วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายการประเมินสถานศึกษาพอเพียง

รายการประเมินด้านที่ 1
การบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ( 4 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 1 มีนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี
ตัวชี้วัดที่ 2 ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 4 นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 5 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 6 ดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 7 ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 8 นำผลการติดตามไปพัฒนา แผนงาน/โครงการ/ กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน


องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 10 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 11 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 12 นำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 4 บริหารทั่วไป (2 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 13 บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 14 ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง

ตัวอย่าง ร่อยรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. หลักสูตรสถานศึกษา / หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
2. แผนปฏิบัติการประจำปี
3. คำสั่ง / ประกาศ
4. บันทึกการประชุม / การนำผลการรายงานไปใช้ / เอกสารการประชุม
5. รายงานผลการปฏิบัติงาน / รายงานการดำเนินโครงการ
6. ผลการวัดความสำเร็จของกิจกรรมในแต่ละโครงการ / รายงานผลการจัดกิจกรรม
7. แผนการติดตามประเมินผล
8. เครื่องมือการติดตามประเมินผล
9. รายงานการวิจัย
10. แผนการนิเทศ / บันทึกผลการนิเทศ / ภาพนิ่ง / วิดีทัศน์
11. เอกสารการระดมทุน / ทรัพยากร
12. รายงานการใช้ทรัพยาการ
13. แหล่งเรียนรู้ / หลักฐานเชิงประจักษ์
14. สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน / ทะเบียนสื่อนวัตกรรม
15. เอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
16. สังเกตสภาพภูมิทัศน์

เกณฑ์การให้คะแนน
1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย
ตัวชี้วัดที่ 1 มีนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเป็นนโยบายของสถานศึกษา
2 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายข้างต้นของสถานศึกษา
ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการดำเนินการตามนโยบายข้างต้นของสถานศึกษา ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = มีแผนปฏิบัติงานประจำปีที่สอดคล้องกับนโยบายข้างต้นของสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มงาน อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงทางภูมิสังคมของสถานศึกษา
นิยาม
ศัพท์ นโยบาย : สถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์/เป้าหมาย/ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/มาตรการ เป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษาและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
บุคลากร : ผู้บริหาร ครู และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
กลุ่มงาน : กลุ่มงาน/ฝ่าย ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ในโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา
ผู้เกี่ยวข้อง : กรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปกครอง
ภูมิสังคม : ภูมิประเทศ และวิถีชีวิต-ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน/สังคม ที่สถานศึกษาตั้งอยู่
ตัวชี้วัดที่ 2 ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการประชุมชี้แจงการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ ให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม กับแต่ละโครงการ/กิจกรรมที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ แต่ไม่ครบทุกกิจกรรม
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ ครบทุกกิจกรรม
อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพความเป็นจริง
นิยามศัพท์ แผนปฏิบัติงานประจำปีฯ : แผนปฏิบัติงานประจำปีที่กำหนดขึ้นตามนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
อย่างเหมาะสม : ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น มีการปรับแผนฯ/กิจกรรม ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ตัวชี้วัดที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีฯ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล ที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และติดตามผลการปฏิบัติงานตาม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงทางภูมิสังคมของสถานศึกษา
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผล แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 4 นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินการตามนโยบาย/แผนงาน/โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา เพื่อให้ดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = ดำเนินการ แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการ/กิจกรรม/การดำเนินงาน ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมฯ ตามที่ได้ดำเนินการแล้ว ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ
ตัวชี้วัดที่ 5 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนงานด้านวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน
2 = บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม และจัดสรรทรัพยากรสนับสนุน ในการดำเนินการตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 อย่างพอประมาณ และเป็นเหตุเป็นผล
4 = แผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มีโครงการ/กิจกรรม ครอบคลุมทุกกลุ่มงานและทุกระดับชั้น และมีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
นิยามศัพท์ งานวิชาการ : การเก็บข้อมูล/ศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนางานต่าง ๆ ของสถานศึกษา
แผนส่งเสริมงานวิชาการฯ : แผนงานด้านวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 6 ดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ประชุมชี้แจงการดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนฯ ให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ
3 = มีผู้รับผิดชอบตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ แต่ไม่ครบทุกขั้นตอน/ไม่ครบทุกกิจกรรม
4 = มีผู้รับผิดชอบตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และดำเนินการตาม โครงการ/กิจกรรม ของแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ทุกขั้นตอนและทุกกิจกรรม ตามความเหมาะสม และยืดหยุ่นตามความจำเป็นและสถานการณ์
ตัวชี้วัดที่ 7 ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบการติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล การปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงานฯ และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และรายงานผลการติดตามผล แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 8 นำผลการติดตามไปพัฒนาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทาง แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา ให้ดำเนินงานส่งเสริม ด้านวิชาการฯ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = ดำเนินการ แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา งานส่งเสริมด้านวิชาการฯ ตาม แนวทาง/ข้อเสนอที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา งานส่งเสริมด้านวิชาการฯ ตามที่ได้ดำเนินการแล้ว ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา
2 = บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการบริหารงบประมาณอย่างเหมาะสม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม และเป็นเหตุเป็นผล สำหรับแต่ละโครงการ/กิจกรรม
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และการจัดสรรงบประมาณคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
ตัวชี้วัดที่ 10 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการประชุมชี้แจงการดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายและบริหารจัดการงบประมาณ
แต่ละโครงการ/กิจกรรม ตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการเบิกจ่ายและใช้ทรัพยากร ตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา อย่างโปร่งใส
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการเบิกจ่ายงบประมาณและใช้ทรัพยากรตามความจำเป็น อย่างเหมาะสม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายได้ทุกโครงการ/กิจกรรม
ตัวชี้วัดที่ 11 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ในการติดตามผลการใช้งบประมาณของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการติดตามผลการใช้งบประมาณ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม ที่ตั้งไว้ อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และความซื่อสัตย์สุจริต ในการใช้งบประมาณตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลการใช้งบประมาณแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 12 นำผลการติดตาม มาพัฒนา/ปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการบริหารจัดการงบประมาณ ของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาให้ดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = ดำเนินการปรับปรุง/พัฒนา การบริหารจัดการงบประมาณตามข้อเสนอ ที่ได้จากเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา การบริหารจัดการงบประมาณ ตามที่ได้ดำเนินการแล้วตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 4 บริหารงานทั่วไป
ตัวชี้วัดที่ 13 บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ การใช้/ดูแล/รักษา/ปรับปรุง อาคารสถานที่ และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และผู้เรียน/บุคลากร/ผู้ที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วม ในการใช้/ดูแล/รักษา/ปรับปรุง อาคารสถานที่ และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา อย่างเหมาะสมกับภูมิสังคมที่สถานศึกษาตั้งอยู่
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และใช้ประโยชน์อาคารสถานที่/สภาพแวดล้อม/แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่/สภาพแวดล้อม/แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้ประโยชน์ได้นาน
นิยามศัพท์ อยู่อย่างพอเพียง : ใช้ชีวิตสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐาน ในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ เพื่อความก้าวหน้า อย่างสมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดที่ 14 ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง
ในสถานศึกษา / ชุมชน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่ อย่างพอเพียงในสถานศึกษา / ชุมชน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และบุคลากรของสถานศึกษา รวมถึงผู้เรียน มีส่วนร่วมในการประสานสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอยู่อย่างพอเพียงในสถานศึกษา/ชุมชน
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และใช้ประโยชน์จากบุคลากรและทรัพยากรของชุมชน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง ในสถานศึกษา / ชุมชน
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างสม่ำเสมอ
นิยามศัพท์ ชุมชน : คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ ผู้ปกครอง และ/หรือ ชุมชนที่อยู่บริเวณรอบสถานศึกษา


รายการประเมินด้านที่ 2
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (4 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 1 มีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกระดับชั้น
ตัวชี้วัดที่ 2 มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 3 มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
(4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 4 มีแผนจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น
ตัวชี้วัดที่ 5 คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ตัวชี้วัดที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 8 จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 9 จัดทำ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 10 ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่ส่งเสริมการอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 11 จัดทำเครื่องมือและวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 12 ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 13 รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 14 จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียน ที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
ตัวอย่างร่องรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. หลักสูตรสถานศึกษา/หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น/เอกสารหลักสูตร
2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/คำสั่งปฏิบัติงาน/แผนปฏิบัติการประจำปี
3. หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการนิเทศติดตามผล
4. โครงงานนักเรียน
5. บันทึกการประชุม
6. สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้/ทะเบียนสื่อนวัตกรรม
7. งานวิจัยในชั้นเรียน
8. เครื่องมือวัดผลประเมินผล
9. แผนงาน/ชิ้นงานของนักเรียน/ภาพถ่ายกิจกรรม
10. แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน/รางวัลที่ได้รับ






เกณฑ์การให้คะแนน
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร/ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 1 มีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกระดับชั้น
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = สถานศึกษามีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้
2 = มี และใช้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ แต่ไม่ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน
3 = มี และใช้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน
4 = มี และใช้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน และเป็นแบบอย่างให้สถานศึกษาอื่นๆ นำไปปรับใช้ได้
นิยามศัพท์ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : หน่วยที่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดสำหรับแต่ละชั้นปี
ตัวชี้วัดที่ 2 มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจ
ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ดำเนินการ นิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2 = มีแผนและเครื่องมือในการ นิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล เพื่อดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการบันทึกผลการดำเนินงานโดยผู้บริหาร หรือรายงานผลการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การใช้หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อผู้บริหาร
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และนำผลการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล ไปปรับปรุง/พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัดที่ 3 มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการ สำรวจ/ศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนสภาพของปัญหา/ปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และพิจารณาเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดียิ่งขึ้น
3 = นำข้อเสนอแนะที่ได้จากการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 มาแก้ไขปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตาม
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างสม่ำเสมอ และเผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเป็นแบบอย่างได้ ใน/นอกสถานศึกษา
นิยามศัพท์ วิจัย : มีการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อค้นพบในการนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุง/พัฒนางานการ จัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดีขึ้น
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 4 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ไม่ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีแผนการเรียนรู้ฯ ที่สามารถนำไปเผยแพร่เป็นแบบอย่างได้
นิยามศัพท์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ระบุการ
บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กิจกรรมการเรียนการสอน
และการวัดผลประเมินผล
ตัวชี้วัดที่ 5 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีคุณภาพ อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ 2 - 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ 4 - 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ตั้งแต่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ขึ้นไป
นิยามศัพท์ คุณภาพของแผน : ประกอบด้วยมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระหรือเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ การวัดผลประเมินผล และบันทึกหลังสอน
การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ : การระบุถึงการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึง หลักความพอประมาณ การมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยใช้ความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรมในการเตรียมการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ ซึมซับ ฝึกฝน และเห็นคุณค่าของการอยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ มากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น
นิยามศัพท์ ผู้เรียนมีส่วนร่วม : ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ต่าง ๆ เช่น เก็บข้อมูล วิเคราะห์ ปฏิบัติ ทดลอง แสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม นำเสนอฯลฯ
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 8 จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = จัดหา/ผลิต และใช้ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการจัดการเรียนการสอน 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ฯ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
นิยามศัพท์ การจัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ : การได้มาซึ่งสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การผลิตขึ้นเอง การจัดซื้อ การขอรับบริจาค ฯลฯ และการเผยแพร่สื่อที่ได้มา เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 จัดทำ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = จัดทำ/พัฒนา แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน มากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับอำเภอ/เขตพื้นที่การศึกษา ขึ้นไป
นิยามศัพท์ แหล่งเรียนรู้ : แหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ ใช้หลักปรัชญาฯ ในด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานศึกษา
การเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ : การทำให้ชุมชนในระดับต่างๆ ได้รับทราบ และมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 10 ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนอยู่อย่างพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = บุคลากรสถานศึกษาและผู้เรียน มีส่วนร่วมในการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = บุคลากรสถานศึกษาและผู้เรียน ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีส่วนร่วมในการ จัดแหล่งเรียนรู้/สืบค้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชน
3 = บุคลากรสถานศึกษาและผู้เรียน ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการ พัฒนาแหล่งเรียนรู้/พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชน
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง
มาอย่างน้อย 2 ปี
นิยามศัพท์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น : องค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มีอยู่ในท้องถิ่น/ชุมชน
องค์ประกอบที่ 4 การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 11 จัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และนำไปใช้ในการวัดผล/ประเมินผล แต่ไม่ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และนำไปใช้ในการวัดผล/ประเมินผล ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = นำผลที่ได้จากการวัดผลและการประเมินผลด้วยเครื่องมือฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 12 ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีวิธีการวัดผลและประเมินผล แต่ไม่หลากหลาย และ/หรือ ไม่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = มีวิธีการวัดและประเมินผลที่ไม่หลากหลาย แต่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 = มีวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 = นำผลที่ได้จากการวัดผลและการประเมินผล ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มาใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 13 รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = รายงานผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้รับทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และรายงานผลการประเมินฯ ให้ผู้บริหารทราบด้วย
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และรายงานผลการประเมินฯ ให้ผู้ปกครอง/กรรมการสถานศึกษาทราบ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และนำผลการประเมินฯไปปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมการเรียนการสอนที่
บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวชี้วัดที่ 14 จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียน ที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ด้วยวิธีการที่หลากหลายปรากฏให้เห็นประจักษ์ในระดับสถานศึกษา
2 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนฯ ในระดับสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และระหว่างสถานศึกษา/ท้องถิ่น
3 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และระดับเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัดขึ้นไป
4 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างต่อเนื่องย้อนหลัง 2 ปี
นิยามศัพท์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนนำเสนอความรู้ ประสบการณ์ ของตนเอง ให้ผู้อื่นรับรู้ และรับฟังความคิดเห็น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้อื่น จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือประสบการณ์ใหม่


รายการประเมินด้านที่ 3
3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( 3 องค์ประกอบ 15 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ( 5 ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัดที่ 1 มีแผนงาน/โครงการ แนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 2 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 3 มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 4 ติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 5 นำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน ( 6 ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัดที่ 6 มีแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 7 จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 8 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนาในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 10 ติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 11 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ( 4 ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัดที่ 12 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 13 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหา/พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 14 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 15 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่าง ร่องรอย / เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. แผนงาน/โครงการ แนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2. การจัดกิจกรรมแนะแนว การประเมินผล การนำผลไปใช้ให้ผู้เรียนได้รู้จักศักยภาพของตนเอง
3. การจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์
4. แผนงาน/โครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
5. การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา/พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชน ในด้านต่างๆ
6. การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา/ชุมชน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรม หรือหลักคำสอนทางศาสนา ตามภูมิสังคม
7. แผนงาน/โครงการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา/จิตสาธารณะและการบริการสังคม
8. การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา/จิตสาธารณะ และการบริการสังคม
9. แฟ้มสะสมงาน/ การสรุปงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง
10. รูปภาพประกอบการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ต่างๆ
11. เกียรติบัตร/ รางวัลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
12. สอบถาม/ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้แทนชุมชน



เกณฑ์การให้คะแนน
3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 1 มีกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีผู้รับผิดชอบการดำเนินการแผนงานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2 = แผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 มีกิจกรรม/งานต่างๆ ที่จัดทำขึ้นโดยพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานรายบุคคลของนักเรียนในสถานศึกษา
3 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = แผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มีโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และภูมิสังคมของโรงเรียน /ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 2 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักศักยภาพของตนเอง
2 = มีการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพแวดล้อมของชุมชน/สังคม และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางด้านวัตถุ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม
3 = มีการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการวางแผนชีวิต ทั้งด้านการเรียนและการประกอบอาชีพ ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา และสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน/ชุมชน
4 = มีการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จนทำให้ผู้เรียนสามารถใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการเลือกประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อ เพื่อให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 3 มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีระบบดูแลช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อม อย่างเป็นเหตุเป็นผล
2 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีผู้รับผิดชอบดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 อย่างต่อเนื่อง จริงจัง และพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
4 = ผลจากการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา/พัฒนาตนเองได้
ตัวชี้วัดที่ 4 ติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ที่หลากหลาย และสอดคล้อง กับสถาพที่เป็นจริงในสถานศึกษา และสภาพแวดล้อม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน อย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 5 นำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันเพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมแนะแนว
และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ให้ดำเนินการได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 6 มีแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนงาน/โครงการ และผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ที่สนับสนุนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
2 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียง ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = นักเรียน หรือผู้แทนนักเรียน มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง ตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = กิจกรรมในแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มีกิจกรรมที่หลากหลาย และสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 7 จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ในสถานศึกษา และมีครูผู้รับผิดชอบดำเนินการที่เหมาะสม
2 = กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 มีความเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน
3 = กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 มีความหลากหลาย และสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษา
4 = กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษา และชุมชน/สังคม
ตัวชี้วัดที่ 8 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม เพื่อส่งเสริมกิจกรรมของนักเรียน ในสถานศึกษา
2 = ชุมนุม/ชมรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 เกิดจาก ความสนใจ และสมัครใจ ของนักเรียน
3 = ชุมนุม/ชมรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 มีกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม/บริบทของสถานศึกษา
4 = กิจกรรมของ ชุมนุม/ชมรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ขยายผลสู่ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนา ในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีไทย / ประเพณีท้องถิ่น
2 = ชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 มีผู้รับผิดชอบดำเนินการ และมีนักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม อย่างสม่ำเสมอ
3 = ชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้/ปราชญ์ชาวบ้าน/ บุคลากร/ทรัพยากรในชุมชน /พื้นที่ใกล้เคียง
4 = ชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ส่งผลให้ผู้เรียน เห็นคุณค่า ภูมิใจ และร่วมเชิดชู
ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีไทย / ประเพณีท้องถิ่น
ตัวชี้วัดที่ 10 ติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล การจัดกิจกรรมนักเรียน ที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงในสถานศึกษา และสภาพแวดล้อม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ2 และมีการดำเนินการติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 11 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันเพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียนให้ดำเนินการได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 12 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมใน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2 = บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ และมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และกิจกรรมมีความหลากหลายและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษา
4 = มีกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ครอบคลุมทุกกิจกรรม และทุกระดับชั้นที่เปิดสอน
นิยามศัพท์ จิตอาสา : การที่ผู้เรียน ช่วยเหลืองานผู้อื่นโดยที่ไม่ต้องร้องขอและกระทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
จิตสาธารณะ : การที่ผู้เรียน ช่วยเหลืองานส่วนรวม งานสาธารณะประโยชน์ด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
การบริการสังคม : การที่นักเรียนดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสังคม/เศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม แก่ชุมชน/สังคมส่วนรวม
ตัวชี้วัดที่ 13 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ หรือ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือ วัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจหรือสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือวัฒนธรรม
2 = กิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 1 เกิดจากความสนใจของผู้เรียน และ สอดคล้องกับความจำเป็น และความต้องการ ของสถานศึกษา/ชุมชน
3 = กิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ปรากฏผลการแก้ปัญหา / ปรับปรุง / พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชน อย่างชัดเจน
4 = ผลจากกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 3 สามารถเป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษา หรือ องค์กรอื่น ๆ ในการพัฒนากิจกรรมจิตอาสา และ/หรือ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 14 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียนเพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผลการจัดกิจกรรมกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียนเพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ที่หลากหลาย และสอดคล้อง กับสถาพที่เป็นจริงในสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการติดตามผลการจัดกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ อย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 15 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้ดำเนินการได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3




รายการประเมินด้านที่ 4
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 1 มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 2 ประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
ตัวชี้วัดที่ 3 ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัดที่ 4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามและขยายผล
ตัวชี้วัดที่ 5 ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 6 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 7 ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่าง ร่องรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. แผนพัฒนาบุคลากร
2. แผนปฏิบัติการประจำปี
3. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
4. หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการฯ
5. บันทึกการประชุม
6. แบบประเมินตนเองของครู
7. รายงานการปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรม
8. แผนการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
9. รายงานผลการประชุม อบรม และสัมมนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
10. ภาพถ่ายกิจกรรม / รางวัล / เกียรติบัตร ฯลฯ

เกณฑ์การให้คะแนน
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 1 มีแผนงาน/โครงการ พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำ แผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากร ของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และชี้แจงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้การดำเนินการอย่างทั่วถึง
4 = แผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ครอบคลุมทุกกลุ่มงานและทุกระดับชั้น
นิยามศัพท์ บุคลากรของสถานศึกษา : ผู้บริหาร ครู ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว
ตัวชี้วัดที่ 2 ประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = บุคลากรของสถานศึกษา เข้าร่วม การประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
2 = สถานศึกษาจัดการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ ให้แก่บุคลากรของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
3 = บุคลากรของสถานศึกษานำผล/ความรู้/ประสบการณ์ ที่ได้จาก การประชุม/อบรม/สัมมนา/การศึกษาดูงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และ/หรือ เกณฑ์คุณภาพ 2 มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 = บุคลากรของสถานศึกษาส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และ/หรือ เกณฑ์คุณภาพ 2 และ/หรือ เกณฑ์คุณภาพ 3
นิยามศัพท์ การมีส่วนร่วม : ความร่วมมือของบุคลากรในการวางแผนการดำเนินงาน การระดมทรัพยากร การลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการประเมินผล และการรายงานผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดที่ 3 ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = สถานศึกษา จัดหาสื่อ/ช่องทาง/วัสดุอุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่บุคลากร
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และบุคลากรมีการแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านวิธีการ/ช่องทาง ต่างๆ
3 = มีการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีร่องรอยของการแสวงหาองค์ความรู้ของบุคลากรและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ปรากฏชัดเจน
4 = มีการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และบุคลากรมีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
นิยามศัพท์ การดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม : การใช้ชีวิตอย่างสงบสุขในครัวเรือน อย่างเหมาะสมตามฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีการละลดเลิกอบายมุข ดำรงตนเป็นพลเมืองดีของสังคม มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม ประเพณี
ตัวชี้วัดที่ 4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่บุคลากรของสถานศึกษาในด้านวัตถุ / ด้านสังคม / ด้านสิ่งแวดล้อม / ด้านวัฒนธรรม
2 = มีการระดมทรัพยากรทั้งในและนอก สถานศึกษา เพื่อดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และเกณฑ์คุณภาพ 2 อย่างสม่ำเสมอ
4 = ปฏิบัติครบทุกข้อ และบุคลากรมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จากผลการจัดกิจกรรม ตลอดจนมีการขยายผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่บุคคล ในครอบครัวและชุมชน
นิยามศัพท์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต : การเปลี่ยนแปลงสภาพการดำรงชีวิต ไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การประหยัด การออม การลดละเลิก อบายมุข การใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท ฯลฯ
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามและขยายผล
ตัวชี้วัดที่ 5 ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการติดตามผลดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากรฯ
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากร ฯ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 6 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการกิจกรรมพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา ให้ดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร ฯ ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา โครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร ฯ ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณา ตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา โครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร ฯ ตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
ตัวชี้วัดที่ 7 ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรภายในสถานศึกษา
2 = มีการปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และเผยแพร่ ขยายผล สู่ภายนอกสถานศึกษา ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
3 = มีการปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และ 2 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรของสถานศึกษาและชุมชน
4 = ปฏิบัติครบทุกข้อ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
นิยามศัพท์ หลากหลาย หมายความถึง มีช่องทางในการพัฒนาและเผยแพร่ปรัชญาฯได้หลายวิธี เช่น จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว จัดทำ website เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

รายการประเมินด้านที่ 5
5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ (4 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 1 คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 2 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 4 บุคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 5 บุคลากรอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณะประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 6 บุคลากรรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ
ตัวชี้วัดที่ 7 บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม จากกระแสโลกาภิวัตน์
องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดที่ 10 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม
ตัวชี้วัดที่ 11 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดที่ 12 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างร่องรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. สภาพภูมิทัศน์สถานศึกษา (ภายใน - ภายนอก)
2. บรรยากาศการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา
3. รายงานผลการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
4. หลักฐานแสดงความเป็น "บุคคลตัวอย่าง / ต้นแบบ" เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เกณฑ์การให้คะแนน
5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 1 คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปันสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3 = สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4
= สถานศึกษาสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปัน มีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพื้นฟูวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 2 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม
3 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับตนเอง และสถานศึกษา
4 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับตนเอง และสถานศึกษา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = บุคลากรของสถานศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 = บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และบุคลากรของสถานศึกษาส่วนหนึ่งมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 = บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจ และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 4 บุคลากรจัดการทรัพยากร และดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผน และมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผนและมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ และ/หรือ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผนการใช้จ่าย ใช้จ่ายทรัพย์อย่างพอประมาณ ไม่เกินตัว และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ และ/หรือ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมทั้ง มีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างคุ้มค่า
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
นิยามศัพท์ สาธารณะสมบัติ หมายถึง สนามโรงเรียน น้ำ ไฟฟ้า ต้นไม้ คูคลอง ถนน ฯลฯ
มีวินัยในการใช้จ่าย หมายถึง ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ ไม่เกินตัว สมฐานะ มีเหตุผลในการใช้จ่าย
ตัวชี้วัดที่ 5 บุคลากรอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณะประโยชน์
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง และดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง มีการดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน และมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน / ช่วยเหลือผู้อื่น /บริจาค / ทำบุญ อย่างสม่ำเสมอ
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง มีการดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน และมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน /ช่วยเหลือผู้อื่น /บริจาค / ทำบุญ และมีส่วนร่วมในการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม อย่างสม่ำเสมอ
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
ตัวชี้วัดที่ 6 บุคลากรรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ รวมถึงรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ รวมถึงรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า ตลอดจนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและชุมชน
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
ตัวชี้วัดที่ 7 บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
จากกระแสโลกาภิวัฒน์
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษาการแต่งกาย และประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น/ชาติพันธุ์
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีส่วนร่วมในการสืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สถานศึกษา/ชุมชน/สังคม ดำเนินการ สืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษาเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 25
2 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ 25 - 50
3 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ 51 - 74
4 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ75 ขึ้นไป
นิยามศัพท์ ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ฯ หมายความถึง ผ่านเกณฑ์การวัดผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา ที่จัดสอนในช่วงปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา
เฉลี่ยร้อยละ xx หมายความถึง จำนวนผู้เรียนที่มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ตามข้างต้น มีจำนวนโดยเฉลี่ย ร้อยละ xx ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่าย
2 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพหรือใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
3 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างประหยัดและคุ้มค่า
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อยห้องละ 1 คน
ตัวชี้วัดที่ 10 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยไม่เบียดเบียน / สร้างความเดือดร้อนให้ ตัวเอง/ผู้อื่น
2 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่น
3 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อย ห้องละ 1 คน
ตัวชี้วัดที่ 11 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
3 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/ ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษา และชุมชน
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อยห้องละ 1 คน
ตัวชี้วัดที่ 12 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนา และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น/ชาติพันธุ์
2 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีส่วนร่วมในการสืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
3 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สถานศึกษา/ชุมชน/สังคม ดำเนินการ สืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทย และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อยห้องละ 1 คน