วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วย-ชุด 12

601. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐภายในกี่วันนับตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่ง___
ตอบ ภายใน 15 วัน
602. ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ นโยบายที่แถลงและต้องรับผิดชอบต่อใคร______
ตอบ สภาผู้แทนราษฎร
603. การตราพระราชกำหนดจะใช้ในกรณีใด______
ตอบ รักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
604. บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลใดเพื่อวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้_____________
ตอบ ศาลรัฐธรรมนูญ
605. องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ___
ตอบ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1+ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 8 รวมเป็น 9
606. ศาลชั้นต้น ศาลอุทรณ์ ศาลฎีกา เรียกรวมๆ ว่า_______
ตอบ ศาลยุติธรรม
607. ศาลใดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง__
ตอบ ศาลฎีกา “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” : เช่นคดีที่ดินรัชดา เป็นต้น (ไม่มีศาลชั้นต้นศาลอุทรณ์) แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นแผนกที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในศาลฎีกา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภาหรือข้าราชการการเมืองอื่นซึ่งถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น รวมทั้งกรณีบุคคลอื่นที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนด้วย องค์คณะผู้พิพากษาในแผนกนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน 9 คน ที่คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ขึ้นนั่งพิจารณาคดีเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น แต่การพิจารณาคดีจะเป็นระบบไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากวิธีพิจารณาที่ใช้ในคดีทั่วไปศาลมีอำนาจ
ไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ตามวิธีพิจารณา คดีที่
บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ในศาลฎีกา คนปัจจุบัน คือ “นายประพันธ์ ทรัพย์แสง”
608. บั้งไฟผี คืออะไร______
ตอบ (บั้งไฟพญานาค) บั้งไฟพญานาค หรือ บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ชัดเจนได้ โดยมีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร
เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในช่วงวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11ตามปฏิทินลาว ซึ่งอาจตรงกับวันแรม 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทยโดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วัน มากกว่า 90% ของจำนวนลูกบั้งไฟพญานาคในแต่ละปี จะพบที่จังหวัดหนองคายหน้าวัดไทย และบ้านน้ำเป อำเภอโพนพิสัย วัดอาฮงอำเภอบึงกาฬ วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อำเภอสังคม ผู้ศึกษาปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคหลายกลุ่ม พยายามอธิบายที่มาของปรากฏการณ์นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น คาดว่าอาจจะเป็นก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน หรือ ฟอสฟอรัส ที่เกิดจากการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ใต้น้ำ นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่อื่น ๆ ในโลกก็มีรายงานการพบปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน เช่นที่ มลรัฐมิสซูรี และ มลรัฐเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกาโดยเรียกกันว่า แสงมาร์ฟา (Marfa lights) นอกจากนี้ยังพบที่เมืองเจดด้าห์ ประเทศซาอุดิอาระเบียริมฝั่งทะเลแดง
609. คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมมีจำนวนกี่คน_____
ตอบ 15 คน
610. ศาลใดมีอำนาจในการพิจารณาคดีกรณีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย_____________________________________
ตอบ ศาลปกครอง
611. คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองมีกี่คน_______________________
ตอบ 13 คน
612. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือไม่____
ตอบ ไม่เป็น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (5 คน ประธาน 1 คน กรรมการ 4 คน) ดำรงตำแหน่ง 7 ปี ดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว
2) ผู้ตรวจการแผ่นดิน ( มี 3 คน) กษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา วาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว
3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) (มี 9 คน ประธาน 1 คน กรรมการอีก 8 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ดำรงตำแหน่ง 9 ปี วาระเดียว)
4) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ( มี 7 คน ปราน 1 คน กรรมการ 6 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีวาระ 9 ปี วาระเดียว) (****ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไม่ใช่ประธานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นเพียงผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ต้องขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน) ***ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับความ
ยุติธรรม การตรวจสอบ การทุจริต ส่วนองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
1) องค์กรอัยการ (อำนาจฟ้องคดีแทนรัฐ หรือฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ)การแต่งตั้งอัยการสูงสุดให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มี 7 คน ประกอบด้วยประธาน 1 คน และกรรมการอื่นอีก 6 คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
3) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
613. คณะกรรมการการเลือกตั้งได้มาอย่างไร_________
ตอบ โดยการสรรหา
614. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งพ้นวาระต้องดำเนินการให้ได้มาภายในกี่วัน_______
ตอบ 90 วัน
615. องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ดูแลคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคือองค์กรใด______
ตอบ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
616. ปปช. พิจารณาระดับใดขึ้นไป(กรณีร่ำรวยผิดปกติ)______
ตอบ ผู้อำนวยการกอง>>รองธิบดี>>>อธิบดี>>ปลัดกระทรวง>>สส.>>รัฐมนตรี>>>นายกรัฐมนตรี
617. การอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 ได้กำหนหรือไม่___
ตอบ ไม่ ___กระบวนการตรวจสอบเช่น การตรวจสอบทรัพย์สิน การถอดถอน เป็นต้น
618. ปลัดกระทรวงต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ปปช. หรือไม่___
ตอบ ไม่ต้อง คนที่ต้องยื่น เช่น รัฐมนตรี สส.เลขาธิการนายก เป็นต้น
619. การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องยื่นต่อ ปปช. ภายในกี่วันนับตั้งแต่รับตำแหน่ง และพ้นตำแหน่ง__________
ตอบ 30 วัน
620. หากรัฐมนตรีจงใจปกปิดทรัพย์สิน หรือยื่นทรัพย์สินอันเป็นเท็จ หากพิจารณาแล้วมีความผิดจริงจะถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองกี่ปี______
ตอบ 5 ปี โดยคำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง___
(อย่าเข้าใจผิดว่าเป็น ปปช. วินิจฉัยชี้ขาด)
621. ใครมีอำนาจถอดถอนรัฐมนตรีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง__
ตอบ วุฒิสภา
622. นายกรัฐมนตรีมีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ หรือ ประพฤติชั่วร้ายแรง หรือส่อว่ากระทำผิดในหน้าที่ราชการ หรือ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่กรณีเหล่านี้กรณีใดไม่อยู่ในข่ายที่ต้องถอดถอนนายกรัฐมนตรี_
ตอบ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
623. บุคคลที่สามารถร้องขอให้ถอดถอนรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติมีใครบ้าง___
ตอบ ดังนี้
1) สส. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวน สส. ที่มีอยู่ในสภา
2) สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวน สว. ที่มีอยู่ในสภา
3) ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน (ไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน)
624. รัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติจะถูกดำเนินคดีที่ศาลใด_____
ตอบ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
625. มาตรการทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐให้จัดทำเป็น______
ตอบ ประมวลจริยธรรม
626. กฎหมายที่ต้องปรับปรุงภายใน 2 ปี หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ภายหลังเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรับธรรมนูญคือกฎหมายใด_____
ตอบ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
627. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญ 40 มาตราใด____
ตอบ มาตรา 81
628. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติถือเป็น_____________
ตอบ กฎหมายแม่บทการจัดการศึกษา
629. พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับแรกมีผลบังคับใช้วันใด____
ตอบ 20 สิงหาคม 2542 (ประกาศ 19)
630. วัตถุประสงค์ของการจัดทำ พรบ. การศึกษาแห่งชาติคือ____
ตอบ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคม
631. การศึกษาขั้นพื้นฐานคือ___________
ตอบ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
632. คำว่า “สถานศึกษา”ครอบคลุมการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือไม่_
ตอบ ไม่ การศึกษาระดับอุดมศึกษาจะเป็นสถาบัน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น
633. ลักษณะของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยคืออะไร____
ตอบ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส / จัดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา / ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ได้
634. คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วยใครบ้าง_____
ตอบ ประกอบด้วย) องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการ (มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
(๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง จำนวน ๑ คน
(๓) กรรมการที่เป็นผู้แทนครู จำนวน ๑ คน
(๔) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวน ๑ คน
(๕) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๑ คน
(๖) กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า จำนวน ๑ คน
(๗) กรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่
- สถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน ๑ รูป หรือ ๑ คน
- สถานศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน ๒ รูป หรือ ๒ คน หรือ ๑ รูปกับ ๑ คน
(๘) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
- สถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน ๑ คน
- สถานศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน ๖ คน
(๙) ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ
635. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาระดับใด____
ตอบ ทุกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ได้การศึกอุดมศึกษาก็ได้ การศึกษานอกโรงเรียนก็ได้อยู่ที่ความพร้อม ความต้องการ ความเหมาะสม
636. รัฐต้องจัดความช่วยเหลือสำหรับคนพิการ ในเรื่องเงินทุนด้านสื่อและวัสดุการศึกษาเมื่อเทียบกับเด็กนักเรียน
ทั่วไป__________
ตอบ ไม่เกิน 5 เท่า
637. การจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน หมายถึงการจัดการศึกษาระดับใด_____
ตอบ ประถมศึกษา
638. การนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนับตามข้อใด_
ตอบ นับตามปีปฏิทิน
639. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษาคือการจัดการศึกษาอย่างไร____
ตอบ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด ศักยภาพ และความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
640. เด็กจบการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึงเด็กจบชั้นใด_____
ตอบ มัธยมศึกษาปีที่ 3
641. ใครมีอำนาจอนุญาตผ่อนผันเด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ____
ตอบ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
642. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา คือ___
ตอบ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ ให้เป็นกำลังแรงงานที่มีฝีมือหรือการศึกษาต่อระกับอาชีพชั้นสูงต่อไป
643. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นการศึกษาแบบใด_
ตอบ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานชีวิตและการ เตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพและการอยู่ร่วมกันในสังคม
644. พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พรบ.การศึกษาภาคบังคับ นับรวม ผอ.โรงเรียนและ ผอ.เขตพื้นที่ฯหรือไม่__
ตอบ รวม (ผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ถือว่าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ) (รวมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านด้วยนะ)
645. หากผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ จะทำบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยื่นทำบัตรต่อใคร___
ตอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
646. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2547 เกิดจากกฎหมายใด_______
ตอบ พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
647. การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2547 ให้เป็นไปตามแนวทางใด
ตอบ ให้เป็นไปตามแนวทางต่อไปนี้
1) สอดคล้องกับภารกิจหลักและรองรับการกระจายอำนาจการบริหารจัดการจาก สพฐ.
2) มีความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ มีความยืดหยุ่น และพร้อมต่อการปรับเปลี่ยน
3) มีกลไกในการประสานงานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
4) มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการบริหารจัดการ
5) คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลต่อสัมฤทธิผลของคุณภาพการศึกษา ระดับ และขนาดของสถานศึกษา จำนวนนักเรียน ผู้รับบริการ และความเหมาะสมด้านอื่น
648. การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งอย่างไร______
ตอบ แบ่งเป็นกลุ่ม และกลุ่มอาจแบ่งเป็นกลุ่มงาน
649.การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากใคร___
ตอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตกำหนด
650. นโยบาย สพฐ ปี2551_การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ปี2551 อะไรบ้าง___________
1. กลยุทธ์คุณธรรมนำความรู้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. กลยุทธ์ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
3. กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
4. กลยุทธ์กระจายอำนาจและส่งเสริมความเข้มแข็งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
5. กลยุทธ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ภาคเอกชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
6. กลยุทธ์เร่งพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น