วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แผน "บริหารแผ่นดิน 4 ปี" รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" 
 วงเงินงบประมาณเบื้องต้น 15 ล้านล้านบาท เป็นแผนบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2555-2558 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

                         รัฐบาล จะมุ่งมั่นการพัฒนาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ทุกคน โดยยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่นที่คำนึงถึงพลวัต การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าว ภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 3 ประการ คือ
                         1.เพื่อ นำประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย
                         2.เพื่อ นำประเทศสู่สังคมที่มีความปรองดอง สมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมี หลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน
                         3.เพื่อนำประเทศ ไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง
                            @ กรอบการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล เพื่อ ให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถบรรลุถึงภารกิจตามนโยบายรัฐบาล จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และวิธีการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มในปีแรก ดำเนิน นโยบายในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการจากภาวะเงินเฟ้อและ ราคาน้ำมัน รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะการให้สินเชื่อเพื่อประกอบ อาชีพ ให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการยกระดับราคาสินค้าเกษตร การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงาน และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การให้เบี้ยยังชีพรายเดินแบบขั้นบันได แก่ผู้สูงอายุ นอกจากนั้น จะดำเนินการเร่งการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศ และนอกประเทศ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินงานระยะเร่งด่วน ในปีแรก จะครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศไทย และคนไทยเผชิญอยู่ใน 3 เรื่องสำคัญได้แก่
                          1.การ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคม และการพัฒนาการเมืองของประเทศ เพื่อให้คนไทยหันกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้อง มีความสามัคคี สังคมไทยมีความสงบสุข และปลอดจากปัญหายาเสพติด ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง โดยเร่งดำเนินการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ การป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่นในภาครัฐ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
                            2.การ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพของประชาชน และการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเยาวชนและประชาชน โดยเพิ่มรายได้ให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ควบคู่ไปกับการลดรายจ่ายของประชาชน ทั้งในด้านราคาสินค้าและราคาพลังงาน สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการสร้างอาชีพ รวมทั้งการสร้างหลักประกันในด้านสุขภาพ และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาเยาวชนไทย 
                           3.การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร เพื่อการเกษตร และการสร้างรายได้ของประเทศ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยสร้างความมั่นคงของภาคการผลิตทางการเกษตร ด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและการขยายเขตพื้นที่ชลประทาน การสร้างรายได้เข้าประเทศผ่านการท่องเที่ยว และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการฟื้นฟูสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ รวมทั้งลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขยายฐานภาษีเพื่อเพิ่มความสามารถในการ แข่งขัน และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 
                        @ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ มี การกำหนดเป้าประสงค์เชิงนโยบายไว้ 5 เรื่อง คือ เรื่องที่หนึ่ง สังคมไทยมีความสมานฉันท์ประชาชนในชาติ มีความรักสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรื่องที่สอง ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข เรื่องที่สาม สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการเมือง เรื่องที่สี่ บุคคลทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย 2540 ได้รับการเยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เรื่องที่ห้า คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ นโยบายที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปี รัฐบาลได้กำหนดนโยบายพื้นที่ที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปีของรัฐบาล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังนี้
                            1. ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน 
                           2. ด้านสร้างรายได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง และยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายช่องการตลาด รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการที่มีเทคโนโลยี สูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                          3. ด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ มีการจ้างงานที่เต็มที่ รวมทั้งมีความระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ระหว่างประเทศ และมีการส่งเสริมการสร้างรายได้ภายในประเทศ โดยการเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาพแวดล้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการตลาด ภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการขนส่งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสในกระจายรายได้ และการกระจายการลงทุนไปสู่ชนบท เป็นต้น 
                         4. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษาพร้อมทั้งปฏิรูประบบการ ผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพ เร่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้การกระจายครูเพื่อขจัดปัญหาการขาดแคลนครูใน สาขาวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา ด้านการคุ้มครองแรงงานรัฐบาล ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน และหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิ ประโยชน์ในการประกันสังคมให้มากขึ้น และขยายความคุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบ ที่รัฐจะต้องดูแลภายใต้ระบบคุ้มครองแรงงาน การจัดสวัสดิการ และบริการทางสังคม แก่ผู้ด้อยโอกาส และคนยากจนให้ทั่วถึง รวมทั้งยังเร่งยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้แรงงานมีฝีมือ ทั้งระบบและเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพให้บริการสุขภาพทั้งระบบโดยการเร่ง ผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ การจัดให้มีมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการป่วยตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในด้านผลิตภัณฑ์และการบริการด้าน สุขภาพและการรักษาพยาบาล ในภูมิภาคเอเชีย
                          5. ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากร การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ และการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับต่อผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ
                         6. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมบนฐานความรู้ โดยการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ร่วมทั้งเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ 
                       7. ด้านต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งเสริมพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558
                       8. ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการเน้นการบริหารงานเชิงกลยุทธ์เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบ บริหารงานแบบบูรณาการ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งการช่วยเหลือด้านกฎหมาย ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาสรวมทั้งส่ง เสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ถูกต้องเป็นธรรม
                       วงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เบื้องต้น 15.178 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ประมาณการการลงทุน วงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เป็นการประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้น ซึ่งเป็นข้อเสนอตามความต้องการของส่วนราชการเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล 4 ปี เท่ากับ 11.299 ล้านล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินการภาครัฐ 4 ปี รวม 3.878 ล้านล้านบาท รวมเป็นประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้นทั้งสิ้น 15.178 ล้านล้านบาท และประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 8.901 ล้านล้านบาท โดยมีแหล่งเงินในการดำเนินโครงการตามนโยบาย ประกอบด้วย เงินในงบประมาณ 10.440 ล้านล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ 0.859 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ประมาณการความความต้องการใช้เงินที่ปรากฏในแผนการบริหารราชการแผ่น ดิน ดังกล่าว จะใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปีและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของส่วนราชการ เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปีต่อไป โดยแผนงาน/โครงการที่ระบุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 ส่วนราชการเจ้าของแผนงาน/โครงการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย อย่างไรก็ตาม ประมาณการความต้องการใช้เงินในช่วงปี 2555-2558 ดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและขีดความสามารถในการก่อนหนี้ของภาครัฐ ภายใต้กรอบการรักษาวินัยการคลัง จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณารายละเอียดความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของโครงการลงทุน ต่าง ๆ รวมทั้ง พิจารณาทางเลือกของแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อลดภาระงบประมาณและรักษาวินัยการคลัง
 (มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 7 กันยายน 2554 หน้า2) ที่มา - มติชนออนไลน์
1.ทิศทางของ สพฐ.ปี 2555 นโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการว ซึ่ง สพฐ. ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน ผลผลิต โครงการ ร่างงบประมาณ และปฏิทินงบประมาณ ดังนี้ วิสัยทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์กรขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐานของประเทศไทยให้สูงเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของโลกภายในปี 2563 พันธกิจ พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากล แผนงาน/ผลผลิต/โครงการ ปี 2555 สพฐ.มี 4 แผนงาน 6 ผลผลิต 8 โครงการ ดังนี้แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการที่ 1 : โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ - แผนงานสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา โครงการที่ 1 : โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา โครงการที่ 1 : โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา ผลผลิตที่ 1 : ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา ผลผลิตที่ 2 : ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ ผลผลิตที่ 3 : ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ผลผลิตที่ 4 : เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาสมรรถภาพ ผลผลิตที่ 5 : เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลผลิตที่ 6 : เด็กผู้มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ โครงการที่ 7 : โครงการคืนครูให้นักเรียน โครงการที่ 8 : โครงการพัฒนาครูทั้งระบบเต็มตามศักยภาพ โครงการที่ 9 : โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โครงการที่ 10 : โครงการมัธยมศึกษาเชิงปฏิบัติการ โครงการที่ 11 : โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมโลก งบประมาณ งบประมาณ ปี 2555 ที่ สพฐ.เสนอขอไป คือ 269,827,769,700 บาท เป็นงบบุคลากร 198,972 ล้าน งบดำเนินงาน 17,347 ล้าน งบลงทุน 9,129 ล้าน งบอุดหนุน 43,846 ล้าน งบรายจ่ายอื่น 532 ล้าน กระบวนกรอนุมัติงบประมาณจะเสร็จสิ้นปลายเดือนมกราคมตามปฏิทินงบประมาณ ดังนี้ 2-3 พ.ย. 2554 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี วาระที่ 1 (เลื่อนเป็น 9-10 พ.ย.แล้วครับ) 4 พ.ย.-19 ธ.ค.2554 คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 20 ธันวาคม 2554 สมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรชี้แจงคำแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ 4-5 ม.ค.2555 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี วาระที่ 2-3 23 ม.ค.2555 วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 27 ม.ค.2555 สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป 2.วิทยฐานะ ขณะนี้หลายเขตพื้นที่คงเบิกเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทนรายเดือนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคำสั่ง ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2552 - 30 กันยายน 2553 ตามหนังสือของ สพร.ที่ ศธ 04009/ว 4771 ลว 12 ตุลาคม 2554 เรียบร้อยไปแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 34,886 คน งบประมาณ 9,675 ล้าน แปลกใจกับหลายเขตที่บอกว่ายังไม่เห็นรู้เรื่องเลย หลายคนบอกว่าไม่เชื่อว่าจะเป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องสร้างกระแสของ สพฐ. บางคนหนักถึงขนาดว่าเป็นการเคาะกะลาให้หมาดีใจ อยู่ๆก็เอาตัวเองไปเปรียบกับหมา ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องของคน หมาไม่เกี่ยว ผมก็ไม่รู้จะตอบว่าอย่างไร ก็เลยแนะนำให้ไปถามคนที่เขากดเงินได้แล้วก็แล้วกันว่าจริงหรือหรอก สำหรับผู้ที่ได้รับคำสั่ง ตุลาคม 2553 – ปัจจุบัน ขณะนี้ผมได้ข้อมูลจาก สพร.มาถึงกรกฎาคม 2554 รวม 39,405 คน งบประมาณ 8,349 ล้านบาท หลายท่านถามว่าทำไมผ่านแล้วจึงไม่จ่ายเลย จะได้ไม่ติดค้าง ผมก็อยากจะทำอย่างที่ท่านว่าครับ แต่ทำไม่ได้ เพราะเราไม่ได้มีงบประมาณจำนวนมากแบบจ่ายไม่อั้นในคลังของเรา เราต้องของบประมาณเป็นปีๆ ไป เราจะใช้จำนวนผู้ผ่านการประเมินของบประมาณ สำนักงบประมาณไม่ยอมให้เรานำจำนวนผู้ขอประเมินวิทยฐานะของบประมาณ เพราะไม่ทราบจำนวนที่จะผ่าน/ไม่ผ่านที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเหตุการณ์ส่งผลงานก่อนรับเงินที่หลัง เพราะคนส่งก่อนกรรมการอ่าน/ขออนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตช้ากว่าคนที่ส่งที่หลัง ดังนั้น สนผ.ได้รับข้อมูลผู้ผ่านการประเมินจาก สพร.มาเท่าใด ก็ของบประมาณให้เท่านั้นครับ เช่นปีนี้ เราตั้งงบประมาณ ปี 2555 เมื่อตอนปลายปี 2553 สนผ.ได้ข้อมูลว่ามีผู้ผ่านวิทยฐานะถึง กรกฎาคม 2553 บังเอิญปีนี้งบประมาณล่าช้า จึงขอต่อรองเพิ่มได้อีก 2 เดือน ถึง 30 กันยายน 2553 แผนที่คิดไว้ก็คือ จะทำเรื่องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีของส่วนที่เหลือทั้งหมด ถ้าได้ก็คงเป็นต้นๆ ปี 2555 แผนสองเป็นแผนปกติ นั่นคือ สพฐ.กำลังตั้งงบประมาณ ปี 2556 ก็จะตั้งให้ทั้งหมด รับตกเบิกเดือนตุลาคม 2555 ครับ 3.อัตราจ้าง ปี 2555 สพฐ.ได้ตั้งงบประมาณในจ้างบุคลากร จำนวน 65,172 คน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดว่าจ้างตำแหน่งใด เงินเดือนเท่าไรได้ในหนังสือที่ ศธ 04006/ว2098 ลว 30 กันยายน 2554 หน้าเว็ปไซด์ของ สนผ.ได้ครับ หลายท่านบอกว่าทำไมไม่ตั้งเป็นตำแหน่งถาวร มาจ้างกันอยู่ได้ทุกปี ใกล้ 30 กันยายน ก็วุ่นวายกันทั้งประเทศ เราก็ต้องการทำอย่างที่ท่านร้องขออยู่เหมือนกัน แต่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)ไม่ยอมครับ นอกจากนั้นยังบอกว่าบุคลากรของ สพฐ.มีมากเกินเสียด้วยซ้ำไป เรื่องก็เป็นแบบนี้แหละครับ อย่างไรก็ตาม สพฐ.ก็ไม่ละความพยายามนะครับ พยายามจะขอตำแหน่งธุรการให้เป็นอัตราถาวร เหมือนการเงินและพัสดุประจำโรงเรียน คอยติดตามกันต่อไปครับ เรื่องอัตราจ้างนี้หลายเขตปฏิบัติไม่เหมือนกัน น้องๆบ่นกันเข้ามามาก เช่น เงินตกเบิกยังไม่ได้รับ ยังไม่ต่อสัญญาจ้าง ใช้งานผิดหน้าที่ รับเงินไม่ตรงสิ้นเดือน เป็นต้น ผมเชื่อว่าเป็นจริง ขอเรียนให้ทราบว่าแจ้งจัดสรรทุกเรื่องแล้วครับ ยกเว้นพี่เลี้ยงเด็กพิการของโรงเรียน ซึ่งขณะนี้สำนักบริงานการศึกษาพิเศษกำลังแจ้งจัดสรรอยู่ ที่ช้าเพราะรอข้อมูลว่ามีเด็กพิเศษในปีนี้มากน้อยเพียงไร เมื่อไม่ได้ข้อมูลก็เลยยังจัดสรรไม่ได้ ผมเลยหารือกับ ผอ.พะโยมว่าแจ้งไปแบบมีเงื่อนไขก็ได้ คือ ถ้ามีเด็กพิเศษมากก็จ้างมาก ถ้ามีน้อยก็จ้างน้อย กำลังจัดสรรแล้วครับ น้องบางคนกลัวว่าจะทำงานฟรี เพราะทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ 1 ตุลาคม แล้ว ของฟรีไม่มีในโลกครับ สัญญาที่จะเซ็นกัน มีผลย้อนหลังได้ ทุกตำแหน่งนะครับไม่ใช่น้องธุรการอย่างเดียว ส่วนเงินตกเบิกเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น รับเงินไม่ตรงสิ้นเดือน สามารถดำเนินการได้ครับ ใครไม่ได้บอกมา เพราะ สพฐ.จัดสรรงบประมาณให้เขตและโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เบิกจ่ายตรงหมดแล้ว 4.หนังสือมีคุณค่าที่น่าอ่าน ช่วง ที่ผมเก็บสมบัติหนีน้ำท่วม (สมบัติผมมีแต่หนังสือครับ) ก็เจอหนังสืออยู่ 2 เล่มที่เก็บไว้นานแล้ว เลยอ่านอีกรอบหนึ่งแบบรวดเดียวจบ เล่มแรกคือ ใครเอาเนยแข็งของฉันไป (Who moved my cheese?) ซึ่งเขียนโดยนายแพทย์ Spencer Johnson เล่มที่สอง คือ อยู่อย่างสง่า เป็นหนังสือดีเด่น แนวจิตวิทยา ที่ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ วิทยา นาควัชระ เขียนไว้ ใครเอาเนยแข็งของฉันไป (Who moved my cheese?) เรื่องนี้เป็นการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้ว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากใครไม่ยอมปรับตัวอันเนื่องมาจากเหตุผลต่างๆ ก็จะเอาตัวไม่รอด โดยสมมติตัวละคร 4 ตัว มีหนูสองตัว และมนุษย์จิ๋วสองคนตัวเท่าหนู ทุกๆ วันหนูและมนุษย์จิ๋วต้องออกหาอาหารอันโอชะคือเนยแข็ง วันไหนหาเนยแข็งได้ก็จะมีความสุข เพราะได้ลิ้มรสอาหารที่ตนชอบ วันไหนหาเนยแข็งได้น้อย หรือหาไม่ได้ ก็จะเศร้า หงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ ไม่มีความสุข วันหนึ่งทั้งหนูและมนุษย์ได้เจอเนยแข็งกองใหญ่ ทั้งหมดมีความสุขมากและคิดว่า เนยแข็งขนาดนี้กินเท่าไรก็ไม่หมด ทุกๆ วันทั้งมนุษย์จิ๋วและหนูก็จะกินเนยแข็งกันอย่างมีความสุข หนูทั้งสองเฝ้าสังเกตว่าเนยแข็งค่อยๆ ลดลงในแต่ละวัน และกลิ่นก็ไม่หอมหวนเหมือนอย่างวันแรกๆ ดังนั้นจึงมีความคิดจะไปหาเนยแข็งก่อนใหม่ ถ้าเนยแข็งนี้หมดลงหรือไม่มีความอร่อยแล้ว ส่วนมนุษย์จิ๋วไม่คิดอะไรมากไปกว่าความสุขที่ได้รับในแต่ละวัน และแล้วเหตุการณ์ตามการสังหรณ์ใจของหนูก็มาถึงจริงๆ เช้าวันหนึ่ง ทั้งหนูและมนุษย์จิ๋วมายังกองเนยแข็งเช่นเดิม แต่ทั้งหมดต้องตะลึงเมื่อไม่พบเนยแข็งที่เคยกินอยู่ทุกวันแม้แต่น้อย มนุษย์จิ๋วได้แต่ฟูมฟายว่า ใครเอาเนยแข็งของฉันไป ส่วนหนูเมื่อหายตกตะลึงแล้ว ก็รีบวิ่งไปหาเนยแข็งในแหล่งใหม่ทันที และมีความคิดว่าทำอย่างไรจึงจะมีเนยแข็งก้อนใหม่กิน และในที่สุดก็เจอเนยแข็งก้อนใหม่ จึงได้แทะกินกันด้วยความเอร็ดอร่อย ส่วนมนุษย์จิ๋วยังอยู่ที่เดิมด้วยมีความเชื่อว่า เดี๋ยวต้องมีเนยแข็งเหมือนเดิม เพราะตรงนี้เคยมีเนยแข็ง การจะออกไปแสวงหาเนยแข็งใหม่นั้น กลัวว่าจะไม่เจอ อาจมีอันตราย อย่างไรก็ตามมนุษย์จิ๋วหนึ่งในสองก็เริ่มคิดได้ หลังจากทนหิวอยู่หลายวันว่า จะอยู่อย่างเดิมต่อไปโดยไม่ยอมเสาะแสวงหาเนยแข็งใหม่ ก็คงอดตายแน่ จึงเริ่มออกหาเนยแข็งใหม่ โดยมีความคิดว่า เริ่มช้าดีกว่าไม่เริ่มเลย ตัวละครทั้งสี่ได้บันทึกคำคมไว้ในช่วงต่างๆ ดังนี้ - การมีเนยแข็งทำให้มีความสุข - ยิ่งเห็นเนยแข็งสำคัญเท่าไร ก็ยิ่งยึดติดมากขึ้นเท่านั้น - จงดมเนยแข็งอยู่เสมอจะได้รู้เมื่อมันเริ่มเก่า - ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็อยู่ไม่รอด - จะทำอะไรได้ทุกอย่างถ้าไม่กลัว - มุ่งไปในทิศทางใหม่ จะช่วยทำให้หาเนยแข็งใหม่ - ถ้าสลัดความกลัวไปได้จะเป็นอิสระ - จินตนาการว่าจะมีความสุขกับเนยแข็งใหม่ แม้ยังไม่พบก็จะช่วยนำทางเราได้ - ละทิ้งเนยแข็งเก่าเร็วเท่าไร ก็จะพบเนยแข็งใหม่เร็วเท่านั้น - เที่ยวเสาะหาเนยแข็งใหม่ในเขาวงกตยังดีกว่าทนรออย่างไร้เนยแข็ง - ความเชื่อเดิมๆไม่ช่วยให้พบกับเนยแข็งใหม่ - เปลี่ยนวิถีทาง เมื่อเห็นว่าสามารถหาและมีความสุขกับเนยแข็งใหม่ได้ - ตามหาเนยแข็งก้อนใหม่และมีความสุขกับมัน เป็นไงบ้างครับ สนุกไหม เรื่องนี้เป็นการเปรียบเปรย ซึ่ง เนยแข็ง ก็หมายถึงงาน เงินทอง ความสัมพันธ์ บ้าน สุขภาพ และอื่นๆ ที่เราปรารถนา ทุกคนต้องทราบว่าเนยแข็งของตัวเองคืออะไร พยายามเสาะแสวงหา เชื่อว่าถ้าได้มาแล้วจะมีความสุข ถ้าสูญเสียจะมีความทุกข์ทรมาน แต่ต้องไม่ลืมนะครับ ว่าทุกอย่างเกิดขึ้น มีอยู่และก็ดับไป อยู่อย่างสง่า เป็นหนังสือดีเด่น แนวจิตวิทยา ผมหยิบมาแค่ประเด็นเดียวคือ บุคลิกของผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มีดังนี้ - นับถือตนเองว่ามีคุณค่าเสมอ แม้จะเป็นผู้แพ้ ผู้ชนะ ตกต่ำ ก้าวหน้า จน รวย สวยหรือ ขี้เหร่ โดยหาจุดดีของตนเอง และอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี - หวังผลที่เป็นนามธรรมมากกว่าที่เป็นรูปธรรม เช่นความภูมิใจ มากกว่าเงินทอง - เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ ให้ความรู้สึกที่ดี คำพูดที่ให้กำลังใจ ความรู้ ข้อแนะนำ คำชื่นชม ยกย่อง ความนับถือ มิตรภาพ วัตถุ เงินทอง มองไกล ใฝ่ดี มีคุณธรรม เมื่อเกิดปัญหาต้องแก้ปัญหาด้วยปัญญา ด้วยความเมตตา ไม่เสียเวลากับคนไม่ดี เหตุการณ์ไม่ดี เพราะเสียเวลา เสียกำลังใจและเสียความรู้สึกหากใครต้องการความสำเร็จในชีวีวิต ลองฝึกปฏิบัติดูสิครับ 5.ช่องทางการประสานงาน จากการตอบกระทู้ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้สนใจสอบถามเรื่องราวต่างๆมากมาย ผมพยายามประสานหาข้อมูลมาตอบให้ทั้งหมด ในช่วงนี้เป็นช่วงการออกเยี่ยมเยียนผู้ประสบอุทกภัย การเตรียมการชี้แจงงบประมาณ ปี 2555 การตั้งงบประมาณ ปี 2556 ดังนั้น อาจเข้ามาตอบกระทู้ช้า ไม่ทันใจผู้อ่าน จึงขอให้หมายเลขโทรศัพท์ของผู้อำนวยการสำนักของ สพฐ. เพื่อท่านจะได้ประสานงานโดยตรง ดังนี้ เรื่อง นโยบาย งบประมาณ ข้อมูลสารสนเทศ รับนักเรียน เรียนฟรี สิ่งก่อสร้าง ไฟฟ้า โรงเรียน ดีตำบล โรงเรียนขนาดเล็ก โครงการพระราชดำริ โครงการอาหารกลางวัน การเดินทางไปต่างประเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายรังสรรค์ มณีเล็ก 0818387560 เรื่อง การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง คุณลักษณะเฉพาะ สำนักการคลังและสินทรัพย์ นางพวงมณี ชัยเสรี 0817055306 เรื่อง วิทยฐานะ การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ครูธุรการ อัตราจ้าง สำนักพัฒนาระบบการบริหารงาน บุคคลและนิติการ นายกมล ศิริบรรณ 0818725572 เรื่อง คอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน นายอเนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ 0818333264 เรื่อง หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผล สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา นางสาววีณา อัครธรรม 0813985823 เรื่อง การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายชวลิต โพธิ์นคร 0891087652 เรื่อง พี่เลี้ยงเด็กพิการ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ นายพะโยม ชิณวงศ์ 0819019003 เรื่อง งานศิลปหัตถกรรม สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน นายสนิท แย้มเกสร 0818470301 ส่งท้าย ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการทำงาน สนุกกับการลอยกระทง ถ้ามีทุกข์ก็ขอให้พ้นทุกข์ ด้วยการลดละเลิกกามตัณหา ภวตัณหาและวิภวตัณหา มองโลกในแง่ดี เชื่อมั่นและนับถือตนเอง เห็นใจและอโหสิกรรมเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งปวงที่ล่วงเกินเรา แหม......ส่งท้ายเหมือนจะลาไปบวช สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่
วิธีเตรียมสมองพร้อมรับงานหนัก บ่อยครั้งที่พอสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก หรืออารมณ์ไม่ดี หลายคนมักจะเป็นประเภทรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง คือ เฟ้นหาสาเหตุจากปัจจัยภายนอก ก่อนที่จะตั้งคำถามเช็กสมรรถภาพกับตัวเอง แล้วความจริงก็ชอบแสดงให้เห็นว่า หลายปัญหาคาใจ แท้จริงแล้วมีคำตอบอยู่ข้างหน้านั่นเอง ชนิดที่เรียกว่าเส้นผมบังภูเขาแท้ๆ เลย ดังนั้น ถ้าวันนี้ใครรู้สึกว่าสมองแล่นช้า ลองสลับหยุดนิ่ง ก่อนจะหันไประเบิดอารมณ์ใส่เพื่อน หรือหาทางออกจากอะไรๆ รอบตัว ลองมาเช็กและรีเฟรชระบบภายในร่างกายกันก่อน ด้วย 8 วิธีที่ทำได้ในออฟฟิศ - เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานสมอง : เขียนเลข 8 ในอากาศ ด้วยมือทั้งสองข้าง ข้างละ 5 ครั้ง โดยเริ่มจากด้านซ้ายของเลขก่อน แล้วเขียนวนไปให้เป็นเลข 8 วิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอ่าน การทำความเข้าใจดีขึ้น และทำให้สมองด้านซ้ายและด้านขวาประสานงานกัน - หล่อเลี้ยงสมองด้วยน้ำเปล่า : วางขวดน้ำไว้ใกล้ๆ โต๊ะของคุณเป็นประจำ และคอยจิบทีละน้อย วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายของคุณตื่นตัวตลอดเวลา สมองเปิดว่าง สามารถรับสารหรือข้อมูลได้ดี เพราะน้ำจะช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมองและระบบประสาท ถ้าเวลาที่รู้สึกเครียด จึงควรจิบน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพื่อไปหล่อเลี้ยงระบบของร่างกาย - นวดใบหูกระตุ้นความเข้าใจ : นั่งพักสบายๆ แตะปลายนิ้วทั้งสองข้างที่ใบหู เคลื่อนนิ้วไปยังส่วนบนของหู จากนั้นบีบนวดและคลี่รอยพับของใบหูทั้งสองข้างออก ค่อยๆ เคลื่อนนิ้วลงมานวดบริเวณอื่นๆ ของใบหู ดึงเบาๆ เมื่อถึงติ่งหู ดึงลง ให้ทำซ้ำกัน 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน และทำให้ความเข้าใจดีขึ้น เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทบริเวณใบหูที่เชื่อมสมอง - บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ : ใช้มือซ้ายจับไหล่ขวา บีบกล้ามเนื้อให้แน่นพร้อมหายใจเข้า จากนั้นหายใจออกและหันไปทางซ้ายจนสามารถมองไหล่ซ้ายของตัวเอง จากนั้นสูดลมหายใจลึกๆ วางแขนซ้ายลงบนไหล่ขวา พร้อมกับห่อไหล่ ค่อยๆ หันศีรษะกลับไปตรงกลางและเลยไปด้านขวา จนกระทั่งสามารถมองข้ามไหล่ของคุณได้ ยืดไหล่ทั้งสองข้างออก ก้มคางลงจรดหน้าอกพร้อมกับสูดลมหายใจลึกๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อของคุณได้ผ่อนคลาย เปลี่ยนมาใช้มือขวาจับไหล่ซ้าย บ้าง และทำซ้ำกันข้างละ 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อตรงส่วนลำคอและไหล่ การได้ยิน การฟัง และช่วย ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานอีกด้วย - นวดจุดเชื่อมสมอง : วางมือข้างหนึ่งไว้บนสะดือ มืออีกข้างหนึ่งใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางบนกระดูกหน้าอกบริเวณ ใต้กระดูกไหปลาร้า และค่อยๆ นวดทั้งสองตำแหน่งประมาณ 10 นาที วิธีนี้จะช่วยลดความงงหรือสับสน กระตุ้นพลังงาน และช่วยให้มีความคิดแจ่มใส - บริหารขา : ยืนตรงให้เท้าชิดกัน ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง โดยยกส้นเท้าขึ้น งอเข่าขวาเล็กน้อยแล้วโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ก้นของคุณจะอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าขวา สูดลมหายใจเข้าและผ่อนออก ในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนี้ ค่อยๆ กดส้นเท้าซ้ายให้วางลงบนพื้นพร้อมกับงอเข่าขวาเพิ่มขึ้น หลังเหยียดตรง สูดลมหายใจเข้าแล้วกลับไปตั้งต้นใหม่อีกครั้ง เปลี่ยนจากขาข้างซ้ายเป็นข้างขวา ทำแบบเดียวกันทั้งหมด 3 ครั้ง การบริหารท่านี้เหมาะสำหรับปรับปรุงสมาธิ รวมทั้งช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านหนังสือ และยังช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อน่องผ่อนคลายอีกด้วย - กดจุดคลายเครียด : ใช้นิ้ว 2 นิ้ว กดลงบนหน้าผากทั้งสองด้าน ประมาณ กึ่งกลางระหว่างขนคิ้ว และตีนผม กดค้างไว้ประมาณ 3 - 10 นาที วิธีนี้จะช่วยคลายความตึงเครียดและเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตเข้าสู่สมอง - บริหารสมองด้วยการเขียน : เขียนเส้นขยุกขยิกด้วยมือทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ลายเส้นที่เขียนอาจจะดูเพี้ยนๆ แต่ได้ผลดีต่อระบบสมองเป็นอย่างดีทีเดียว วิธีนี้จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงการประสานงานของสมอง ด้วยการทำให้สมองทั้งสองซีกทำงานพร้อมกัน และเพิ่มความชำนาญด้านการสะกดคำ คำนวณดี และรวดเร็วขึ้น อีกด้วย เป็นไปได้จริงที่เส้นผมสามารถ บังภูเขาทั้งลูกได้ ถ้าสายตาไม่มีสติกำกับ ดังนั้นประตูบานแรกที่จะทอดนำไปสู่การหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ปัญหา คือ สภาพจิตใจที่สมบูรณ์จากภายใน จำง่ายๆ ว่า เมื่อใดสติเกิด สมองก็บรรเจิด และแน่นอนว่าผลของงานก็จะดีขึ้นทันใด ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ http://www.thaihealth.or.th/node/8374

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รายการประเมินสถานศึกษาพอเพียง

รายการประเมินด้านที่ 1
การบริหารจัดการสถานศึกษา
ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ( 4 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 1 มีนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี
ตัวชี้วัดที่ 2 ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 4 นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการ ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 5 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 6 ดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 7 ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 8 นำผลการติดตามไปพัฒนา แผนงาน/โครงการ/ กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน


องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 10 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 11 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 12 นำผลการติดตามมาพัฒนาและปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 4 บริหารทั่วไป (2 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 13 บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 14 ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง

ตัวอย่าง ร่อยรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. หลักสูตรสถานศึกษา / หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
2. แผนปฏิบัติการประจำปี
3. คำสั่ง / ประกาศ
4. บันทึกการประชุม / การนำผลการรายงานไปใช้ / เอกสารการประชุม
5. รายงานผลการปฏิบัติงาน / รายงานการดำเนินโครงการ
6. ผลการวัดความสำเร็จของกิจกรรมในแต่ละโครงการ / รายงานผลการจัดกิจกรรม
7. แผนการติดตามประเมินผล
8. เครื่องมือการติดตามประเมินผล
9. รายงานการวิจัย
10. แผนการนิเทศ / บันทึกผลการนิเทศ / ภาพนิ่ง / วิดีทัศน์
11. เอกสารการระดมทุน / ทรัพยากร
12. รายงานการใช้ทรัพยาการ
13. แหล่งเรียนรู้ / หลักฐานเชิงประจักษ์
14. สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน / ทะเบียนสื่อนวัตกรรม
15. เอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
16. สังเกตสภาพภูมิทัศน์

เกณฑ์การให้คะแนน
1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 นโยบาย
ตัวชี้วัดที่ 1 มีนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา และบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปี
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเป็นนโยบายของสถานศึกษา
2 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายข้างต้นของสถานศึกษา
ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการดำเนินการตามนโยบายข้างต้นของสถานศึกษา ที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = มีแผนปฏิบัติงานประจำปีที่สอดคล้องกับนโยบายข้างต้นของสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีกิจกรรมครอบคลุมทุกกลุ่มงาน อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงทางภูมิสังคมของสถานศึกษา
นิยาม
ศัพท์ นโยบาย : สถานศึกษามีการกำหนดวิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์/เป้าหมาย/ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/มาตรการ เป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษาและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
บุคลากร : ผู้บริหาร ครู และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
กลุ่มงาน : กลุ่มงาน/ฝ่าย ที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ในโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา
ผู้เกี่ยวข้อง : กรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ปกครอง
ภูมิสังคม : ภูมิประเทศ และวิถีชีวิต-ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน/สังคม ที่สถานศึกษาตั้งอยู่
ตัวชี้วัดที่ 2 ดำเนินการตามนโยบาย และแผนปฏิบัติงานประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการประชุมชี้แจงการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ ให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม กับแต่ละโครงการ/กิจกรรมที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ แต่ไม่ครบทุกกิจกรรม
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ ครบทุกกิจกรรม
อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพความเป็นจริง
นิยามศัพท์ แผนปฏิบัติงานประจำปีฯ : แผนปฏิบัติงานประจำปีที่กำหนดขึ้นตามนโยบายน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
อย่างเหมาะสม : ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้น มีการปรับแผนฯ/กิจกรรม ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ตัวชี้วัดที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี ที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบการติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีฯ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล ที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติงานประจำปีฯ
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และติดตามผลการปฏิบัติงานตาม โครงการ/กิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงทางภูมิสังคมของสถานศึกษา
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผล แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 4 นำผลการติดตามมาพัฒนา นโยบาย/แผนงาน/โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินการตามนโยบาย/แผนงาน/โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา เพื่อให้ดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = ดำเนินการ แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการ/กิจกรรม/การดำเนินงาน ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมฯ ตามที่ได้ดำเนินการแล้ว ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 2 วิชาการ
ตัวชี้วัดที่ 5 มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่
การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนงานด้านวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน
2 = บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม และจัดสรรทรัพยากรสนับสนุน ในการดำเนินการตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 อย่างพอประมาณ และเป็นเหตุเป็นผล
4 = แผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มีโครงการ/กิจกรรม ครอบคลุมทุกกลุ่มงานและทุกระดับชั้น และมีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
นิยามศัพท์ งานวิชาการ : การเก็บข้อมูล/ศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อปรับปรุงและพัฒนางานต่าง ๆ ของสถานศึกษา
แผนส่งเสริมงานวิชาการฯ : แผนงานด้านวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 6 ดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ประชุมชี้แจงการดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนฯ ให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ
3 = มีผู้รับผิดชอบตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ แต่ไม่ครบทุกขั้นตอน/ไม่ครบทุกกิจกรรม
4 = มีผู้รับผิดชอบตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และดำเนินการตาม โครงการ/กิจกรรม ของแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ทุกขั้นตอนและทุกกิจกรรม ตามความเหมาะสม และยืดหยุ่นตามความจำเป็นและสถานการณ์
ตัวชี้วัดที่ 7 ติดตามผล แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบการติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล การปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงานฯ และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผนส่งเสริมงานวิชาการฯ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และรายงานผลการติดตามผล แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 8 นำผลการติดตามไปพัฒนาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทาง แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา ให้ดำเนินงานส่งเสริม ด้านวิชาการฯ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = ดำเนินการ แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา งานส่งเสริมด้านวิชาการฯ ตาม แนวทาง/ข้อเสนอที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา งานส่งเสริมด้านวิชาการฯ ตามที่ได้ดำเนินการแล้ว ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 3 งบประมาณ
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา
2 = บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการบริหารงบประมาณอย่างเหมาะสม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม และเป็นเหตุเป็นผล สำหรับแต่ละโครงการ/กิจกรรม
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และการจัดสรรงบประมาณคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
ตัวชี้วัดที่ 10 ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการประชุมชี้แจงการดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายและบริหารจัดการงบประมาณ
แต่ละโครงการ/กิจกรรม ตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการเบิกจ่ายและใช้ทรัพยากร ตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา อย่างโปร่งใส
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการเบิกจ่ายงบประมาณและใช้ทรัพยากรตามความจำเป็น อย่างเหมาะสม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายได้ทุกโครงการ/กิจกรรม
ตัวชี้วัดที่ 11 ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ในการติดตามผลการใช้งบประมาณของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการติดตามผลการใช้งบประมาณ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม ที่ตั้งไว้ อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และความซื่อสัตย์สุจริต ในการใช้งบประมาณตามแผนงบประมาณของสถานศึกษา
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลการใช้งบประมาณแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 12 นำผลการติดตาม มาพัฒนา/ปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการบริหารจัดการงบประมาณ ของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาให้ดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = ดำเนินการปรับปรุง/พัฒนา การบริหารจัดการงบประมาณตามข้อเสนอ ที่ได้จากเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา การบริหารจัดการงบประมาณ ตามที่ได้ดำเนินการแล้วตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 4 บริหารงานทั่วไป
ตัวชี้วัดที่ 13 บริหารอาคารสถานที่และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ การใช้/ดูแล/รักษา/ปรับปรุง อาคารสถานที่ และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสม
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และผู้เรียน/บุคลากร/ผู้ที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วม ในการใช้/ดูแล/รักษา/ปรับปรุง อาคารสถานที่ และจัดการแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา อย่างเหมาะสมกับภูมิสังคมที่สถานศึกษาตั้งอยู่
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และใช้ประโยชน์อาคารสถานที่/สภาพแวดล้อม/แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา
อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่/สภาพแวดล้อม/แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้ประโยชน์ได้นาน
นิยามศัพท์ อยู่อย่างพอเพียง : ใช้ชีวิตสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐาน ในการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ เพื่อความก้าวหน้า อย่างสมดุล และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดที่ 14 ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง
ในสถานศึกษา / ชุมชน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่ อย่างพอเพียงในสถานศึกษา / ชุมชน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และบุคลากรของสถานศึกษา รวมถึงผู้เรียน มีส่วนร่วมในการประสานสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอยู่อย่างพอเพียงในสถานศึกษา/ชุมชน
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และใช้ประโยชน์จากบุคลากรและทรัพยากรของชุมชน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อการอยู่อย่างพอเพียง ในสถานศึกษา / ชุมชน
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างสม่ำเสมอ
นิยามศัพท์ ชุมชน : คณะกรรมการสถานศึกษา และ/หรือ ผู้ปกครอง และ/หรือ ชุมชนที่อยู่บริเวณรอบสถานศึกษา


รายการประเมินด้านที่ 2
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (4 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 1 มีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกระดับชั้น
ตัวชี้วัดที่ 2 มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 3 มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
(4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 4 มีแผนจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น
ตัวชี้วัดที่ 5 คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ตัวชี้วัดที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 8 จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 9 จัดทำ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 10 ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่ส่งเสริมการอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4 ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ 11 จัดทำเครื่องมือและวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 12 ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 13 รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 14 จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียน ที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
ตัวอย่างร่องรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. หลักสูตรสถานศึกษา/หลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น/เอกสารหลักสูตร
2. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/คำสั่งปฏิบัติงาน/แผนปฏิบัติการประจำปี
3. หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้/แผนการนิเทศติดตามผล
4. โครงงานนักเรียน
5. บันทึกการประชุม
6. สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้/ทะเบียนสื่อนวัตกรรม
7. งานวิจัยในชั้นเรียน
8. เครื่องมือวัดผลประเมินผล
9. แผนงาน/ชิ้นงานของนักเรียน/ภาพถ่ายกิจกรรม
10. แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน/รางวัลที่ได้รับ






เกณฑ์การให้คะแนน
2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร/ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 1 มีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกระดับชั้น
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = สถานศึกษามีหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้
2 = มี และใช้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ แต่ไม่ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน
3 = มี และใช้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน
4 = มี และใช้ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ครบทุกระดับชั้นที่เปิดสอน และเป็นแบบอย่างให้สถานศึกษาอื่นๆ นำไปปรับใช้ได้
นิยามศัพท์ หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : หน่วยที่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดสำหรับแต่ละชั้นปี
ตัวชี้วัดที่ 2 มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจ
ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ดำเนินการ นิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2 = มีแผนและเครื่องมือในการ นิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล เพื่อดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการบันทึกผลการดำเนินงานโดยผู้บริหาร หรือรายงานผลการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การใช้หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ต่อผู้บริหาร
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และนำผลการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล ไปปรับปรุง/พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัดที่ 3 มีการศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการ สำรวจ/ศึกษา/วิเคราะห์/วิจัย ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนสภาพของปัญหา/ปัจจัยที่มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และพิจารณาเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ดียิ่งขึ้น
3 = นำข้อเสนอแนะที่ได้จากการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 มาแก้ไขปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตาม
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างสม่ำเสมอ และเผยแพร่หน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเป็นแบบอย่างได้ ใน/นอกสถานศึกษา
นิยามศัพท์ วิจัย : มีการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อค้นพบในการนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุง/พัฒนางานการ จัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดีขึ้น
องค์ประกอบที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
ตัวชี้วัดที่ 4 มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ทุกระดับชั้น
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
ไม่ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ฯ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีแผนการเรียนรู้ฯ ที่สามารถนำไปเผยแพร่เป็นแบบอย่างได้
นิยามศัพท์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ระบุการ
บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กิจกรรมการเรียนการสอน
และการวัดผลประเมินผล
ตัวชี้วัดที่ 5 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีคุณภาพ อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ 2 - 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ 4 - 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ตั้งแต่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ขึ้นไป
นิยามศัพท์ คุณภาพของแผน : ประกอบด้วยมาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระหรือเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ การวัดผลประเมินผล และบันทึกหลังสอน
การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ : การระบุถึงการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึง หลักความพอประมาณ การมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยใช้ความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรมในการเตรียมการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ ซึมซับ ฝึกฝน และเห็นคุณค่าของการอยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียง 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ มากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฯ ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครบทุกระดับชั้น
นิยามศัพท์ ผู้เรียนมีส่วนร่วม : ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ต่าง ๆ เช่น เก็บข้อมูล วิเคราะห์ ปฏิบัติ ทดลอง แสดงความคิดเห็น ตอบคำถาม นำเสนอฯลฯ
องค์ประกอบที่ 3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 8 จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดการเรียนการสอน
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = จัดหา/ผลิต และใช้ สื่อการเรียนรู้ เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในการจัดการเรียนการสอน 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ฯ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
นิยามศัพท์ การจัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อการเรียนรู้ : การได้มาซึ่งสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การผลิตขึ้นเอง การจัดซื้อ การขอรับบริจาค ฯลฯ และการเผยแพร่สื่อที่ได้มา เพื่อใช้ประโยชน์ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 จัดทำ/พัฒนา/เผยแพร่ แหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = จัดทำ/พัฒนา แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน มากกว่า 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับอำเภอ/เขตพื้นที่การศึกษา ขึ้นไป
นิยามศัพท์ แหล่งเรียนรู้ : แหล่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ ใช้หลักปรัชญาฯ ในด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในสถานศึกษา
การเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ : การทำให้ชุมชนในระดับต่างๆ ได้รับทราบ และมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 10 ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนอยู่อย่างพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = บุคลากรสถานศึกษาและผู้เรียน มีส่วนร่วมในการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = บุคลากรสถานศึกษาและผู้เรียน ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีส่วนร่วมในการ จัดแหล่งเรียนรู้/สืบค้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชน
3 = บุคลากรสถานศึกษาและผู้เรียน ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการ พัฒนาแหล่งเรียนรู้/พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชน
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง
มาอย่างน้อย 2 ปี
นิยามศัพท์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น : องค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ที่มีอยู่ในท้องถิ่น/ชุมชน
องค์ประกอบที่ 4 การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 11 จัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และนำไปใช้ในการวัดผล/ประเมินผล แต่ไม่ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และนำไปใช้ในการวัดผล/ประเมินผล ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4 = นำผลที่ได้จากการวัดผลและการประเมินผลด้วยเครื่องมือฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 12 ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีวิธีการวัดผลและประเมินผล แต่ไม่หลากหลาย และ/หรือ ไม่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = มีวิธีการวัดและประเมินผลที่ไม่หลากหลาย แต่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 = มีวิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 = นำผลที่ได้จากการวัดผลและการประเมินผล ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มาใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 13 รายงานผลการประเมิน และนำมาปรับปรุง/พัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = รายงานผลการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้รับทราบ
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และรายงานผลการประเมินฯ ให้ผู้บริหารทราบด้วย
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และรายงานผลการประเมินฯ ให้ผู้ปกครอง/กรรมการสถานศึกษาทราบ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และนำผลการประเมินฯไปปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมการเรียนการสอนที่
บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวชี้วัดที่ 14 จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียน ที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ด้วยวิธีการที่หลากหลายปรากฏให้เห็นประจักษ์ในระดับสถานศึกษา
2 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนฯ ในระดับสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และระหว่างสถานศึกษา/ท้องถิ่น
3 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และระดับเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัดขึ้นไป
4 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของผู้เรียนฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างต่อเนื่องย้อนหลัง 2 ปี
นิยามศัพท์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนนำเสนอความรู้ ประสบการณ์ ของตนเอง ให้ผู้อื่นรับรู้ และรับฟังความคิดเห็น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้อื่น จนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือประสบการณ์ใหม่


รายการประเมินด้านที่ 3
3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ( 3 องค์ประกอบ 15 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ( 5 ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัดที่ 1 มีแผนงาน/โครงการ แนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อสนับสนุนการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 2 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 3 มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 4 ติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 5 นำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน ( 6 ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัดที่ 6 มีแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 7 จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 8 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนาในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 10 ติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 11 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ ( 4 ตัวชี้วัด )
ตัวชี้วัดที่ 12 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 13 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ แก้ปัญหา/พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/วัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 14 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 15 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่าง ร่องรอย / เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. แผนงาน/โครงการ แนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2. การจัดกิจกรรมแนะแนว การประเมินผล การนำผลไปใช้ให้ผู้เรียนได้รู้จักศักยภาพของตนเอง
3. การจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์
4. แผนงาน/โครงการที่ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
5. การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา/พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชน ในด้านต่างๆ
6. การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา/ชุมชน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรม หรือหลักคำสอนทางศาสนา ตามภูมิสังคม
7. แผนงาน/โครงการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา/จิตสาธารณะและการบริการสังคม
8. การจัดกิจกรรม และการประเมินผล ตลอดจนการนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา/จิตสาธารณะ และการบริการสังคม
9. แฟ้มสะสมงาน/ การสรุปงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง
10. รูปภาพประกอบการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ต่างๆ
11. เกียรติบัตร/ รางวัลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
12. สอบถาม/ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้แทนชุมชน



เกณฑ์การให้คะแนน
3. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 1 การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 1 มีกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีผู้รับผิดชอบการดำเนินการแผนงานแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2 = แผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 มีกิจกรรม/งานต่างๆ ที่จัดทำขึ้นโดยพิจารณาจากข้อมูลพื้นฐานรายบุคคลของนักเรียนในสถานศึกษา
3 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = แผนงานแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มีโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และภูมิสังคมของโรงเรียน /ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 2 จัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักการวางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนได้รู้จักศักยภาพของตนเอง
2 = มีการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพแวดล้อมของชุมชน/สังคม และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางด้านวัตถุ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม
3 = มีการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการวางแผนชีวิต ทั้งด้านการเรียนและการประกอบอาชีพ ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา และสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน/ชุมชน
4 = มีการจัดกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จนทำให้ผู้เรียนสามารถใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการเลือกประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อ เพื่อให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้าไปได้อย่างพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 3 มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีระบบดูแลช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถ แก้ปัญหา/พัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อม อย่างเป็นเหตุเป็นผล
2 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีส่วนร่วมในระบบดูแลช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีผู้รับผิดชอบดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 อย่างต่อเนื่อง จริงจัง และพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
4 = ผลจากการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ทำให้ผู้เรียนสามารถใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา/พัฒนาตนเองได้
ตัวชี้วัดที่ 4 ติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล การจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ที่หลากหลาย และสอดคล้อง กับสถาพที่เป็นจริงในสถานศึกษา และสภาพแวดล้อม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการติดตามผลการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน อย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 5 นำผลการติดตามมาใช้พัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันเพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมแนะแนว
และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ให้ดำเนินการได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมแนะแนว และระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 2 กิจกรรมนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 6 มีแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีแผนงาน/โครงการ และผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ที่สนับสนุนการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
2 = บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนให้อยู่อย่างพอเพียง ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = นักเรียน หรือผู้แทนนักเรียน มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน ให้อยู่อย่างพอเพียง ตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = กิจกรรมในแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนฯ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 มีกิจกรรมที่หลากหลาย และสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 7 จัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ในสถานศึกษา และมีครูผู้รับผิดชอบดำเนินการที่เหมาะสม
2 = กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 มีความเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน
3 = กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 มีความหลากหลาย และสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษา
4 = กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาดหรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษา และชุมชน/สังคม
ตัวชี้วัดที่ 8 ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดตั้ง ชุมนุม/ชมรม เพื่อส่งเสริมกิจกรรมของนักเรียน ในสถานศึกษา
2 = ชุมนุม/ชมรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 เกิดจาก ความสนใจ และสมัครใจ ของนักเรียน
3 = ชุมนุม/ชมรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 มีกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม/บริบทของสถานศึกษา
4 = กิจกรรมของ ชุมนุม/ชมรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ขยายผลสู่ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 9 มีการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรม/หลักคำสอนทางศาสนา ในการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีไทย / ประเพณีท้องถิ่น
2 = ชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 มีผู้รับผิดชอบดำเนินการ และมีนักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม อย่างสม่ำเสมอ
3 = ชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้/ปราชญ์ชาวบ้าน/ บุคลากร/ทรัพยากรในชุมชน /พื้นที่ใกล้เคียง
4 = ชุมนุม / ชมรม / กิจกรรมเรียนรู้ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ส่งผลให้ผู้เรียน เห็นคุณค่า ภูมิใจ และร่วมเชิดชู
ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีไทย / ประเพณีท้องถิ่น
ตัวชี้วัดที่ 10 ติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียน
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผล การจัดกิจกรรมนักเรียน ที่หลากหลายและสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงในสถานศึกษา และสภาพแวดล้อม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ2 และมีการดำเนินการติดตามผลการจัดกิจกรรมนักเรียนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 11 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกันเพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ของสถานศึกษา
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียนให้ดำเนินการได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมนักเรียน ตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 12 มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสา และมีส่วนร่วมใน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
2 = บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ และมีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตาม แผนงาน/โครงการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และกิจกรรมมีความหลากหลายและสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของสถานศึกษา
4 = มีกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสาตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ครอบคลุมทุกกิจกรรม และทุกระดับชั้นที่เปิดสอน
นิยามศัพท์ จิตอาสา : การที่ผู้เรียน ช่วยเหลืองานผู้อื่นโดยที่ไม่ต้องร้องขอและกระทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
จิตสาธารณะ : การที่ผู้เรียน ช่วยเหลืองานส่วนรวม งานสาธารณะประโยชน์ด้วยความเต็มใจโดยไม่หวังผลตอบแทน
การบริการสังคม : การที่นักเรียนดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสังคม/เศรษฐกิจ/วัฒนธรรม/สิ่งแวดล้อม แก่ชุมชน/สังคมส่วนรวม
ตัวชี้วัดที่ 13 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจ หรือ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือ วัฒนธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสถานศึกษา/ชุมชน ด้านเศรษฐกิจหรือสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือวัฒนธรรม
2 = กิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 1 เกิดจากความสนใจของผู้เรียน และ สอดคล้องกับความจำเป็น และความต้องการ ของสถานศึกษา/ชุมชน
3 = กิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 2 ปรากฏผลการแก้ปัญหา / ปรับปรุง / พัฒนา สถานศึกษา/ชุมชน อย่างชัดเจน
4 = ผลจากกิจกรรมตามเกณฑ์คุณภาพ 3 สามารถเป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษา หรือ องค์กรอื่น ๆ ในการพัฒนากิจกรรมจิตอาสา และ/หรือ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 14 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการติดตามผลการจัดกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียนเพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผลการจัดกิจกรรมกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียนเพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ที่หลากหลาย และสอดคล้อง กับสถาพที่เป็นจริงในสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการดำเนินการติดตามผลการจัดกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ อย่างจริงจัง และสม่ำเสมอ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 15 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุและปัจจัย ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้ดำเนินการได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณาตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา กิจกรรมจิตอาสาของผู้เรียน เพื่อบริการสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3




รายการประเมินด้านที่ 4
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 1 มีแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 2 ประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
ตัวชี้วัดที่ 3 ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
ตัวชี้วัดที่ 4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามและขยายผล
ตัวชี้วัดที่ 5 ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 6 นำผลการติดตามมาปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 7 ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวอย่าง ร่องรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. แผนพัฒนาบุคลากร
2. แผนปฏิบัติการประจำปี
3. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
4. หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการฯ
5. บันทึกการประชุม
6. แบบประเมินตนเองของครู
7. รายงานการปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรม
8. แผนการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
9. รายงานผลการประชุม อบรม และสัมมนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
10. ภาพถ่ายกิจกรรม / รางวัล / เกียรติบัตร ฯลฯ

เกณฑ์การให้คะแนน
4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 1 มีแผนงาน/โครงการ พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำ แผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากร ของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และชี้แจงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้การดำเนินการอย่างทั่วถึง
4 = แผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 ครอบคลุมทุกกลุ่มงานและทุกระดับชั้น
นิยามศัพท์ บุคลากรของสถานศึกษา : ผู้บริหาร ครู ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว
ตัวชี้วัดที่ 2 ประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = บุคลากรของสถานศึกษา เข้าร่วม การประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
2 = สถานศึกษาจัดการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ ให้แก่บุคลากรของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่
3 = บุคลากรของสถานศึกษานำผล/ความรู้/ประสบการณ์ ที่ได้จาก การประชุม/อบรม/สัมมนา/การศึกษาดูงาน ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และ/หรือ เกณฑ์คุณภาพ 2 มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 = บุคลากรของสถานศึกษาส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และ/หรือ เกณฑ์คุณภาพ 2 และ/หรือ เกณฑ์คุณภาพ 3
นิยามศัพท์ การมีส่วนร่วม : ความร่วมมือของบุคลากรในการวางแผนการดำเนินงาน การระดมทรัพยากร การลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการประเมินผล และการรายงานผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัดที่ 3 ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = สถานศึกษา จัดหาสื่อ/ช่องทาง/วัสดุอุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่บุคลากร
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และบุคลากรมีการแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านวิธีการ/ช่องทาง ต่างๆ
3 = มีการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีร่องรอยของการแสวงหาองค์ความรู้ของบุคลากรและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ปรากฏชัดเจน
4 = มีการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และบุคลากรมีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
นิยามศัพท์ การดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม : การใช้ชีวิตอย่างสงบสุขในครัวเรือน อย่างเหมาะสมตามฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีการละลดเลิกอบายมุข ดำรงตนเป็นพลเมืองดีของสังคม มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม ประเพณี
ตัวชี้วัดที่ 4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่บุคลากรของสถานศึกษาในด้านวัตถุ / ด้านสังคม / ด้านสิ่งแวดล้อม / ด้านวัฒนธรรม
2 = มีการระดมทรัพยากรทั้งในและนอก สถานศึกษา เพื่อดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1
3 = ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และเกณฑ์คุณภาพ 2 อย่างสม่ำเสมอ
4 = ปฏิบัติครบทุกข้อ และบุคลากรมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น จากผลการจัดกิจกรรม ตลอดจนมีการขยายผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่บุคคล ในครอบครัวและชุมชน
นิยามศัพท์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต : การเปลี่ยนแปลงสภาพการดำรงชีวิต ไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การประหยัด การออม การลดละเลิก อบายมุข การใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท ฯลฯ
องค์ประกอบที่ 2 การติดตามและขยายผล
ตัวชี้วัดที่ 5 ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการติดตามผลดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีเครื่องมือ/วิธีการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากรฯ
3 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากร ฯ
4 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 3 และมีการรายงานผลการติดตามผลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 6 นำผลการติดตามมา ปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการกิจกรรมพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีการพิจารณาร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อการปรับปรุง/พัฒนา การดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการพิจารณาหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา ให้ดำเนินโครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร ฯ ได้ผลดียิ่งขึ้น
3 = พิจารณาดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา โครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร ฯ ตามแนวทาง/ข้อเสนอ ที่ได้จากการพิจารณา ตามเกณฑ์คุณภาพ 2
4 = รายงาน/แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ ถึงผลการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา โครงการ/กิจกรรม พัฒนาบุคลากร ฯ ตามที่ได้ดำเนินการ ตามเกณฑ์คุณภาพ 3
ตัวชี้วัดที่ 7 ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีเผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรภายในสถานศึกษา
2 = มีการปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และเผยแพร่ ขยายผล สู่ภายนอกสถานศึกษา ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
3 = มีการปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และ 2 โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรของสถานศึกษาและชุมชน
4 = ปฏิบัติครบทุกข้อ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
นิยามศัพท์ หลากหลาย หมายความถึง มีช่องทางในการพัฒนาและเผยแพร่ปรัชญาฯได้หลายวิธี เช่น จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว จัดทำ website เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

รายการประเมินด้านที่ 5
5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ (4 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด) ประกอบด้วย
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 1 คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 2 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 4 บุคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 5 บุคลากรอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณะประโยชน์
ตัวชี้วัดที่ 6 บุคลากรรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ
ตัวชี้วัดที่ 7 บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม จากกระแสโลกาภิวัตน์
องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดที่ 10 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม
ตัวชี้วัดที่ 11 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดที่ 12 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างร่องรอย/เอกสาร ประกอบการประเมิน
1. สภาพภูมิทัศน์สถานศึกษา (ภายใน - ภายนอก)
2. บรรยากาศการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา
3. รายงานผลการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
4. หลักฐานแสดงความเป็น "บุคคลตัวอย่าง / ต้นแบบ" เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เกณฑ์การให้คะแนน
5. ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ
องค์ประกอบที่ 1 สถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 1 คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปันสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
3 = สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
4
= สถานศึกษาสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรและผู้เรียน มีการแบ่งปัน มีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพื้นฟูวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 2 คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม
3 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับตนเอง และสถานศึกษา
4 = ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน และสอดคล้องกับภูมิสังคม รวมถึงมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้กับตนเอง และสถานศึกษา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต
องค์ประกอบที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 3 บุคลากรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = บุคลากรของสถานศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2 = บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3 = บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และบุคลากรของสถานศึกษาส่วนหนึ่งมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4 = บุคลากรของสถานศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของปรัชญาของเศรษฐกิจ และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัดที่ 4 บุคลากรจัดการทรัพยากร และดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผน และมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผนและมีวินัยในการใช้จ่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ และ/หรือ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการวางแผนการใช้จ่าย ใช้จ่ายทรัพย์อย่างพอประมาณ ไม่เกินตัว และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพ และ/หรือ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมทั้ง มีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างคุ้มค่า
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
นิยามศัพท์ สาธารณะสมบัติ หมายถึง สนามโรงเรียน น้ำ ไฟฟ้า ต้นไม้ คูคลอง ถนน ฯลฯ
มีวินัยในการใช้จ่าย หมายถึง ใช้จ่ายอย่างพอประมาณ ไม่เกินตัว สมฐานะ มีเหตุผลในการใช้จ่าย
ตัวชี้วัดที่ 5 บุคลากรอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตนเพื่อส่วนรวมและสาธารณะประโยชน์
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง และดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง มีการดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน และมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน / ช่วยเหลือผู้อื่น /บริจาค / ทำบุญ อย่างสม่ำเสมอ
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในตนเอง มีการดำเนินชีวิตที่ไม่ทำให้ ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน และมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน /ช่วยเหลือผู้อื่น /บริจาค / ทำบุญ และมีส่วนร่วมในการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม อย่างสม่ำเสมอ
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
ตัวชี้วัดที่ 6 บุคลากรรู้จักใช้และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างสมดุล และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ รวมถึงรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ รวมถึงรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า ตลอดจนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและชุมชน
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
ตัวชี้วัดที่ 7 บุคลากรดำเนินชีวิตอย่างมีฐานรากทางวัฒนธรรม และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
จากกระแสโลกาภิวัฒน์
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษาการแต่งกาย และประเพณี ศาสนาและประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น/ชาติพันธุ์
2 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีส่วนร่วมในการสืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
3 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สถานศึกษา/ชุมชน/สังคม ดำเนินการ สืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
4 = มีบุคลากรที่เป็นแบบอย่าง ตามเกณฑ์คุณภาพ 3 จำนวนมากกว่าร้อยละ 25
องค์ประกอบที่ 4 ผู้เรียน
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษาเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 25
2 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ 25 - 50
3 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ 51 - 74
4 = ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา เฉลี่ยร้อยละ75 ขึ้นไป
นิยามศัพท์ ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ฯ หมายความถึง ผ่านเกณฑ์การวัดผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา ที่จัดสอนในช่วงปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา
เฉลี่ยร้อยละ xx หมายความถึง จำนวนผู้เรียนที่มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ตามข้างต้น มีจำนวนโดยเฉลี่ย ร้อยละ xx ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา
ตัวชี้วัดที่ 9 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่าย
2 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการออมทรัพย์ตามศักยภาพหรือใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
3 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการดูแลการใช้ประโยชน์จากสาธารณะสมบัติอย่างประหยัดและคุ้มค่า
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อยห้องละ 1 คน
ตัวชี้วัดที่ 10 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยไม่เบียดเบียน / สร้างความเดือดร้อนให้ ตัวเอง/ผู้อื่น
2 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่น
3 = มีผู้เรียนที่เป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อย ห้องละ 1 คน
ตัวชี้วัดที่ 11 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า
3 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/ ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษา และชุมชน
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อยห้องละ 1 คน
ตัวชี้วัดที่ 12 ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม
0 = ไม่มี/ไม่ปฏิบัติ
1 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าและภูมิใจในวัฒนธรรมไทย ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย ประเพณี ศาสนา และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น/ชาติพันธุ์
2 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 1 และมีส่วนร่วมในการสืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทยฯ และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
3 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 2 และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สถานศึกษา/ชุมชน/สังคม ดำเนินการ สืบทอด/สานต่อ/รักษา วัฒนธรรมไทย และมรดกของชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ ฯ
4 = มีผู้เรียนเป็นแบบอย่างตามเกณฑ์คุณภาพ 3 อย่างน้อยห้องละ 1 คน

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ยุทธศาสตร์องค์กร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่มีศักยภาพในการจัดประสานการปฏิบัติราชการที่มีธรรมาภิบาลเติมเต็มปัญญาแก่สังคม ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
พันธกิจ
1. มุ่งมั่น สร้างสรรค์ พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและสร้าง
ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
2. เร่งรัด พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ
3. เร่งรัด ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้ทุกส่วนร่วมมือหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตาม
อัธยาศัย
4. เร่งรัด พัฒนาข้าราชการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ
องค์กร
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการบริหาร การบริการและการเรียนรู้
3. สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. เสริมสร้างความเข้มแข็ง ระบบบริหารงานบุคคล พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าของข้าราชการ
ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา

ค่านิยามร่วม (Shared Values) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
TEAM WINS มีความหมายว่า “ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีการทำงานเป็นทีม มุ่งไปสู่ชัยชนะ ตามพันธกิจ และเป้าประสงค์ขององค์กร” ประกอบด้วย 8 คำ ดังนี้
T = Teamwork การทำงานเป็นทีม
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทำงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ
M = Moral and Integrity ศีลธรรมและความซื่อสัตย์
W = Willful ความมุ่งมั่นตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
S = Service Mind
จิตมุ่งบริการ TEAM WINS เป็นข้อกำหนดร่วมกันของบุฃคากรในสำนัก-งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นเครื่องกระตุ้น และโน้มน้าวให้บุคลากรเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน และมีพฤติกรรมในทางเดียวกัน เป็นสิ่งที่สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคาดหวังให้บุคลากรทุกคนในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการคิดและปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน เพื่อผลสำเร็จตามพันธกิจ นำมาซึ่งทิศทางที่ชัดเจนเกิดความร่วมมือและ
เกิดพลังของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
TEAM WINS เป็นลักษณะของค่านิยมร่วม ง่ายต่อการเข้าใจ จดจำ เร้าใจให้ปฏิบัติตามโดยมาจาก
ความคิด ของคณะทำงานและบุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่มีความทันสมัย สอดคล้อง
กับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการทุกคนเกิดความมุ่งมั่นในการ ที่จะสร้างความสำเร็จ และชื่อเสียงเกียรติคุณให้สำนัก-งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เสริมสร้างพลังสามัคคีในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
TEAM WINS เป็นการโน้มน้าวบุคลากรให้ปฏิบัติเป็นการหล่อหลอมจิตใจบุคลากรสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรสำนักงานปลัด
กระทรวงศึกษาธิการ ปลูกฝังให้บุคลากรสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีจิตสำนึก ค่านิยม ความ
เชื่อที่ถูกต้องร่วมกัน ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ มีความสุขในการทำงาน บุคลากรสำนักงานปลัด
กระทรวงศึกษาธิการมีวิถีชีวิตในการทำงานไปในทิศทางที่จะทำให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บรรลุ
วิสัยทัศน์และประสบความสำเร็จได้

ข้อสอบ-ข่าวสารพลวัต

ข้อสอบ-ข่าวสารพลวัต

1. มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2009 คือใคร
ก. นางสาวพงศ์ชนก กันกลับ
ข. นางสาวพงศ์ชนก กลับกัน
ค. นางสาวชนก กันกลับ
ง. นางสาวชนก กลับกัน
ตอบ ก
2. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข คือใคร
ก. นพ.นิวัตชัย สุจริตจันทร์
ข. นพ.บรรลุ ศิริพานิช
ค. นพ.วิชัย โชควิวัฒน์
ง. พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ
ตอบ ข
3. การทดสอบอาชีวศึกษาระดับชาติ ตรงกับข้อใด
ก. R-NET ข. V-NET
ค. O-NET ง. RV-NET
ตอบ ข
4. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการจัดการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ก. ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามวิสัยทัศน์ของหลักสูตร
ข. เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม
ค. มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง
ง. เน้นการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและอ่านออกเขียนได้
ตอบ ข
5. “การบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพและไม่เกิดความเสี่ยงภายหลัง” ต้องมีองค์ประกอบสำคัญข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. มีระบบตรวจสอบภายใน
ข. มีการกำกับและควบคุมภายใน
ค. การจัดการทำต้นทุนผลผลิต
ง. การบริหารความเสี่ยง
ตอบ ค
6. กระบวนการบริหารความเสี่ยงมี 5 ขั้นตอน ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ระบุความเสี่ยง
ข. ประเมินความเสี่ยง
ค. การจัดการความเสี่ยง
ง. วางแผนความเสี่ยง
ตอบ ง
7. “การจัดทำระบบควบคุมภายใน”เกี่ยวข้องกับขั้นตอนกระบวนการบริหารความเสี่ยงข้อใด
ก. ระบุความเสี่ยง
ข. ประเมินความเสี่ยง
ค. การจัดการความเสี่ยง
ง. วางแผนความเสี่ยง
ตอบ ค
8. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน ตรงกับข้อใด
ก. นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ
ข. นายสุธรรม นทีทอง
ค. นางสาวลีลาวดี วัชโรบล
ง. นายสมเชาว์ เกษประทุม
ตอบ ก
9. TEAM WINS ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
ก. T คือ Tearmwork
ข. E คือ Equality of work
ค. M คือ Man Power
ง. S คือ Service Mind
ตอบ ค
10. Knowledge base Economy เกี่ยวข้องกับเรื่องใด
ก. สังคมเศรษฐกิจ
ข. สังคมแห่งการเรียนรู้
ค. สังคมเศรษฐกิจแห่งการเรียนรู้
ง. สังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเรียนรู้
ตอบ ค

ข้อสอบกฎหมาย

ข้อสอบกฎหมาย
ที่อาจถูกหรือผิด 50 : 50 ต้องระวัง จำให้ดี
1.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองในลักษณะใด
ก.Centralization
ข.Decentralization
ค.Deconcentralization
ง.ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข
2. ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.สำนักนายกรัฐมนตรี ข.กระทรวง
ค.ทบวง ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก
3. ในกรณีที่มีการยุบอำเภอ หรือเปลี่ยนแปลงอำเภอต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ข
4. การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ผู้รับมอบจะมอบให้คนอื่นต่อไม่ได้ยกเว้นมอบ
ก. รัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง
ค. อธิบดี ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ง
5. ก.พ.ร. ย่อมาจาก
ก. กรรมการพัฒนาราชการ
ข. คณะกรรมการพัฒนาราชการ
ค. กรรมการพัฒนาระบบราชการ
ง. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ตอบ ง
6. ปัจจุบันประเทศไทยมีกี่กระทรวง
ก. 15 กระทรวง ข.16 กระทรวง
ค. 19 กระทรวง ง. 20 กระทรวง
ตอบ ง
7. ส่วนราชการใด ไม่อยู่ในบังคับบัญชานายกรัฐมนตรี
ก. สำนักราชวัง
ข.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค. ราชบัณฑิตยสถาน
ง. สำนักงานอัยการสูงสุด
ตอบ ง
8. การศึกษาในข้อใด ไม่ใช่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ก่อนประถมศึกษา
ข.มัธยมศึกษา
ค.ปวส.
ง. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกข้อ
ตอบ ค
9. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของคำว่าผู้สอน
ก. ครู ข.คณาจารย์
ค.อาจารย์ ง.เป็นความหมายทุกข้อ
ตอบ ค
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับของผู้ปกครอง
ก.เป็นสิทธิ์ ข.เป็นหน้าที่
ค.เป็นเสรีภาพ ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข
11. ข้อใดเป็นศูนย์การเรียน
ก.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ข.โรงเรียนเอกชน
ค.สถานที่เรียนที่เอกชนเป็นผู้จัด
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ค
12. คณะกรรมการเทียบโอนการศึกษามีกี่คน
ก.ไม่เกิน 5 คน ข.5 คน
ค.3 คน ง.ไม่เกิน 3 คน
ตอบ ก
13. การแบ่งส่วนราชการใน สพฐ. ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ค
14. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ง
15. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัด สพท. ต้องตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.กฎกระทรวง
ข.ประกาศกระทรวง
ค. ประกาศ สพท.
ง.ระเบียบ สพท.
ตอบ ง
16. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.รมต.ศธ
ค.รมต.ศธ.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ง
17. ในกรณี กพฐ. ว่างลงก่อนฃรบกำหนด ต้องดำเนินการสรรหาภายในระยะเวลาใด
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ค
18. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานว่างลงก่อนครบกำหนดต้องดำเนินการสรรหาภายใน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ง
19. บุคคลในข้อใด ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา
ก.ครู
ข.คณาจารย์
ค.ผู้บริหารสถานศึกษา
ง.ผู้บริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ข
20. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คือ
ก. รมต.ศธ.
ข. ปลัด.ศธ.
ค.รมต.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ตอบ ค
21. ผู้มีอำนาจพิจารณาโทษทางวินัยร้ายแรงของข้าราชการครูในสถานศึกษาคือใคร
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
22. ผู้พิจารณาโทษผู้ที่กระทำผิดร้ายแรงสำหรับข้าราชการครูสังกัด สพฐ. ที่ไม่มีวิทยฐานะคือ
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
23. การฟ้องคดีทางปกครองต้องยื่นฟ้องภายในกี่วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ก.ภายใน 60 วัน ข.ภายใน 90 วัน
ค.ภายใน 6 เดือน ง.ภายใน 1 ปี
24.ก่อนนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกให้สั่งสรุปข้อเท็จจริงของศาลตุลาการเจ้าของสำนวนให้คู่กรณีทราบล่วงหน้ากี่วัน
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
25.คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองต้องบังคับตามข้อใด
ก.ตามกฎหมาย ข.ตามความเห็นข้างมากขององค์คณะพิจารณา
ค.ตามเสียงข้างมากขององค์คณะพิจารณา ง.ถูกทุกข้อ ตอบ ข
26. กรณีเจ้าหน้าที่รัฐ เห็นว่าถ้าเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการใดกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านได้โดยให้เวลาเสนอคำคัดค้านตามข้อใด
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ตอบ ค
27. การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกินกี่ปี
ก.2 ปี ข. 3 ปี
ค.4 ปี ง. 5 ปี
ตอบ ก
28. ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับมีความจำ-เป็นอาจรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพไว้ปกครองดูแลชั่วคราวได้ในระยะเวลาใด
ก.ไม่เกิน 15 วัน ข.ไม่เกิน 1 เดือน
ค.ไม่เกิน 3 เดือน ง.ไม่เกิน 6 เดือน
ตอบ ค
29. ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กคือใคร
ก.ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง.ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ก
30. เมื่อส่วนราชการได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนต้องตอบคำถามภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 10 วัน
ค. 15 วัน ง.20 วัน
ตอบ ค
31.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อยต้องมีเกณฑ์ตามข้อใด
ก.การลดขั้นตอนการปฏฺบัติงาน ข.การปรับปรุงกิจการของหน่วยงาน
ค.การบริหารราชการอย่างมีคุณภาพ ง.การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐ
ตอบ ก
32. พนักงานราชการมีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 6 ประเภท
33. คุณสมบัติ/ข้อห้ามของพนักงานราชการมีกี่ข้อ
ก.3 ข้อ ข.5 ข้อ
ค.7 ข้อ ง.9 ข้อ
ตอบ ง
34. พนักงานราชการที่ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ส่วนราชการแจ้งภายในกี่วัน
ก.3 วัน ข.5 วัน
ค.7 วัน ง.9 วัน
ตอบ ค
35. ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการจ้างพนักงานราชการต่อคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการภายในเดือนใด
ก.กันยายน ข.ตุลาคม
ค.พฤศจิกายน ง.ธันวาคม
ตอบ ง
36. ผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ข้าราชการครู สังกัดสพฐ. ลาอุปสมบทคือใคร
ก.ผอ.รร. ข.ผอ.สพท.
ค.เลขา สพฐ . ง.ปลัดกระทรวง
ตอบ ง ถ้าพิจารณาอนุญาต ผอ.สพท.
37.นายติวสอบลากิจส่วนตัว ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552แต่มีราชการเร่งด่วน ผอ.รร.จึงเรียกตัวมาปฏฺบัติราชการ วันที่12 พฤศจิกายน 2552 โดยนายติวสอบออกเดินทางกลับ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ดังนั้นวันปฏฺบัติหน้าที่ราชการของนายติวสอบเริ่มวันที่ใด
ก.10 พฤศจิกายน 2552
ข.11 พฤศจิกายน 2552
ค.12 พฤศจิกายน 2552
ง.อยู่ในดุลยพินิจ ผอ.รร.
ตอบ ข เริ่ม= ออกเดินทาง , หมด = ก่อนออกเดินทาง
38. การลาประเภทใดต่อไปนี้ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ก.ลาทางโทรศัพท์
ข.มายื่นใบลาไม่ได้
ค.กลับมาแล้วค่อยยื่นวันแรก
ง.ฝากข้อความเพื่อนร่วมงาน
ตอบ ง
39. หน่วยงานใดกำหนดเวลาทำงานของข้าราชการทั่วไป
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.กระทรวง
ค.สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. กรม
ตอบ ค
40. ผู้กำกับห้องสอบประมาทเลินเล่ออย่างแรงจนเป็นเหตุให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการประ-พฤติชั่วอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยอย่างไร
ก.ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน
ข.ลดการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเวลา 1 เดือน
ค.ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
ง.ไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ
ตอบ ง
ที่อาจถูกหรือผิด 50 : 50 ต้องระวัง จำให้ดี
1.การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการปกครองในลักษณะใด
ก.Centralization
ข.Decentralization
ค.Deconcentralization
ง.ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ข
2. ข้อใดไม่เป็นนิติบุคคล
ก.สำนักนายกรัฐมนตรี ข.กระทรวง
ค.ทบวง ง.ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก
3. ในกรณีที่มีการยุบอำเภอ หรือเปลี่ยนแปลงอำเภอต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ข
4. การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน ผู้รับมอบจะมอบให้คนอื่นต่อไม่ได้ยกเว้นมอบ
ก. รัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวง
ค. อธิบดี ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ง
5. ก.พ.ร. ย่อมาจาก
ก. กรรมการพัฒนาราชการ
ข. คณะกรรมการพัฒนาราชการ
ค. กรรมการพัฒนาระบบราชการ
ง. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ตอบ ง
6. ปัจจุบันประเทศไทยมีกี่กระทรวง
ก. 15 กระทรวง ข.16 กระทรวง
ค. 19 กระทรวง ง. 20 กระทรวง
ตอบ ง
7. ส่วนราชการใด ไม่อยู่ในบังคับบัญชานายกรัฐมนตรี
ก. สำนักราชวัง
ข.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค. ราชบัณฑิตยสถาน
ง. สำนักงานอัยการสูงสุด
ตอบ ง
8. การศึกษาในข้อใด ไม่ใช่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ก่อนประถมศึกษา
ข.มัธยมศึกษา
ค.ปวส.
ง. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกข้อ
ตอบ ค
9. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของคำว่าผู้สอน
ก. ครู ข.คณาจารย์
ค.อาจารย์ ง.เป็นความหมายทุกข้อ
ตอบ ค
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับของผู้ปกครอง
ก.เป็นสิทธิ์ ข.เป็นหน้าที่
ค.เป็นเสรีภาพ ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข
11. ข้อใดเป็นศูนย์การเรียน
ก.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ข.โรงเรียนเอกชน
ค.สถานที่เรียนที่เอกชนเป็นผู้จัด
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ค
12. คณะกรรมการเทียบโอนการศึกษามีกี่คน
ก.ไม่เกิน 5 คน ข.5 คน
ค.3 คน ง.ไม่เกิน 3 คน
ตอบ ก
13. การแบ่งส่วนราชการใน สพฐ. ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ค
14. การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.พระราชบัญญัติ
ข.พระราชกฤษฎีกา
ค.กฎกระทรวง
ง.ประกาศกระทรวง
ตอบ ง
15. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัด สพท. ต้องตราเป็นกฎหมายในข้อใด
ก.กฎกระทรวง
ข.ประกาศกระทรวง
ค. ประกาศ สพท.
ง.ระเบียบ สพท.
ตอบ ง
16. ใครเป็นประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.รมต.ศธ
ค.รมต.ศธ.หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ง
17. ในกรณี กพฐ. ว่างลงก่อนฃรบกำหนด ต้องดำเนินการสรรหาภายในระยะเวลาใด
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ค
18. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานว่างลงก่อนครบกำหนดต้องดำเนินการสรรหาภายใน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ง
19. บุคคลในข้อใด ไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา
ก.ครู
ข.คณาจารย์
ค.ผู้บริหารสถานศึกษา
ง.ผู้บริหารการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ข
20. ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ คือ
ก. รมต.ศธ.
ข. ปลัด.ศธ.
ค.รมต.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ง.ครม.แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคุรุสภา
ตอบ ค
21. ผู้มีอำนาจพิจารณาโทษทางวินัยร้ายแรงของข้าราชการครูในสถานศึกษาคือใคร
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
22. ผู้พิจารณาโทษผู้ที่กระทำผิดร้ายแรงสำหรับข้าราชการครูสังกัด สพฐ. ที่ไม่มีวิทยฐานะคือ
ก. ผอ.รร. ข.อ.ก.ค.ศ.
ค. ก.ค.ศ. ง.ผอ.สพท.
ตอบ ข
23. การฟ้องคดีทางปกครองต้องยื่นฟ้องภายในกี่วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี
ก.ภายใน 60 วัน ข.ภายใน 90 วัน
ค.ภายใน 6 เดือน ง.ภายใน 1 ปี
24.ก่อนนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกให้สั่งสรุปข้อเท็จจริงของศาลตุลาการเจ้าของสำนวนให้คู่กรณีทราบล่วงหน้ากี่วัน
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
25.คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครองต้องบังคับตามข้อใด
ก.ตามกฎหมาย ข.ตามความเห็นข้างมากขององค์คณะพิจารณา
ค.ตามเสียงข้างมากขององค์คณะพิจารณา ง.ถูกทุกข้อ ตอบ ข
26. กรณีเจ้าหน้าที่รัฐ เห็นว่าถ้าเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการใดกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านได้โดยให้เวลาเสนอคำคัดค้านตามข้อใด
ก.ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ข.ไม่น้อยกว่า 10 วัน
ค.ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ตอบ ค
27. การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกินกี่ปี
ก.2 ปี ข. 3 ปี
ค.4 ปี ง. 5 ปี
ตอบ ก
28. ผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับมีความจำ-เป็นอาจรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพไว้ปกครองดูแลชั่วคราวได้ในระยะเวลาใด
ก.ไม่เกิน 15 วัน ข.ไม่เกิน 1 เดือน
ค.ไม่เกิน 3 เดือน ง.ไม่เกิน 6 เดือน
ตอบ ค
29. ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กคือใคร
ก.ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ข.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค.ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ง.ปลัดกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ก
30. เมื่อส่วนราชการได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชนต้องตอบคำถามภายในกี่วัน
ก. 7 วัน ข. 10 วัน
ค. 15 วัน ง.20 วัน
ตอบ ค
31.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อยต้องมีเกณฑ์ตามข้อใด
ก.การลดขั้นตอนการปฏฺบัติงาน ข.การปรับปรุงกิจการของหน่วยงาน
ค.การบริหารราชการอย่างมีคุณภาพ ง.การบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐ
ตอบ ก
32. พนักงานราชการมีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 6 ประเภท
33. คุณสมบัติ/ข้อห้ามของพนักงานราชการมีกี่ข้อ
ก.3 ข้อ ข.5 ข้อ
ค.7 ข้อ ง.9 ข้อ
ตอบ ง
34. พนักงานราชการที่ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้ส่วนราชการแจ้งภายในกี่วัน
ก.3 วัน ข.5 วัน
ค.7 วัน ง.9 วัน
ตอบ ค
35. ให้ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการจ้างพนักงานราชการต่อคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการภายในเดือนใด
ก.กันยายน ข.ตุลาคม
ค.พฤศจิกายน ง.ธันวาคม
ตอบ ง
36. ผู้มีอำนาจในการอนุญาตให้ข้าราชการครู สังกัดสพฐ. ลาอุปสมบทคือใคร
ก.ผอ.รร. ข.ผอ.สพท.
ค.เลขา สพฐ . ง.ปลัดกระทรวง
ตอบ ง ถ้าพิจารณาอนุญาต ผอ.สพท.
37.นายติวสอบลากิจส่วนตัว ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2552แต่มีราชการเร่งด่วน ผอ.รร.จึงเรียกตัวมาปฏฺบัติราชการ วันที่12 พฤศจิกายน 2552 โดยนายติวสอบออกเดินทางกลับ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 ดังนั้นวันปฏฺบัติหน้าที่ราชการของนายติวสอบเริ่มวันที่ใด
ก.10 พฤศจิกายน 2552
ข.11 พฤศจิกายน 2552
ค.12 พฤศจิกายน 2552
ง.อยู่ในดุลยพินิจ ผอ.รร.
ตอบ ข เริ่ม= ออกเดินทาง , หมด = ก่อนออกเดินทาง
38. การลาประเภทใดต่อไปนี้ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ก.ลาทางโทรศัพท์
ข.มายื่นใบลาไม่ได้
ค.กลับมาแล้วค่อยยื่นวันแรก
ง.ฝากข้อความเพื่อนร่วมงาน
ตอบ ง
39. หน่วยงานใดกำหนดเวลาทำงานของข้าราชการทั่วไป
ก.คณะรัฐมนตรี
ข.กระทรวง
ค.สำนักนายกรัฐมนตรี
ง. กรม
ตอบ ค
40. ผู้กำกับห้องสอบประมาทเลินเล่ออย่างแรงจนเป็นเหตุให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ถือว่าเป็นการประ-พฤติชั่วอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยอย่างไร
ก.ตัดเงินเดือน 5 % เป็นเวลา 1 เดือน
ข.ลดการเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเวลา 1 เดือน
ค.ลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
ง.ไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ
ตอบ ง