี
กรณีการสอบแข่งขัน การเลือกสถานที่หรือภูมิภาคในการสมัครสอบแข่งขันฯ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ นั่นหมายถึง โอกาสที่จะสอบผ่านหรือขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบได้ และเมื่อได้รับบรรจุแต่งตั้งแล้วจะต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั้น อย่างน้อยก็หนึ่งถึงสองปีกว่าจะสามารถขอย้ายได้ บางคนโอกาสจังหวะไม่เหมาะอาจจะอยู่หลายปี ปัญหาต่างๆ อาจจะตามมาได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกสถานที่หรือภูมิภาคในการสมัครสอบแข่งขัน คือ
1) จำนวน อัตราตำแหน่งวิชาเอกที่ว่างและจะเรียกบรรจุ
2) ประวัติในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายของภูมิภาคนั้น เช่น จังหวัดหนองคายเคยมีประวัติเรียก บรรจุแต่งตั้งบ่อยและจำนวนมากเนื่องจากมีการโยกย้ายบ่อยทำให้ตำแหน่งว่าง เป็นต้น
3) ความสะดวกสบายหรือปัญหาที่จะตามมาเมื่อได้บรรจุแต่งตั้งแล้ว เช่น ปัญหาในเรื่องความ เป็นอยู่ อาหารการกิน ภาษาที่ใช้ การปรับตัว ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การคมนาคม เป็นต้น อนึ่ง วิธีการที่นิยมใช้กันมาก คือ สมัฃรสอบไว้หลายๆ ที่ (ประมาณ 2-3 ที่) แล้วค่อยตัดสินใจเลือกสนามหรือภูมิภาคสอบฯ หลังจากที่ทราบผลการมีสิทธิสอบฯ แลจำนวน
ผู้เข้าสอบฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งขันแล้ว ส่วนการสอบคัดเลือก คัดเลือก เช่น การสอบคัดเลือก คัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษามักจะไม่สามารถเลือกสถานที่สอบได้ เพราหลักเกณฑ์
ได้กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าสมัครว่าต้องเป็นข้าราชการส่วนนั้นๆ เช่น อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ( แต่เกณฑ์ใหม่ได้ปรับแล้ว สามารถไปสมัครเขตฯอื่นๆได้) แต่โดยทั่วไปมักจะเลือกเขตที่ตนเองปฏิบัติราชการอยู่ เพราะหากเลือกเขตที่อยู่ไกลออกไป ปัญหาอื่นๆน่าจะตามมา แต่หากวิเคราะห์อย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้ว ว่าสมัคร เขตอื่นน่าจะได้บรรจุ เพราะมีตำแหน่งว่างมากผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งขันมีน้อย ปัญหาอื่นๆไม่มี มีน้อย แก้ไขได้ ก็ควรเลือกสมัครในเขต หรือภูมิภาค นั้นๆ ส่วนผู้บริหารการศึกษาได้กำหนดให้สมัคร และสอบที่ส่วนกลางและการบรรจุตามความเหมาะสม จึงไม่สามารถเลือกสถานที่บรรจุ แต่งตั้งได้

1.4 วางแผนในการสอบอย่างไรให้ได้ผล
การวางแผนในการสอบในที่นี้ หมายถึง เมื่อได้ไปสมัครสอบฯ และมีสิทธิในการเข้าสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก คัดเลือกแล้ว การวางแผนการสอบตั้งแต่การเดินทาง การเข้าที่พักการไปดูสนามสอบหรือห้องสอบ การทำข้อสอบและการเดินทางกลับ ดังนี้
1) เมื่อทราบและเลือกสถานที่หรือภูมิภาคในการสอบแล้ว ควรวางแผนว่าจะเดินทางวันใด เดินทางไปกับใคร สถานที่พักที่ไหน ต้องเตรียมให้พร้อม ควรออกเดินทางไปถึงสถานที่หรือภูมิภาคสอบฯ อย่างน้อย 1 วัน เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อน ไปดูสนามสอบฯ ส่วนสถานที่พักหากไม่มีบ้านญาติพี่น้องควรจองไว้แต่เนิ่นๆ เพราะถ้าจังหวัดใดหากเป็นสนามสอบฯ โรงแรมหรือที่พักในจังหวัดนั้นมักจะมีผู้เข้าพักเต็มหมดแล้ว การพักที่วัดหรือที่อื่นๆ อันไม่เหมาะสมหรือเดินทางทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน ย่อมเป็นสิ่งไม่ดีแน่
2) เตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ หรือของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง สิ่งที่จะลืมไม่ได้ คือ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบฯ ปากกา ดินสอ และยางลบ (ใช้สำหรับฝนหรือระบายข้อสอบ) ยารักษาโรคประจำตัว(ถ้ามี) และหนังสือหรือสรุปย่อเนื้อหาที่ได้จัดทำไว้แล้ว
3) ก่อนวันสอบจริงควรไปดูสนามสอบว่าอยู่ที่ใด จะเดินทางจากที่พักโดยเส้นทางใด ใช้เวลาเท่าไร ห้องสอบห้องใดและเลขที่นั่งสอบเท่าไร อยู่ตรงจุดไหน พักกลางวันจะไปรับประทานอาหารกลางวันที่ใด
4) คืนก่อนสอบ ให้ทบทวนเนื้อหาตามหลักสูตรสอบฯ เล็กน้อย หลังจากนั้นให้รีบเข้านอน เพื่อให้ ร่างกายได้พักผ่อนให้เพียงพอ ตื่นเช้าสมองจะได้แจ่มใส ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และ ทำข้อสอบ (การอ่านหนังสือทั้งคืน โดยไม่ได้นอนเลย ไม่เป็นผลดีแน่ๆ)
5) ในวันสอบ หลังจากภารกิจส่วนตัวเรียบร้อย ฃวรไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อจะได้มีความพร้อม ตรวจสอบความแน่นอนของห้องสอบอีกครั้งหนึ่ง ตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ในการสอบ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ ยังมีครบหรือไม่ หากไม่มี ก็จะได้มีเวลาจัดหาได้ทันไม่ควรพะวงกับการอ่านหนังสือหรือวิตกกังวลกับการสอบเกินไป (ลักษณะอย่างนี้พบเห็นมาก)
6) ก่อนถึงเวลาสอบประมาณ 5-10 นาที ควรตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง เข้าห้องน้ำทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย ก่อนถึงเวลาเข้าห้องสอบและกรรมการคุมห้องสอบเรียกเข้าห้องสอบฯ
7) เมื่ออยู่ในห้องสอบให้ปฏิบัติตามระเบียบของการสอบ หรือตามที่กรรมการฃุมห้องสอบชี้แจง ให้ ตั้งสติ ให้ดี มีสมาธิ และวางแผนการทำข้อสอบ (ตามหัวข้อต่อไป)

1.5 การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นปรนัย (ชนิดตัวเลือก)
การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ไม่คำนึงถึงจุดนี้ หากไม่ได้ฝึกมาก่อน เมื่อมาทำข้อสอบจริง ยิ่งเมื่อข้อสอบที่ทำนั้นยากหรือไม่ตรงกับที่ได้อ่านหรือเตรียมมา ยิ่งจะเกิดความตื่นเต้น โอกาสที่ทำให้ผิดพลาด ทำข้อสอบไม่ครบ (หมดเวลาก่อน) จะมีสูง การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบ มีดังนี้
1) กรอกข้อมูล ในกระดาษคำตอบให้ถูกต้อง เรียบร้อยโดยเฉพาะการกรอกข้อมูลด้วยวิธีการระบายหรือฝนด้วยดินสอ (ให้ใช้สีดำ 2 บีขึ้นไป) หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จให้ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะ เลขที่ประจำตัวสอบ เพราะมีหลายต่อหลายครั้งที่ผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้ มีความมั่นใจแต่ไม่มีชื่อในบัญชี ผู้สอบผ่าน เหตุเพราะลืมกรอกข้อมูลในกระดาษคำตอบ หรือกรอกผิดพลาดนั้นเอง
2) เปิดข้อสอบ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้คุมห้องสอบ ตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อสอบว่ามีกี่ข้อ มีกี่หน้า ครบทุกหน้าหรือทุกข้อหรือไม่ หากกรรมการชี้แจงเพิ่มเติมให้ฟังและแก้ไขตาม
3) การบริหารเวลาในการสอบโดยตรวจสอบเวลาที่จะใช้ในการทำข้อสอบแล้วคำนวณระยะเวลาในการทำข้อสอบ (โดยปกติมาตรฐานข้อสอบจะใช้เวลาทำข้อละ 1 นาที ) ให้ชำเลืองดูนาฬิกาขณะทำข้อสอบเป็นระยะ เช่น ประมาณ 10-20 ข้อต่อครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมเวลาในการสอบ ทำให้ทำข้อสอบทันเวลาและครบทุกข้อ (จะพบบ่อยมากเมื่อหมดเวลาการทำข้อสอบแล้วแต่ยังเหลือข้อสอบอีก 20-30 ข้อ)
4) ทำข้อสอบทีละข้อ โดยอ่านคำถามและทำความเข้าใจอย่างละเอียด อ่านให้หมดคำถาม ( 2 เที่ยว) อย่ารีบเร่งตัดสินใจ แล้วค่อยวิเคราะห์ตัวเลือกแต่ละตัวเลือก ตามหลักการที่บอกไว้เมื่อเลือกคำตอบแล้วให้กากบาทหรือระบายในช่องของกระดาษคำตอบอย่างประณีต ในกรณีที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ทำตามคำแนะนำที่บอกไว้ในกระดาษคำตอบ ข้อสอบข้อใดที่สงสัยให้ทำจุดสังเกต เช่น ดอกจัน ไว้ที่หน้าข้อสอบในกระดาษคำถาม โดยให้ความสำคัญ เช่น 1 ดอกจัน คือ สงสัย 2 ดอกจัน คือ สงสัยมาก เป็นต้น แต่ถึงแม้จะเป็นข้อสงสัยก็ต้องกากบาท (ฝนหรือระบาย) กระดาษฃำตอบห้ามข้ามข้อ เพราะจะทำให้ไม่หลงลืมเมื่อทำไม่ทัน(เพราะหมดเวลา)หรืออาจจะทำให้สับสนกากบาทผิดข้อได้เพราะหากข้ามบางข้อ
5) ในกรณีที่ข้อสอบบางข้อยากมาก ไม่สามารถทำได้ อย่าใช้เวลากับข้อนั้นๆ นานเกินไปจนทำให้เสียเวลา (เกิน3นาที) ต้องให้ความสำคัญกับข้อสอบทุกข้อ เพราะข้อสอบแต่ละข้อคะแนนเท่ากันและข้อสอบ ข้อถัดไปหรือข้อท้ายๆ อาจเป็นข้อสอบที่ง่าย จะทำให้เสียโอกาสถ้าทำไม่ทันเวลา ในกรณีเช่นนี้ก็ให้เดาตัวเลือก (ตามหลักการในหัวข้อต่อไป) ไปก่อนแต่ทำเครื่องหมายดอกจันเป็นจุดสังเกตในกระดาษคำตอบเอาไว้
6) กรณีข้อสอบที่ต้องใช้วิธีคำนวณหรือจำเป็นต้องขีดเขียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้ขีดเขียนลงในกระดาษคำถามได้ (อย่าใส่ใจกับข้อห้ามที่บอกว่าห้ามขีดเขียนใดๆ ลงบนข้อสอบ เพราะนั่นไม่ใช่ทุจริต)
7) เมื่อทำข้อสอบครบทุกข้อแล้ว หากยังเหลือเวลาอย่าเพิ่งรีบออกจากห้องสอบ ให้กลับมาทบทวนข้อที่ยากหรือยังทำไม่ได้ โดยสังเกตจากข้อทำเครื่องหมายดอกจันเอาไว้
8) ให้ทำข้อสอบจนหมดเวลา อย่าปล่อยเวลาให้เสียไป เพราะ เวลาทุกนาทีมีค่าสำหรับผู้เข้าสอบ
9) เมื่อใกล้จะหมดเวลาสอบ (จะมีประกาศเสียงตามสายหรือกรรมการคุมห้องสอบบอก เช่น
เหลือเวลา 5 นาที) ให้ตรวจสอบกระดาษคำตอบอีกฃรั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเกี่ยวกับการกรอกชื่อ สกุล รหัสหรือเลขประจำตัวผู้เข้าสอบ การลงลายมือชื่อผู้เข้าสอบ (ถ้ามี) ได้ตอบข้อสอบ (กากบาทฝนหรือระบายดินสอ) ทุกข้อหรือไม่
10) หากใกล้หมดเวลาสอบแล้วยังทำไม่เสร็จ หรือข้อสอบจำนวนมาก ให้ใช้วิธีการเดา (รายละเอียดใน หัวข้อถัดไป) และเผื่อเวลาไว้ 1-2 นาที เพื่อตรวจสอบตามที่กล่าวในข้อ 8

1.6 การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นอัตนัย (อธิบาย)
ข้อสอบประเภทอัตนัย (อธิบาย) ไมคฃ่อยพบในการสอบแข่งขัน คัดเลือกในหลักสูตรสอบ(ภาคข้อเขียน)ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะผู้เข้าสอบจำนวนมาก ไม่สะดวกในการตรวจข้อสอบ ความแปรปรวน หรือความคาดเคลื่อนจะมีสูง อาจเป็นช่องทางให้มีการทุจริตได้ ดังนั้นจึงไม่นิยมกันแต่ข้อสอบประเภทนี้นิยมใช้ออกในการสอบคัดเลือกที่ผู้เข้าสอบจำนวนน้อและ
มีจุดประสงค์เพื่อวัดความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ หรือแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คัดเลือกผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารระดับสูง หรือบุคลากรทางการศึกษา ระดับหัวหน้ากลุ่มหรือหัวหน้างาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องเตรียมไว้เผื่อมีโอกาสต้องใช้ ดังนี้
1) ตรวจสอบดูว่าข้อสอบมีกี่หน้า คำถามครบทุกข้อหรือไม่
2) อ่านคำชี้แจงให้เข้าใจ โดยเฉพาะประเด็นให้ทำกี่ข้อ การกำหนดจำนวนหน้าของกระดาษคำตอบ
3) ให้ทำข้อที่ง่ายก่อน เพราะ หากทำตามลำดับข้ออาจใช้เวลาในการคิดข้อแรกๆ นานเกินไป ทำให้เสียเวลา อาจหมดเวลาก่อน ในขณะที่ข้ออื่นอาจง่ายและใช้เวลาในการทำน้อยกว่า
4) เมื่อเลือกข้อที่จะทำก่อนหลังแล้ว ให้อ่านคำถามให้ชัดเจนถึงประเด็นคำถามว่า ถามอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร แต่ส่วนมากคำถามมักจะถามถึงอะไร(ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์) และหรืออย่างไร (การดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค) จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร หรือคาดผลที่จะเกิด แนวทางการแก้ปัญหา ตัวอย่างคำถาม เช่น หมายถึงอะไร จะดำเนินการอย่างไรให้อธิบายพอสังเขป ให้บอกขั้นตอนดำเนินการโดยละเอียด การนำไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร เป็นต้น
5) วางกรอบหรือทิศทางของคำตอบว่าจะตอบอะไรก่อนหลัง ควรอธิบายให้ชัดเจน กะทัดรัด แต่ตรงประเด็นมากที่สุด ไม่ควรบรรยายแบบน้ำท่วมทุ่ง เพื่อให้ได้คำตอบมากๆ ครบจำนวนหน้ากระดาษเท่านั้น
6) กรอบของคำตอบ การอธิบายโดยทั่วไปจะเริ่มต้นที่เกริ่นนำ รายละเอียดของเรื่อง และการสรุป โดยส่วนที่เป็นรายละเอียดให้นำหลักการ ทฤษฎีมาประกอบการอธิบายความหมายความสำคัญหรือความเป็นมา การดำเนินการ (โดยใช้หลักการ ทฤษฎีประกอบ) ผลของการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค หรือข้อเสนอแนะ
7) การอธิบายถึงโครงการหรือชิ้นงานที่ดีเด่นหรือภูมิใจ ควรเริ่มจากความเป็นมา หลักการทฤษฎี รายละเอียดการดำเนินการ ผลการดำเนินงาน ประโยชน์ที่ได้หรือการนำไปประยุคใช้ ปัญหา อุปสรรคหรือข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
8) ความจำเป็นอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องสำคัญของการตอบข้อสอบแบบบรรยาย คือ การเขียน ต้องเขียนอย่างบรรจง ประณีตที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะ อย่าลืมว่าข้อสอบประเภทนี้ใช้คนตรวจหากอ่านง่ายก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ตรวจ ถึงแม้จะตอบไม่ตรงประเด็น แต่เชื่อว่าน่าจะดีกว่าตอบอย่างดีเยี่ยมแต่เขียนหนังสือหวัด อ่านไม่ออก เวียนหัว จะทำให้เสียคะแนนเปล่าๆ

1.7 การปฏิบัติตัวหลังจากสอบเสร็จ
เมื่อสอบเสร็จในแต่ละวิชาโดยส่วนมากจะกำหนดเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย ภาคละวิชา เพื่อให้ผู้เข้าสอบได้มีเวลาเตรียมตัวหลังจากสอบเสร็จภาคเช้า เมื่อออกจากห้องสอบผู้เข้าสอบก็จะจับกลุ่มพูดคุยกันถึงเรื่องข้อสอบและการทำข้อสอบเป็นธรรมดา โดยสาระอาจสอบถามถึงข้อสอบข้อนั้นข้อนี้ตอบอย่างไร คนนั้นอาจจะตอบข้อนั้น คนนี้ตอบข้อนี้ ข้อนั้นตอบถูก สอบได้แน่นอน คนนี้ตอบผิดคงตก หรือทำข้อสอบไม่ได้แย่แน่ๆ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสอบ แต่อย่าไปใส่ใจหรือวิตกกังวลมากนัก เพราะได้สอบไปแล้วควรทำใจให้สบายถ้าหากเรามั่นใจและเตรียมตัวมาอย่างดี เราต้องสอบได้แน่ๆ คนที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเราตอบผิด หรือตนเองตอบถูกหมด อาจจะไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านก็ได้ ทั้งนี้เพราะคนทำข้อสอบไม่ใช่คนออกข้อสอบ ข้อสอบ
วิเคราะห์ ผู้ตอบอาจมองคนละมุมกับผู้ออกก็ได้ หรือผู้ตอบยังมีความรู้ไม่พอสำหรับข้อสอบนั้นๆจึงคิดว่าตนเองทำถูก ทั้งที่จริงไม่ใช่ และมักพบเห็นอยู่เสมอว่า คนที่บอกว่าตนเองสอบได้แน่แต่สุดท้ายสอบตก ไม่มีชื่อในบัญชีเลยสิ่งที่ดีที่สุดเมื่อสอบเสร็จ หากเป็นเวลาพักเที่ยงควรรีบไปรับประทานอาหารกลางวันให้อิ่มและพักผ่อนเพื่อเตรียมสอบในภาคบ่ายต่อไป หากสอบเสร็จภาคบ่ายและมีการสอบในวันต่อไป ควรกลับไปพักผ่อน เพื่อเตรียมตัวสอบในวันถัดไป
2. ประเภทและลักษณะข้อสอบ

ประเภทข้อสอบที่ใช้ในการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือการคัดเลือกโดยทั่วไป จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ข้อสอบแบบปรนัย และ ข้อสอบแบบอัตนัย แต่บางคนอาจจะยังสับสนกับ คำว่า “ปรนัย” และ “อัตนัย” อยู่บ้าง จึงอธิบายเพิ่มเติมว่า “ปรนัย” คือ ข้อสอบที่มีคำถาม พร้อมตัวเลือกให้เลือกตอบ ทั้งที่เป็นแบบหลายตัวเลือก เช่น 4 ตัวเลือก หรือ 5 ตัวเลือก( Multiple choices ) แบบสองตัวเลือก หรือ แบบถูก ผิด( True-False ) แบบจับคู่ ( Matching ) หรือแบบเติมคำ ( Completion ) ส่วน “อัตนัย” คือ ข้อสอบที่มีคำถาม เพียงอย่างเดียว แล้วให้หาคำตอบจากการแสดงวิธีทำ หรือบรรยาย เพื่อให้ได้คำตอบ ที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปเนื้อหาของข้อสอบที่ใช้จะเป็นไปตามหลักสูตรฯ สอบนั้นและการวัดจะวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ ผู้เข้าสอบในเรื่องต่างๆ โดยใช้หลักการของนักจิตวิทยาการศึกษา ชื่อว่า Benjamin S. Bloom กล่าวคือ
1) วัดฃวามรู้ความคิด หรือ พุทธพิสัย (Cognitive Domain) อันประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1.1) ความจำ Memory
1.2) ความเข้าใจUnderstanding
1.3) การนำไปใช้ Utilizing
1.4) การวิเคราะห์ Analyzing
1.5) การสังเคราะห์ Centering
1.6) การประเมินค่าEvaluation
2) วัดด้านความรู้สึก อารมณ์ หรือ จิตพิสัย (Affective Domain ) อันประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
2.1) การรับรู้Receiving
2.2) การตอบสนอง Responding
2.3) การให้คุณค่า Valuing
2.4) การจัดระบบ Organizing
2.5) การสร้างลักษณะนิสัยCharacterization
3) วัดด้านทักษะพิสัย (Psycho motor Domain) อันประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
3.1) การเคลื่อนไหวอวัยวะหลายส่วน Gross body Moment
3.2) การเคลื่อนไหวอวัยวะบางส่วน
3.3) การสื่อสารโดยไม่ใชคฃำพูดและ
3.4) การสื่อสารโดยใช้คำพูด
โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ทางผู้ออก (หน่วยงาน) ข้อสอบนำมาใช้วัด จะเป็นพฤติกรรมด้านใด เรื่องใด จำนวนมากหรือน้อยหรือสัดส่วนเท่าใด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวัดผลขององค์กรหรือหน่วยงานและขึ้นอยู่กับหลักสูตรการสอบฯ ประเภทนั้นๆ ด้วย เช่น การสอบแข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูพฤติกรรมการวัดจะวัดด้านความรู้ความจำความเข้าใจ
เป็นส่วนมากในหลักสูตรสอบฯภาฃวิชาการศึกษา วิชาเฉพาะวุฒิ (วิชาเอก) หรือวิชากฎหมายการศึกษา ส่วนพฤติกรรมด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินฃคา จะพบมากในหลักสูตรสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป อย่างไรก็ตามจากประวัติของการออกข้อสอบบรรจุเข้ารัราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ พฤติกรรมการวัดด้านความรู้ ความจำและความเข้าใจ จะเป็นสัดส่วนที่มากกว่าด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าเสมอ ส่วนในการสอบ คัดเลือกผู้บริหารทั้งบริหารสถานศึกษา บริหารการศึกษา โดยหลักการเน้นทั้งด้านความรู้ เจตคติ และทักษะแต่ข้อเท็จจริง ด้านแรกและสองจะมีมากกว่า ส่วนประเภทหรือชนิดของข้อสอบที่นำมาใช้ในการสอบ
แข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐ สอบคัดเลือกผู้บริหารนั้น ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ข้อสอบประเภท “ปรนัย” ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เพราะสามารถออกได้จำนวนมาก ครอบคลุมหลักสูตรสอบฯ สะดวกต่อการประเมินผล (การตรวจ) ได้รวดเร็ว มีความเป็นปรนัย มีความเที่ยงตรงในการประเมินและสามารถป้องการทุจริตได้
กล่าวโดยสรุป ในการสอบแข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือคัดเลือก สอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง สายบริหารการศึกษา นิยมใช้แบบทดสอบประเภทต่างๆ และวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เข้าสอบ ดังนี้
1) ด้านสติปัญญา (พุทธิพิสัย) นิยมวัดด้วยข้อสอบข้อเขียน ทั้งที่เป็นปรนัยหรืออัตนัย (การสอบแข่งขันฯ คัดเลือก นิยมใช้ข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ประเภท 4 ตัวเลือก)
2) ด้านความรู้สึก (เจตพิสัย) นิยมวัดด้วยข้อสอบข้อเขียน ทั้งที่เป็นปรนัยหรืออัตนัย และการสอบสัมภาษณ์ (การสอบแข่งขันฯ คัดเลือก นิยมใช้ข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ประเภท 4 ตัวเลือก และถามตอบสัมภาษณ์)
3) ด้านทักษะกลไก (ทักษะพิสัย) วัดโดยสอบภาคปฏิบัติ เช่น ประกอบเครื่องยนต์ ทำโต๊ะ เก้าอี้ หรือสาธิตการสอน สำหรับคัดเลือกลูกจ้าง พนักงานราชการ การสัมภาษณ์ การสอนให้ดู การสาธิต สำหรับการสอบแข่งขัน ส่วนการคัดเลือกสายบริหารให้เขียนวิธีทำงาน วางแผนการทำงาน แนวทางการทำงาน หรือสังเกตจากพฤติกรรม วัดสมรรถนะทางการบริหาร เป็นต้น)

3. เทคนิคการเลือกคำตอบที่ถูก
มีคนกล่าวติดตลกว่า คนที่สอบได้จะต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เพราะ คำสั่งหรือคำชี้แจงของข้อสอบชนิดเลือกตอบ มักจะบอกว่า ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) หรือเลือกคำตอบ ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว หากเราเลือกข้อที่เราคิดว่าถูกแต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ก็จะไม่ได้คะแนน นั่นหมายถึงข้อนั้นผิด อาจจะทำให้สอบตกได้ ดังนั้นการเลือกคำตอบที่ถูกต้องจึงไม่ใช่เฉพาะรู้หรือไม่รู้คำตอบเท่านั้น หากแต่เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรู้ถึงหลักและวิธีการในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกทำข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เองถือเป็นเคล็ดลับอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เป็นผู้ ประสบความสำเร็จในที่สุด

3.1 เทคนิคการเลือกคำตอบข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(สอบแข่งขัน) นั้น โดยทั่วไปจะเป็นข้อสอบที่ไม่ยากนัก แต่มีจำนวนข้อที่ค่อนข้างมาก แต่ละข้อล้วนต้องได้คิดและตัดสินใจเลือก บางข้อต้องใช้เวลาหลายนาทีในการอ่านและทำความเข้าใจโจทย์และคำถามทั้งนี้เพราะข้อสอประเภทนี้มีจุดประสงค์ต้องการวัดความสามารถในการคิด วิเคราะห์และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว โดยมีเวลาเป็นเครื่องกำกับและชี้วัดความสามารถของบุคคล ดังนั้นการทำข้อสอบประเภทนี้ให้ได้ดีและทันเวลา เทคนิคที่สำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นคือ ต้องรู้หลักการ วิธีการคิด สูตรทางคณิตศาสตร์หรือพีชคณิต การฝึกทำข้อสอบประเภทนี้บ่อยๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้รู้ จำ และเข้าใจหลักการ วิธีการคิด หรือสูตรการคิดได้อย่างรวดเร็วและจะทำเกิดความมั่นใจในที่สุด3.2 เทคนิคการเลือกคำตอบข้อสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
ลักษณะคำถาม 20 ประเภท ของข้อสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง โดยสรุปพอสังเขป ได้แก่
1) คำถามเกี่ยวกับพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส แนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
2) คำถามเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวหรือแนวโน้มใหม่ทางด้านการศึกษา
3) คำถามเกี่ยวกับความรอบรู้ (ความเคลื่อนไหวทางการเมือง สังคมเศรษฐกิจและการปกครองและการต่างประเทศ)
4) คำถามที่เกี่ยวกับ มติหรือนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีในหลักสูตรการสอบแข่งขัน หรือการคัดเลือก
5) คำถามเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6) คำถามเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีหรือสาระสำคัญ หลักการ ของเรื่องนั้นๆ
7) คำถามเกี่ยวกับ วัน เวลา จำนวน สถานที่หรือ ตัวเลข
8) คำถามเกี่ยวกับ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่ตนเองปฏิบัติงาน หรือหน่วยงานต้นสังกัด
9) คำถามที่มีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ผิด ไม่ถูกต้อง แตกต่างไปจากพวก หรือยกเว้น
10) คำถามที่เป็นมีศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือสำนวน ให้แปลความ หรืออธิบาย
11) คำถามที่มีประเด็นคำถามหลายประเด็นในข้อเดียวกัน
12) คำถามที่ถามถึงขั้นตอนการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ
13) คำถามที่ถามถึงประเด็นที่สำคัญที่สุด
14) คำถามที่มีตัวเลือกถูกทุกข้อ หรือถูกหลายข้อ
15) คำถามวิเคราะห์ (ความเข้าใจและการนำไปใช้ )
16) คำถามวิเคราะห์(หลักการ หรือนิยามศัพท์)
17) คำถามวิเคราะห์(ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน )
18. คำถามวิเคราะห์ (สาระตามข้อบัญญัติของระเบียบหรือกฎหมาย)
19. ข้อสอบวิเคราะห์ (เป้าหมาย ผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา)
20. คำถามวิเคราะห์ (ถ้อยคำ วลีที่เป็นตัวชี้วัดของประเด็นคำถาม)
การจะเลือกคำตอบของข้อสอบแต่ละลักษณะได้ถูกต้อง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะลักษณะข้อสอบตามข้อ 1,2,3,4 และ 5 คำถามคำตอบจะถามตรงๆ คำตอบไม่มีตัวลวงที่ซับซ้อน วัดเพียงแต่รู้หรือไม่รู้เท่านั้น ต้องศึกษาค้นคว้าให้รู้อย่างกว้างๆ จำและทำความเข้าใจ เฉพาะหัวข้อหรือประเด็นสำคัญ เช่น โครงการในพระราชดำริโครงการนั้นๆ ทำที่ไหน มีประโยชน์ด้านใด นโยบายของรัฐบาลด้านต่างๆใช้แก้ปัญหาด้านใด นโยบายและโครงการด้านการศึกษามีอะไรบ้าง สาระสำคัญของ โครงการฯโดยสังเขปเป็นอย่างไร นโยบายหรือโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง แต่ละโครงการมีจุดประสงค์และเป้าหมายอย่างไร ความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และการต่างประเทศ มักนิยมออกในเรื่องใหม่ๆ เรื่องสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในระยะนั้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นต้องเป็น ผู้ที่ติดตามข่าว ความเคลื่อนไหวตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรืออินเตอร์เน็ตหรือสื่ออื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรไปเสียเวลาท่องจำในหนังสือความรู้รอบตัว คำถามลักษณะตามข้อ 6,7,8,9,10,11,12,13 และ 14 ต้องจำและทำความเข้าใจหลักการและแนวคิดกระบวนการหรือขั้นตอนที่สำคัญของเรื่องนั้นๆ ลักษณะคำถามถึง เวลา วันเดือนปี ตามข้อ 7 ส่วนมากจะเป็นกฎหมายที่ผลบังคับใหม่ หรือกฎหมายที่สำคัญส่วนชื่อหน่วยงาน บุคคลสำคัญ หรือนิยาม คำศัพท์ จำเป็นและสำคัญจริงๆ ก็มักจะนิยมออก จึงควรรู้ไว้บ้าง ส่วนคำถามลักษณะที่เหลือตามข้อ 15- 20 มักนิยมออกเช่นกัน โดยเฉพาะการสอบแข่งขันฯ ในระยะหลังๆและสอบคัดเลือกสายบริหาร จะเน้นข้อสอบวิเราะห์และการนำไปใช้มากขึ้นเพราะสามารถแยกแยะความสามารถ(สมรรถนะ) ของบุคคลได้ ดังนั้นนอกจากจะรู้ เข้าใจ หลักการ แนวคิดแล้วจำเป็นต้องคิดสังเคราะห์และประยุกต์หรือนำไปใช้ได้ ดังนั้นการหมั่นฝึกทำข้อทดสอบบ่อยๆ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

4. เทคนิคการเดาคำตอบ
การเดาคำตอบเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับผู้เข้าสอบเลย แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นนักสอบมืออาชีพ คงไม่ใช้วิธีการนับตัวเลข นับนิ้วมือ หมุนปากกาหรือหลับตาจิ้มดินสอลงบนข้อใดก็ตัดสินใจเลือกคำตอบนั้นแน่แต่ควรจะมีเทคนิค มีชั้นเชิงบ้าง โดยใช้เทคนิคการเดาคำตอบ ดังนี้
1) ให้ตัดคำตอบที่ไม่เกี่ยวข้องออกให้มากที่สุด แล้วเลือกตัวเลือก
2) ตัวเลือกที่ถูกทุกข้อ ไม่มีข้อถูก หรือบางข้อถูก(ข้อ ก และ ข ถูก) มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
3) ตัวเลือกที่ข้อความยาวๆ มักจะเป็นตัวเลือกที่ถูก
4) เลือกตัวเลือกโดยใช้ลำดับเนื้อหาตามหลักสูตรสอบฯ ว่าควรจะเป็นเรื่องใด
5) เลือกตัวเลือกโดยสังเกตจากข้อที่ผ่านมา
6) กรณีหมดเวลาแต่ข้อสอบยังเหลือจำนวนมากให้เดาตัวเลือกข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อใด เช่น เดาตัวเลือก ง ในทุกข้อ โอกาสที่จะถูกมีสูงกว่าดำแบบสุ่ม หรือเลือกกากบาทซิกแซก ไขว้ไปมาให้สวยงาม(เพราะหากเป็นข้อสอบมาตรฐาน เลือกข้อเดียวตลอด และข้อสอบเป็นประเภท 4ตัวเลือก โอกาสถูก ร้อยละ25เพราะหากตัวเลือกมีถูกทุกข้อ หรือ ข้อ ข และ ค ถูก ก็จะระบุในข้อ ง และเพราะคำตอบยาวๆมักข้อ ง ) โปรดจำเอาไว้ว่า เทคนิคการเดาจะถูกนำมาใช้ในตอนสุดท้ายที่คิดอย่างไรก็คิดไม่ออกแล้ว(ยากถึงยากมาก) ไม่ควรใช้เทคนิคนี้ตั้งแต่ข้อแรกเลย
โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง “มีคนกล่าวติดตลกว่า คนที่สอบได้จะต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เพราะ คำสั่งหรือคำชี้แจงของข้อสอบชนิดเลือกตอบ มักจะบอกว่า ให้ทำเครื่องหมายกากบาท(X) หรือเลือกคำตอบ ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว หากเราเลือกข้อที่เราคิดว่าถูกแต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ก็จะไม่ได้ฃะแนน นั่นหมายถึงข้อนั้นผิด อาจจะทำให้สอบตกได้ ดังนั้นการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่เฉพาะรู้หรือไม่รู้คำตอบเท่านั้นหากแต่เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรู้ถึงหลักและวิธีการในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกทำข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เองถือเป็นเคล็ดลับอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในที่สุด”

5. เทคนิคในการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์

5.1 หลักเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์และการให้คะแนน
การสอบสัมภาษณ์ เป็นวิธีการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งตามหลักสูตรการสอบแข่งขันฯหรือสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของส่วนราชการต่างๆ โดยทั่วไปการพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง จะพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้
1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
2) บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู
3) ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ 4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ
5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
6) ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
7) อื่นๆ ตามหน่วยงานผู้สอบฯกำหนด
การให้คะแนนของการสอบสัมภาษณ์โดยทั่วไป ( คะแนนเต็ม 50 คะแนน ) การให้คะแนนของกรรมการสอบสัมภาษณ์ จะกำหนดช่วงของคะแนนที่จะให้ไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดความต่างของคะแนนผู้เข้าสอบฯไม่เกิน 3 คะแนน ( ต่ำสุด 47 สูงสุด 49 ) หรือ 5 คะแนน (ต่ำสุด 45 สูงสุด 49) หรือ 7 คะแนน (ต่ำสุด 42 สูงสุด 49) มักไม่นิยมให้คะแนนเต็ม 50เพราะโดยหลักการแล้วจะไม่มีใครที่เยี่ยมยอด ดังตัวอย่าง
การสัมภาษณ์ให้ประเมินจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. ประวัติ ความสามารถ และประสบการณ์
2. บุคลิกภาพ
3. ความรู้
4. ท่วงทีวาจา และเชาวน์ปัญญา
5. เจตคติ
ผู้ประเมินพิจารณาให้คะแนนซึ่งอาจแบ่งระดับคะแนน ได้ดังนี้
เหมาะสมมากที่สุด (ดีมาก) ให้ 9 – 10 คะแนน
เหมาะสมมาก ( ดี ) ให้ 7 – 8 คะแนน
เหมาะสม (พอใช้) ให้ 5 – 6 คะแนน
เหมาะสมน้อย (ต้องแก้ไข) ให้ 3 - 4 คะแนน
ไม่เหมาะสม (ต้องแก้ไขอย่างยิ่ง) ให้ 1 – 2 คะแนน
ดังนั้นผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จึงไม่ต้องวิตกหรือกังวลมากนัก สิ่งที่ทำให้สอบได้หรือสอบตกไม่ได้อยู่ที่ การสอบสัมภาษณ์แต่อยู่ที่การสอบข้อเขียนต่างหาก

5.2 การเตรียมตัวและวิธีการเข้าสอบสัมภาษณ์ให้ได้คะแนนมากที่สุด
ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นแล้วว่า การสัมภาษณ์ เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินผู้เข้าสอบทุกคน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย เจตคติ และบุคลิกภาพดังนั้นการจะเป็นผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ดีและได้คะแนนมากที่สุด(ให้ถูกตัดน้อยที่สุด) ควรมีและใช้เทคนิคการเตรียมสอบสัมภาษณ์การเข้าสอบสัมภาษณ์ จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจ จากที่เคยผ่านการถูกสัมภาษณ์ และเคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ใคร่แนะนำ ดังนี้
1) เบื้องต้นควรกรอกใบสมัครให้ดี และมีความสมบูรณ์มากที่สุด เพราะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ส่วนมากจะดูข้อมูลส่วนตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากใบสมัครประกอบการสัมภาษณ์ด้วย
2) ในวันสอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยมากที่สุด (ใส่สูทได้จะเป็นการดี)
3) ควรงดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะหากขณะสัมภาษณ์กลิ่นแอลกอฮอล์ หรือกลิ่นบุหรี่โชยออกมา คงไม่เป็นที่สบอารมณ์กรรมการมากนัก ทำให้กรรมการนึกถึงสภาพการเป็นคนสูบบุหรี่ กินเหล้า ของคุณต่อไปในอนาคตด้วย 4) ขณะรอสัมภาษณ์ควรรอด้วยความอดทน ทำจิตใจให้สดชื่น ผ่องใส มีอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน ไม่ควรบ่น หรือนินทากรรมการ หรือ เจ้าหน้าที่สอบสัมภาษณ์ เพราะเคยปรากฏว่า บริษัท หรือ หน่วยงานบางแห่ง ใช้วิธีให้ผู้รอสัมภาษณ์รอเป็นเวลานานๆ แต่แอบส่งคนมาปะปน เพื่อสังเกตพฤติกรรม หรือสังเกตความอดทนของผู้ที่จะถูกสัมภาษณ์ หากกรณีนี้เป็นเรื่องจริง ข้อมูลนี้จะถูกส่งให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ ทันทีให้ลองนึกเอาเองว่า สถานการณ์ของคนคนนั้นจะเป็นเช่นไร
5) ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่เราสมัครสอบว่า มีความเป็นมาอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร ลักษณะงานเป็นอย่างไร หากคุณอยู่ในตำแหน่งจะปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะหากถูกสัมภาษณ์ แล้วไม่มีความรู้เลย คุณคงไม่ได้คะแนนแน่นอน
6) ขณะที่คนอื่นเข้าสัมภาษณ์ ควรอยู่และสังเกตผู้ที่เข้าสัมภาษณ์ เพื่อติดตามถามข้อมูลหรือประเด็น ที่กรรมการสัมภาษณ์ถาม เพื่อเตรียมคำตอบ เพราะโดยทั่วไปประเด็นที่ถาม มักจะถามคล้ายๆ กัน
7) ขณะที่ถูกเรียกชื่อเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรก้าวเดินเข้าไปให้เป็นปกติ และมีความมั่นใจให้มากที่สุด
8) เมื่อไปถึงหน้าโต๊ะสัมภาษณ์ ควรยกมือไหว้กรรมการทุกคน หรือไหว้ประธานคนเดียว(ส่วนมากนั่งตรงกลาง)ก็ได้ และนั่งเมื่อได้รับการบอกให้นั่ง
9) ประเด็นคำถามที่ถาม (บอกให้พูด : ควรเตรียมไปให้ดี และเล่าสั้นๆ เฉพาะที่จำเป็น)
9.1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
9.2) บุคลิกภาพด้านต่าง รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู
9.3) ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ
9.4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ
9.5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
9.6) ความรู้ในเรื่องความรอบรู้

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎ ก.พ.ใหม่ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ

ประกาศ ใช้กฎ ก.พ.ใหม่ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เลิกระบบขั้น ใช้เป้นร้อยละแทน แต่ห้ามเกิน 6%
เผยกฎเหล็ก 9 ข้อ ใครฝ่าฝืนหมดสิทธิ์
ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยไม่โดนแป๊ก

ผู้สื่อข่าว”มติชนออนไลน์”รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ.)ได้ประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนพ.ศ. 2552 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 ทั้งนี้กฎ ก.พ.ดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการขึ้นเงินเดือนประจำปีของข้าราชการพลเรือนตามระบบใหม่โดยยกเลิกระบบขั้น ให้เป็นอัตราร้อยละแทน แต่ ในการเลื่อนเงินเดือนแต่ละครั้งของแตจ่ละคนห้ามเกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน แต่ถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท ขณะเดียวกัน
ได้ห้ามใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากัน
นอกจากนั้น การขึ้นเงินเดือนข้าราชการระบบใหม่นี้ ได้อ้างว่าจะขึ้นเงินเดือนตามการปฏิบัติตนของข้าราชการโดยเหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.นี้ระบุว่า โดยที่มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในจรรยาและระเบียบวินัยและ ปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐได้รับการ พิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. โดยมีกฎเหล็ก 9 ข้อที่จะทำให้ข้าราชการไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน

สำหรับรายละเอียดของกฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2552 มีรายละเอียดดังนี้

ข้อ ๒
“ปี”หมายความว่า ปีงบประมาณ
“ครึ่งปีแรก” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
“ครึ่งปีหลัง” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน
“ครึ่งปีที่แล้วมา” หมายความว่า ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมาแล้วแต่กรณี
“ค่ากลาง” หมายความว่า ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละ ประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดหารด้วยสองเพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปใช้คิดฐานในการคำนวณ
“ฐานในการคำนวณ” หมายความว่า ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน สามัญแต่ละประเภท แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น
(๑) ฐานในการฃำนวณระดับล่าง ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดตามที่ ก.พ. กำหนดกับค่ากลาง หารด้วยสอง
(๒) ฐานในการคำนวณระดับบน ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กำหนดกับค่ากลาง หารด้วยสอง
ในกรณีที่คำนวณตามวิธีการดังกล่าวแล้ว มีผลทำให้ฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่า มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับฐานในการคำนวณระดับบนของระดับตำแหน่งที่ต่ำกว่าซึ่ง อยู่ถัดลงไปก.พ. อาจปรับฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่านั้นเสียใหม่ให้สูง ขึ้นได้โดยต้องนำภาพรวมของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนทั้งระบบมาเป็น เกณฑ์ในการพิจารณา
“ช่วงเงินเดือน” หมายความว่า ช่วงของเงินเดือนระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึงเงินเดือนขั้นสูง แล้วแต่กรณี และช่วงเงินเดือนที่ ก.พ. ปรับให้สอดคล้องกับฐานในการคำนวณด้วย
ข้อ ๓ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๕๗ เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
ข้อ ๔ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ และให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธี การที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๗๖ มาประกอบการพิจารณา โดยให้เลื่อนได้ไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรให้ใช้
ในการ เลื่อนเงินเดือน การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญโดยมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง แต่ใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากันจะกระทำมิได้ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้งให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของฐานในการคำนวณ และให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
ประกาศอัตราร้อยละของฐานในการ คำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนโดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับการมีคำสั่งเลื่อน เงินเดือน การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
ข้อ ๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง ดังนี้
(๑) ครั้งที่หนึ่ง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
(๒) ครั้งที่สอง เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑ ตุลาคมของปีถัดไป
ข้อ ๖ ให้ ก.พ. กำหนดฃ่ากลาง ฐานในการคำนวณ และช่วงเงินเดือนตามกฎ ก.พ. นี้แล้วให้สำนักงาน ก.พ. แจ้งส่วนราชการและจังหวัดทราบเป็นการล่วงหน้า
ข้อ ๗ ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแต่ละฃนในแต่ละครั้ง ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้า ราชการพลเรือนสามัญทราบเป็นข้อมูลเฉพาะแต่ละบุคคลการแจ้งผลการเลื่อนเงิน เดือนตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อนฐานในการคำนวณ จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน และเงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนเงินเดือนนั้น ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนให้แจ้งเหตุผลที่ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละหกสิบ
(๒) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ราชการ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน
(๔) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๕) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อย กว่าสี่เดือนหรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
(๖) ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๗) ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานใน ต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๘) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลา หรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่ผู้บังฃับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงิน เดือนหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายกำหนดเป็นหนังสือไว้ก่อนแล้วโดยคำนึงถึงลักษณะงานและสภาพท้องที่อันเป็นที่ตั้งของแต่ละส่วนราชการหรือ หน่วยงาน
(๙) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (๖) หรือ (๗) และวันลาดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตาม กฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาสำหรับการลาป่วยและการลากิจส่วนตัว ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๙ ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้นำข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงานการรักษาวินัยการปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๐ ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งโอน เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ ไปช่วยราชการในต่างกระทรวงทบวง กรม ได้รับมอบหมายหรือได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษ อื่นใดหรือไปช่วยงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและปฏิบัติงานในครึ่งปีที่แล้วมาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาเลื่อน เงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๑ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่าง ประเทศหรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลา ราชการ เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการให้ผู้บังคับบัญชาผู้ มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ก.พ. กำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา มาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ไม่ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษ ภาคทัณฑ์ และถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการ ของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษและเป็นการถูกลงโทษจากการกระทำความผิดเดียวกัน ถ้าถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาล พิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษจะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะ เหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๔ ใน กรณีที่ผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือโทษทางอาญาที่ถึงที่สุดแล้วมีผลทำให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. นี้ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนเงิน เดือนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นเสียใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในกฎ ก.พ. นี้
ข้อ ๑๕ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อน เงินเดือนแต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่า ด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน สั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญใน
วันที่ ๓๐ กันยายนของปีที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๖ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อน เงินเดือนแต่ผู้นั้นถึงแก่ความตายก่อนหรือในวันที่ ๑ เมษายนหรือ ๑ ตุลาคม ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้ นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญโดยให้มีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๗ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงระดับเงินเดือนสูงสุดที่ ก.พ.กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้ว หากผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้น ต่ำกว่าเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.พ. กำหนดสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่นั้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้ นั้นเป็นกรณีพิเศษได้ โดยให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งหลังสุดมาใช้ในการพิจารณา เลื่อนเงินเดือนดังกล่าว โดยให้เลื่อนเงินเดือนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น
ข้อ ๑๘ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงิน เดือนตามข้อ ๘ เพราะเหตุเกี่ยวกับระยะเวลาการปฏิบัติราชการ การลา หรือการมาทำงานสายแต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ.กระทรวง พร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ. กระทรวง เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนเพราะเหตุอื่นนอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวงพร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า อ.ก.พ.กระทรวงเห็นชอบด้วยให้นำเสนอ ก.พ. เพื่อพิจารณา ถ้า ก.พ. เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ข้อ ๑๙ ในวันที่กฎ ก.พ.นี้ใช้บังคับ ถ้าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือน แต่ต้องรอการเลื่อนเงินเดือนไว้เพราะเหตุที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.พ.นี้ใช้บังคับ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้า ราชการผู้นั้นที่ได้รอไว้ทั้งหมด
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใดระดับใดยังมีผลใช้บังคับอยู่ คำว่า “เงินเดือนขั้นต่ำ” ตามกฎ ก.พ. นี้ ให้หมายความถึงเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว
ข้อ ๒๑ การเลื่อนเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ สำหรับครึ่งปีหลังของปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๒ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้บังฃับอยู่ก่อนวันที่กฎ ก.พ. นี้ใช้บังคับ
ข้อ ๒๒ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นการเฉพาะรายให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือน ขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน๓๖,๐๒๐ บาท
(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ในสายงานที่กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๔,๓๔๐ บาท
ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายโดยใช้ฐานในการคำนวณและช่วงเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับการเลื่อนเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่ง และระดับ

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 42

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 42
[รวมภาคเช้า - ภาคบ่าย]

1. ประธานชมรมแพทย์ชนบท คือใคร
ก. นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ข. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์
ค. นพ.วีระพงษ์ เพ่งพาณิชย์ ง. นายไพศาล บางชวด
2. “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง ที่ทันสมัยในประเทศและภูมิภาค” คือโรงพยาบาล
ก. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ข. โรงพยาบาลโรคมะเร็ง
ค. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ง. โรงพยาบาลเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
3. ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษา(สทศ) ปัจจุบันคือใคร
ก. นายสมชัย ไหลสุพรรณวงศ์ ข. นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
ค. นางอุทุมพร จามรมาน ง. นายเกษม กลั่นยิ่ง
4. ดีเอสไอ(DSI) ตรงกับข้อใด
ก. กรมคดีพิเศษ ข. สอบสวนคดีพิเศษ
ค. กรมสอบสวนคดีพิเศษ ง. ตำรวจสายลับ
5. ผู้บริหารท้องถิ่น สามารถดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้หรือไม่
ก. ได้
ข. ไม่ได้
ค. ได้ เพราะไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
ง. ไม่ได้ เพราะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
6. “ประชาคมอาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร ระยะ แรกมีประเทศเป็นสมาชิกเพียง 5 ประเทศ” ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนในระยะแรก
ก. อินโดนีเซีย ข. มาเลเซีย
ค. ฟิลิปปินส์ ง. เวียดนาม
7. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ก. ส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษา
ข. ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วม
ค. พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการท้องถิ่น
ง. ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้แบบองค์รวมอย่างหลากหลายและบูรณาการ
8. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวผิดเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ก. นำข้อมูลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 มาใช้พัฒนาหลักสูตร
ข. ให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ค. กำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญผู้เรียน ฃุณธรรมจริยธรรม มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวบ่งชี้
ง. สถานศึกษาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมและจุดเน้น
9. ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญในการจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ก. ใช้เป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาหลักสูตร
ข. จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีคุณภาพด้านความรู้และทักษะที่จำเป็น
ค. เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง
ง. แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
10. ผู้ที่มีอำนาจในการยกเลิก เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คือใคร
ก. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบรัฐมนตรี
ข. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี
ค.เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยความเห็นชอบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เลขาธิการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดยความเห็นชอบผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

หมายเหตุ
**ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ กราบขออภัยหากการอ้างอิงแสดงไว้ไม่ทั่วถึง...ขอทุกท่านอธิษฐานจิตให้ผลกุศลคุณงามความดีต่างๆ บังเกิดผลแด่ท่านผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับ..และ..การนำมาแผยแพร่นี้..เป็นการเอื้อเฝื่อเกิ้อกูลกันตามแบบอย่างธรรมเนียมไทย...ขอทุกท่านใช้ข้อมูลเหล่านี้..เพื่อประโยชน์ท่าน..ประโยชน์สังคมให้เต็มที่เถิด**

***ถ้าข้อมูลส่วนใดเก่า...ล้าสมัยก็อย่าไปใส่ใจนะครับ....มีความคิดเห็นใดๆ...โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านกลับให้ทราบด้วย...ขอขอพระคุณ
***************************************ครูปู-ปุถุชน

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 41

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 41
[รวมภาคเช้า - ภาคบ่าย]

1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
ก. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
ข. ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรมปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา
ค. แจ้งให้ผู้ปกครองของเด็กทราบด้วยวาจาไม่น้อยกว่า 1 ปี
ง. ถูกต้องทุกข้อ
2. ผู้ปกครองต้องการผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์ ข้อใดถูกต้อง
ก. ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผัน
ข. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจผ่อนผัน
ค. ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจผ่อนผัน
ง. ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจผ่อนผัน
3. เมื่อพบว่ามีเด็กไม่เข้าเรียนในสถานศึกษา ข้อใดถูกต้อง
ก. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เด็กนั้นได้เข้าเรียน
ข. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้เด็กนั้นได้เข้าเรียน
ค. ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการให้เด็กนั้นได้เข้าเรียน
ง. ให้ตำรวจจับแล้วสั่งปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
ก. ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ
ข. ต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด
ค. เป็นเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา
ง. เข้าไปในสถานศึกษาในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
5. ใครได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการมรดกโลก(World Heritage Commitlee - WHC)ตัวแทนประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552
ก. นายธีระ สลักเพชร ข. นางโสมสุดา ลียะวณิช
ค. นายอดุล วิเชียรเจริญ ง. นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำธร
6. การจัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการทุพพลภาพ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ให้กระทรวงศึกษาธิการ ฃณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษา จัดการศึกษา
ข. ให้การศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
ค. ให้สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ
ง. ประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา
7. ข้อใดกล่าวถึงการสอบระดับต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
ก. GPAX คือผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ข. GAT คือ General Aptitudes Test ความถนัดทั่วไป
ค. PAT คือ Professional Aptitudes Test ความถนัดเฉพาะวิชาชีพ
ง. ถูกทุกข้อ
8. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ถูกนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งลงโทษสถานใด
ก. ปลดออก ข. ไล่ออก
ค. ให้ออก ง. ตัดเงินเดือน
9. MQ เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ก. แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรม ข. แบบประเมินเพื่อวัดฃวามฉลาดทางอารมณ์
ค. แบบประเมินเพื่อวัดความรู้ความสามารถ ง. แบบประเมินเพื่อวัดจิตสาธารณะ
10. NGO เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ก. องค์กรฝึกอบรมวิชาชีพ ข. องค์กรพัฒนาเอกชน
ค. องค์กรช่วยเหลือคนยากจน ง. เทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรม


หมายเหตุ
**ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ กราบขออภัยหากการอ้างอิงแสดงไว้ไม่ทั่วถึง...ขอทุกท่านอธิษฐานจิตให้ผลกุศลคุณงามความดีต่างๆ บังเกิดผลแด่ท่านผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับ..และ..การนำมาแผยแพร่นี้..เป็นการเอื้อเฝื่อเกิ้อกูลกันตามแบบอย่างธรรมเนียมไทย...ขอทุกท่านใช้ข้อมูลเหล่านี้..เพื่อประโยชน์ท่าน..ประโยชน์สังคมให้เต็มที่เถิด**

***ถ้าข้อมูลส่วนใดเก่า...ล้าสมัยก็อย่าไปใส่ใจนะครับ....มีความคิดเห็นใดๆ...โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านกลับให้ทราบด้วย...ขอขอพระคุณ
***************************************ครูปู-ปุถุชน

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 40

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 40
[รวมภาคเช้า - ภาคบ่าย]

1. โทษทางวินัย 5 สถานข้อใดมีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
ก. ภาคทัณฑ์ ข. ตัดเงินเดือน
ค. ปลดออก ง. ไล่ออก
2. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย
ก. ทำเป็นคำสั่งโดยแสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใด มาตราใด และมีเหตุผลใดในการกำหนดสถานโทษเช่นนั้น
ข. ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทุกตำแหน่ง
ค. ผอ.เขตพื้นที่ วินิจฉัยชี้ขาดกรณีความขัดแย้งในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ง. ความผิดที่ปรากฏชัดเจนดำเนินการวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้
3. ข้อใดไม่ถูกต้องกรณีสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ
ก. เจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
ข. สมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ค. ราชการยุบตำแหน่งเพื่อการปฏิรูปราชการ
ง. ศึกษาต่อต่างประเทศเกิน 2 ปี
4. เมื่ออุทธรณ์หรือร้องทุกข์กรณีถูกสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออก ต่อ ก.ค.ศ.ภายใน 30 วัน ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
ก. ก.ค.ศ.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
ข. อ.ก.ค.ศ.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
ค. ก.ค.ศ.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
ง. ก.ค.ศ.พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน
9 คนใน ก.ค.ศ.ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงด้านบริหารงานบุคคล
ข. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงด้านกฏหมาย
ค. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ง. คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงด้านการเงินการคลัง
6. กรณีพบว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมใครสามารถมีอำนาจยับยั้งได้
ก. ผอ.สพท. ข. ประธาน อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง. ก.พ.ฐ.
7. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน ในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. มีประสบการณ์สูงด้านบริหารงานบุคคล ข. มีประสบการณ์สูงด้านเทคโนโลยี
ค. มีประสบการณ์สูงด้านการเงินการคลัง ง. มีประสบการณ์สูงด้านกฏหมาย
8. การย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ใครเป็นผู้สั่งย้าย
ก. เลขาธิการ กพฐ.โดยอนุมัติ ก.ค.ศ. ข. เลขาธิการ กพฐ.โดยอนุมัติ ก.พ.ฐ.
ค. เลขาธิการ กพฐ.โดยอนุมัติรัฐมนตรี ง เลขาธิการ กพฐ.โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
9 การลงโทษนักเรียน 4 สถานมีจุดมุ่งหมายตามข้อใด
ก. เพื่อหลาบจำและเข็ดหลาบ ข. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ค. เพื่อการอบรมสั่งสอน ง. เพื่อให้โอกาสปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
10. หนังสือราชการมี 6 ชนิด ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. หนังสือประทับตรา ข. หนังสือบันทึกข้อความ
ค. หนังสือภายใน ง. หนังสือประชาสัมพันธ์

หมายเหตุ
**ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ กราบขออภัยหากการอ้างอิงแสดงไว้ไม่ทั่วถึง...ขอทุกท่านอธิษฐานจิตให้ผลกุศลคุณงามความดีต่างๆ บังเกิดผลแด่ท่านผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับ..และ..การนำมาแผยแพร่นี้..เป็นการเอื้อเฝื่อเกิ้อกูลกันตามแบบอย่างธรรมเนียมไทย...ขอทุกท่านใช้ข้อมูลเหล่านี้..เพื่อประโยชน์ท่าน..ประโยชน์สังคมให้เต็มที่เถิด**

***ถ้าข้อมูลส่วนใดเก่า...ล้าสมัยก็อย่าไปใส่ใจนะครับ....มีความคิดเห็นใดๆ...โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านกลับให้ทราบด้วย...ขอขอพระคุณ
***************************************ครูปู-ปุถุชน

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 39

แบบทดสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ข ฉบับที่ 39
[รวมภาคเช้า - ภาคบ่าย]

1. นักมวย”ซาไก จ๊อกกี้ยิม” เสียชีวิตจากการชกมวยสากลในไฟต์พิเศษกับคาสึโยชิ นิกิ ชาวญี่ปุ่น แพ้ ที เค โอยกที่ 10 แล้วอีก 3 ชั่วโมงเกิดเลือดคั่งในสมองเสียชีวิต มีชื่อตรงกับข้อใด
ก. นายสมบูรณ์ เวียงชัย ข. นายซาไก เวียงชัย
ค. นายสมศักดิ์ เวียงชัย ง. นายสมภักดิ์ เวียงชัย
2. “ความรู้ที่ขาดคุณธรรม ความสามารถที่ขาดสติ การประกอบกิจการที่ขาดศรัทธาและอุดมการณ์ การเป็นผู้นำที่ขาดความกล้าอันชอบด้วยหลักการ เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จและการยกย่องของสังคม” เป็นคำกล่าวของบุคคลใดต่อไปนี้
ก. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
ข. ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
ค. นายแพทย์ประเวศ วะสี
ง. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
3. วิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. มีระยะเวลาการพัฒนา 160-180 ชั่วโมง
ข. การพัฒนาสมรรถนะผู้อำนวยการสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 162 ชั่วโมง
ค. ภาวะผู้นำทางวิชาการ(72 ชั่วโมง) เป็นการพัฒนาสมรรถนะผู้อำนวยการสถานศึกษา
ง. การจัดทำและนำเสนอผลงาน ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
4. “การผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการผลิตที่ดี” ตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. ครูเก่ง ข. ครูดี
ค. ครูสุข ง. ครูเก่ง ครูดี ครูสุข
5. ”รางวัลผู้สูงอายุแห่งชาติ” ประจำปี 2552 คือใคร
ก. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
ข. ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
ค. นายแพทย์ประเวศ วะสี
ง. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
6. ข้อใดไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องเป้าหมายของการส่งเสริมการอ่านเป็นสาระแห่งชาติ
ก. ประชากรวัยเรียนเป็นผู้รู้หนังสือในระดับใช้งานได้ เป็น 99.2%
ข. ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถอ่านออกเขียนได้เพิ่มเป็น 95.3%
ค. สร้างเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝั่งนิสัยรักการอ่านภายในปี 2555
ง. ค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือคนไทยเป็นเฉลี่ยปีละ 10 เล่มต่อคน
7. มาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรงกับข้อใด
ก. TQF ข. TQM
ค. SQM ง. TBF
8. ข้อใดไม่ถูกต้อง ของระบบ 3 G
ก. บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ IMT
ข. คลื่นความถี่ 2,000 เมกะเฮิร์ตซ์
ค. อินเตอร์เน็ทความเร็วสูงติดตามตัวความเร็ว 10 เมกะบิต
ง การสื่อสารด้วยเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ทและมัลติมีเดียสามารถเล่นได้ทั้งภาพและเสียง
9 ข้อใดไม่ถือว่าเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
ก. ลอกเลียนผลงานวิชาการ
ข. ละทิ้งหน้าที่พามารดาไปโรงพยาบาล
ค. จ้างวานทำผลงานเพื่อปรับปรุงตำแหน่ง
ง. เป็นหัวคะแนนให้ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
10. ข้อใดไม่ถูกต้องเรื่องเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย
ก. การปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ข. การสร้างขวัญและกำลังใจ การจูงใจ
ค. ปกป้องช่วยเหลือเพื่อมิให้ถูกลงโทษ ง. เอาใจใส่ สังเกตการณ์และขจัดเหตุ

หมายเหตุ
**ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ กราบขออภัยหากการอ้างอิงแสดงไว้ไม่ทั่วถึง...ขอทุกท่านอธิษฐานจิตให้ผลกุศลคุณงามความดีต่างๆ บังเกิดผลแด่ท่านผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับ..และ..การนำมาแผยแพร่นี้..เป็นการเอื้อเฝื่อเกิ้อกูลกันตามแบบอย่างธรรมเนียมไทย...ขอทุกท่านใช้ข้อมูลเหล่านี้..เพื่อประโยชน์ท่าน..ประโยชน์สังคมให้เต็มที่เถิด**

***ถ้าข้อมูลส่วนใดเก่า...ล้าสมัยก็อย่าไปใส่ใจนะครับ....มีความคิดเห็นใดๆ...โปรดแสดงความคิดเห็นของท่านกลับให้ทราบด้วย...ขอขอพระคุณ
***************************************ครูปู-ปุถุชน