วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย-ชุด 3

151. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่อะไร
ตอบ พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
152. การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาคำนึงถึงเรื่องใด
ตอบ ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร
153. สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญามีคณะกรรมการสถานศึกษาหรือไม่
ตอบ มี เพราะเขาให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษา
154. โดยหลักการแล้วหน้าที่คณะกรรมการสถานศึกษาคืออะไร
ตอบ กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
155. จำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา เลือกประธานกรรมการสถานศึกษา และวาระกำหนดอย่างไร เป็นไปตามกฎหมายใด
ตอบ เป็นไปตามกฎกระทรวง
156. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับหรือไม่
ตอบ ได้ โดยกระทรวงเป็นผู้พิจารณา โดยคำนึงถึงความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น
157. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาเอกชนที่เป็นนิติบุคคล ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
ตอบ ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ
158. สถานศึกษาเอกชนสามารถจัดการศึกษาได้ทุกระดับ หรือทุกประเภทใช่หรือไม่
ตอบ ใช่
159. สถานศึกษาเอกชนมีสิทธิรับการสนับสนุนจากรัฐด้านใดบ้าง
ตอบ เงินอุดหนุน การลดหย่อนภาษี ด้านวิชาการให้สถานศึกษามีมาตรฐาน สามารถพึ่งตนเองได้
160. ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมายใด
ตอบ กฎกระทรวง
161. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยอะไร
ตอบ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก ปัจจุบันเรียกว่าการประเมินคุณภาพภายนอก
162. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะองค์กรอย่างไร
ตอบ เป็นองค์กรมหาชน
163. การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดย สมศ. ประเมินบ่อยแค่ไหน
ตอบ อย่างน้อย ๑ ครั้งในทุก ๕ ปี
164. องค์กรวิชาชีพครู คือองค์กรใด
ตอบ คุรุสภา
165. องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือองค์กรใด เกิดจากมาตราใดใน พรบ การศึกษา 2542
ตอบ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 54 ของ พรบ. การศึกษา 2542
166. องค์กรวิชาชีพครู คุรุสภา เรื่องการมีใบประกอบวิชาชีพด้วย ครอบคลุมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือไม่
ตอบ ไม่ ไม่ครอบคลุม อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา บุคลากรที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
167. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่เท่าไร
ตอบ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕ ใช้ได้เริ่มในวันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ 20 ธันวาคม 2545
168. กระทรวงศึกษา มีหน้าที่อะไร
ตอบ ตาม พรบ การศึกษาแห่งชาติ ฉ ๒ (๒๕๔๕) . กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษารวมทั้งการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง
169. การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการจำนวนกี่องค์กร
ตอบ 4 องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
170. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 คืออะไร
ตอบ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการ บริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติสนับสนุนทรัพยากรติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วยจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
171. พรบ การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 สภาการศึกษามีหน้าที่อะไรบ้าง
(๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
(๒) พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๑)
(๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(๔) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (๑)
(๕)ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
172. การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ของสภาการศึกษา เสนอต่อใคร
ตอบ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
173. มาตรา ๓๗ ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (๒๕๔๕) ให้ไว้ว่าการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงด้านใดบ้าง
ตอบ คำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วยเว้นแต่การจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
174. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทหน้าที่อย่างไร
ตอบ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่การกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
175. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
ตอบ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
176. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ผอ. เขตพื้นที่การศึกษา
177. คณะกรรมการสถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาและสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษาประกอบด้วย
ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ
(สถานศึกษาอาชีวะ หรือต่ำกว่าอุดม อาจมีเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง)
178. ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
179. กรณีสถานศึกษาไม่ผ่านการประเมิน จะเป็นอย่างไร
ตอบ ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
180. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖ บังคับใช้ 7 กรกฎาคม 2546
181. พอมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ๒๕๔๖ เลยต้องยกเลิกกฎหมายใด
- พรบ ระเบียบปฏิบัติราชการทบวงมหาวิทยาลัย (เนื่องจากไม่มีทบวงมหาวิทยาลัย)
- พระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา ๒๕๒๓ และ ๒๕๓๕ (ฉ ๒)
- พระราชบัญญัติคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๓๕ (เปลี่ยนเป็นสภาการศึกษา)
182. พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๖ ให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาอย่างไร
๑. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง (ในกระทรวง)
๒. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
๓. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
183. การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือนข้าราชการกระทรวงศึกษาฯ คำนึงถึงข้อใด
ตอบ คุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
184. ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวง จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางอย่างไร
ตอบ สำนักงานปลัดกระทรวง ๑. ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ศธ
185. หัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหัวหน้าส่วนราชการใดบ้าง
๑. สำนักงานรัฐมนตรี
๒. สำนักงานปลัดกระทรวง
๓. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
๔. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๖. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
186. ส่วนราชการในกระทรวงที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นกรม และไม่เป็นนิติบุคคล
ตอบ สำนักงานรัฐมนตรี ส่วน ๒-๖ เป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นกรม
187. การแบ่งส่วนราชการในกระทรวงให้ออกเป็นกฎหมายใด
ตอบ กฎกระทรวง
188. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทหน้าที่อย่างไร
ตอบ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอดคล้องนโยบายรัฐที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรืออนุมัติ
189. สำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตอบดำเนินการเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง จัดทำงบประมาณ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
190. สภาการศึกษา มีหน้าที่อย่างไร
๑. เสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
๒. เสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
๓. เสนอนโยบายและแผนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
๔. ประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาชาติ
191. การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษา ของสภาการศึกษาให้เสนอต่อใคร
ตอบ ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
192. คณะกรรมการสภาการศึกษาประกอบด้วยใครบ้าง
ตอบ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทน
องค์กรวิชาชีพ พระภิกษุซึ่งเป็นตัวแทนคณะสงฆ์ ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย
ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
193. จำนวนคณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดไว้ในกฎหมายใด
ตอบ กฎกระทรวง
194. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่อย่างไร
ตอบ พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอแนะในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงาน
195. หน่วยงานใดรับผิดชอบงานเลขานุการของสภาการศึกษา
ตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
196. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสภาการศึกษา
ตอบ เลขาธิการสภาการศึกษา
197. หน่วยงานใดรับผิดชอบงานเลขานุการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
198. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
199. สำนักงานใดในกระทรวงศึกษาที่มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการการเมือง
ตอบ สำนักงานรัฐมนตรี มีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง บังคับบัญชาช้าราชการในสำนักงาน
200. ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่อย่างไร
ตอบ ตรวจราชการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม ประเมินผลระดับนโยบาย เพื่อนิเทศให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อปรับปรุงพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น