วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กระบวนทัศน์-Paradigm

Paradigm กระบวนทัศน์
คำว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) ซึ่งมาจากภาษากรีก โดย para แปลว่า beside ส่วน digm แปลว่า ทฤษฎี คือ ชุดแนวความคิด หรือ มโนทัศน์ (Concepts) ค่านิยม (Values) ความเข้าใจรับรู้ (Perceptions) และการปฏิบัติ (Practice) ที่มีร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่ง ชุมชนหนึ่งและได้ก่อตัวเป็นแบบแผน ของทัศนะอย่างเฉพาะแบบหนึ่ง เกี่ยวกับความจริง (Reality) ซึ่งเป็นฐานของวิถี เพื่อการจัดการตนเอง ของชุมชนนั้น ทีทำหน้าที่สองประการ ประการแรกทำหน้าที่ วางหรือกำหนดกรอบ ประการที่สอง ทำหน้าที่บอกเราว่าควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ภายในกรอบเพื่อให้เกิดความสำเร็จ รวมไปถึง เราวัดความสำเร็จนั้นอย่างไร
Paradigm เป็นวิธีการหรือมุมมองต่อปรากฏการณ ์ที่แสดงความสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การวิจัยและการปฏิบัติ ช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ ประเด็นปัญหา แนวทางแก้ไข และเกณฑ์ ในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน paradigm ประกอบด้วยทฤษฎีและวิธีการ
Paradigm หรือ กระบวนทัศน์ โดยมุมมองทางด้านวิทยาศาสตร์ได้นิยามไว้ว่า คือตัวอย่างต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับของ การทำงานด้าน วิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ตัวอย่างที่รวมไปถึงกฎ ทฤษฎี การนำไปใช้และเครื่องมือรวมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ก่อให้ เกิดรูปแบบที่ซึ่งนำไปสู่ แนวปฏิบัติที่เชื่อมโยงกันอย่างเฉพาะพิเศษ ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอธิบายต่อว่า " คนที่มีงานวิจัยอยู่ในกระบวนทัศน์เดียวกัน จะมีกฎและมาตรฐานการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน และได้ผลออกมาเหมือนกัน"
กระบวนทัศน์ ก็คือ กระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความเชื่อพื้นฐานที่มีในจิตใจของมนุษย์ทุกคน แตกต่างกันตามเพศ ตามวัย ตามสิ่งแวดล้อม ตามการศึกษาอบรม และตามการตัดสินใจเลือกของแต่ละบุคคล ความเชื่อพื้นฐานนี้แหละเป็นตัวกำหนด ให้แต่ละคนชอบอะไร และไม่ชอบอะไร พอใจแค่ไหนและอย่างไร เป็นตัวนำร่องการตัดสินใจ ด้วยความเข้าใจ และเหตุผลในตัวบุคคลคนเดียวกัน อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ หากรู้สึกว่ามีเหตุผล เพียงพอที่จะเปลี่ยน แต่จะไม่เปลี่ยนด้วยอารมณ์ ก่อนเปลี่ยนจะต้องมีความเข้าใจ กระบวนทัศน์เก่าที่มีอยู่และ กระบวนทัศน์ที่จะรับเข้ามาแทน มีการชั่งใจจนเป็นที่พอใจ มิฉะนั้นจะไม่ยอมเปลี่ยน เพราะอย่างไรเสีย ตราบใดที่มีสภาพเป็น คนเต็มเปี่ยมจะต้อง มีกระบวนทัศน์ใด กระบวนทัศน์หนึ่งเป็น ตัวตัดสินใจเลือกว่า จะเอาหรือจะปฏิเสธ ไม่มีไม่ได้ ถ้าไม่มีจะไม่รู้จักเลือก และตัดสินใจไม่เป็น
กระบวนทัศน์ไม่ใช่สมรรถนะตัดสินใจ สมรรถนะตัดสินใจ(faculty of decision) คือ เจตจำนง (The will) กระบวนทัศน์เป็นสมรรถนะเข้าใจ (understanding) และเชิญชวนให้เจตจำนงตัดสินใจ
กระบวนทัศน์แม้จะมีมากมาย กล่าวได้ว่าไม่มีคน 2 คนที่มีกระบวนทัศน์เหมือนกันราวกับแกะ
กระบวนทัศน์การวิจัย (Research Paradigm) เป็นกระบวนการทางความคิดและปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิจัย ที่มีการเชื่อมโยง ระหว่างโลกทัศน์ (worldview) และมโนทัศน์ (concept) ต่อความเป็นจริง หรือปรากฏการณ์ในโลกอันเป็นพื้นฐาน ในการสร้างและทำความเข้าใจรับรู้ (perception) ต่อความเป็นจริง หรือปรากฏการณ์นั้นๆ เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างแนวปฏิบัติ (practice) รวมทั้งหาวิธีการจัดการ (management) ร่วมกัน โดยมีเป้าหมาย ในการสร้างแบบแผน (pattern) แบบจำลอง (model) รวมทั้ง ค่านิยม (value) ที่เป็นพื้นฐาน การจัดการตนเอง ของชุมชนหนึ่งๆ
ในเรื่องของกระบวนทัศน์นี้มีข้อที่น่าสังเกตคือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ นั้น เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นในสังคมมนุษย์ ครั้งที่หนึ่ง จากที่มนุษย์เร่ร่อนหากิน โดยการล่าสัตว์และเก็บพืชผลตามธรรมชาติมาทำเกษตรกรรมแบบตั้งรกราก และครั้งที่สอง เมื่อสมัยเรเนซอง และการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามมา โดยอาจมองเดคาร์ต-นิวตัน ว่าเป็นนักคิด นักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความชัดเจน แก่กระบวนทัศน์ในยุคนั้น ซึ่งได้แบ่งกายออกจากจิตอย่างเด็ดขาด และนิวตันก็มองสรรพสิ่งว่าเป็นก้อน ดังเช่นลูกบิลเลียดที่เคลื่อนไหว กระทบกระทั่งกัน หรือสัมพันธ์กันแต่ภายนอก ซึ่งจะตรงข้ามกับทัศนะในการ มองธรรมชาติแบบกระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ ครั้งที่สาม ที่มนุษยชาติกำลังจะก้าวเข้าสู่ ยุคควอนตัมฟิสิกส์ที่ความสัมพันธ์แบบ เครือข่ายอันเป็น พลวัตจากภายในกายกับจิต คือหนึ่งเดียวไม่อาจแบ่งแยกกันได้ เคลื่อนไหวแปรเปลี่ยนแทรกซึมอยู่ในทุกสรรพสิ่ง
ฉะนั้น เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนแปลงมนุษย์จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีคิดแบบใหม่ ซึ่งผู้เขียนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงพยายามชี้ให้เห็นว่ากำลังมี การชนปะทะกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพ (mathematics philosophy) กับ universe ซึ่งเป็น machine กับโลกธรรมชาติ และอาจจะถึงจุดแตกหัก หากมนุษย์ยังคงดำเนินวิถีเช่นเดิมต่อไป แม้ว่าโลกยังคงอยู่ได้ แต่อาจมีมนุษยชาติ หลายเผ่าพันธุ์ไม่น้อย ที่จะต้องได้รับผลของความวิบัติที่เกิดขึ้น
ในเรื่องวิธีคิดแบบใหม่นี้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่อง รากฐานของการเรียนรู้ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ทั้งหมดตั้งอยู่บนฐาน ขององค์ความรู้ที่เราเชื่อมั่นว่าเป็นความจริง องค์ความรู้ที่ให้คำอธิบาย หรือตอบความจริงที่ว่านั้น ให้กับมนุษย์เราที่สำคัญที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ที่มีรากเหง้าจากฟิสิกส์ กระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดตั้งอยู่บนรากฐานนั้น วิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์เก่าจากฟิสิกส์เก่า และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีวิทยาศาตร์ใหม่ที่ตั้งบนฟิสิกส์ใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาอีก และบางส่วนได้พิสูจน์อย่างไร้ข้อสงสัยแล้วว่า วิทยาศาสตร์เก่า แม้ว่าจะนำมาใช้ได้จริงแต่ก็ยังหยาบมาก ซึ่งเมื่อลงไปในรายละเอียดแล้ว วิทยาศาสตร์เก่านั้นมีทั้งไม่จริงหรือไม่ก็ไม่สมบูรณ์เลย
วิทยาศาสตร์ใหม่และเป็นความรู้ใหม่จริงๆ นั้นมาจากวิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ นำมาใช้ตามคำเรียกหาของนักวิชาการตะวันตก ในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ด้านหนึ่งหมายถึง ควอนตัมฟิสิกส์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ วิทยาศาสตร์ทางจิต สำหรับควอนตัมฟิสิกส์นั้น แม้ว่ายังมีการจัดไว้ให้เป็นวิทยาศาสตร์กายภาพ แต่ที่แน่นอนคือ ควอนตัมฟิสิกส์ ไม่ใช่ฟิสิกส์คลาสสิกของนิวตัน หรือกาลิเลโอดังเช่นที่เราคุ้นเคยกันอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีบางอย่างที่ไม่จริง แต่ก็ยังนำมาใช้ได้ เป็นเพราะวิทยาศาสตร์เก่าตั้งบน หลักการเครื่องจักรเครื่องยนต์ประกอบขึ้น มาจากชิ้นส่วนของวัตถุที่แปลกต่างกัน เครื่องจักรเครื่องยนต์ที่จะทำงานได้ก็ต้องอาศัย พลังงานจากภายนอก ทำให้เราสามารถกำหนดหรือทำนายผลของการทำงานนั้นๆ ได้
แต่ควอนตัมฟิสิกส์ลงไปในรายละเอียดกว่าวิทยาศาสตร์คลาสสิกมากยิ่งนัก ในระดับที่ละเอียดเช่นนั้น การทำงานคือการใช้พลังงาน ที่มีเนื้อใน โดยมีรูปแบบทางควอนตัมออกมาเป็นชุดๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นองค์รวม ซึ่งทั้งหมดคือส่วน และส่วนคือทั้งหมด โดยทั้งหมดจะไหลเลื่อนเคลื่อนไหวไปด้วยกัน เปลี่ยนแปลงสรรค์สร้างสิ่งใหม่ตลอดไป นั่นก็กระบวนการที่เรียกว่า วิวัฒนาการของธรรมชาติ โดยในธรรมชาตินั้นไม่มีการปฏิรูป จะมีก็แต่วิวัฒนาการที่ว่าเท่านั้น
เนื่องจากควอนตัมฟิสิกส์นั้นลงไปในรายละเอียดมาก สู่สภาวะที่ไม่มีความคงที่แน่นอน มีสภาวะเป็นคลื่น เป็นสสาร เป็นครึ่งๆ กลางๆ หรือเป็นสภาพของสนามแห่งความพัวพันกันก็ได้ เป็นต้นว่า เป็นสนามพลังงานที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เป็นสนามข้อมูล ความจำ ที่ว่าง หรือเวลาก็ได้ กระทั่งเป็นดังที่นักฟิสิกส์หลายคนเชื่อว่า เป็นสนามพลังงานจิตหรือเป็นสนามจิตที่ไร้สำนึกของจักรวาลก็ได้ ซึ่งสภาพที่ละเอียดยิ่งเช่นนั้น ไม่แน่นอน ไม่เที่ยงและทำนายไม่ได้ มีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจากจิตจริงๆ
ดังนั้น ในทศวรรษหลังๆ มานี้ จึงมีกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับจิตหรือระบบประสาทและสมอง รวมทั้งเรื่องของพลังงานจิตและความรู้เร้นลับ ความรู้ที่แนบเนื่องกับศาสนาที่อุบัติจากทางตะวันออก เช่น ศาสนาพุทธ รวมกันแล้วว่า 12 วิชาที่เรียกรวมๆ กันว่า วิทยาศาสตร์ทางจิต ซึ่งมีอภิปรัชญาใหม่เป็นตัวเชื่อมระหว่างควอนตัมเมคานิกส์หรือฟิสิกส์ใหม่ที่กล่าวมานั้นกับเรื่องของจิตหรือจิตวิญญาณทั้งหมด ฉะนั้น กระบวนการเรียนรู้ใหม่และระบบการศึกษาใหม่จึงต้องเป็นไปตามนั้น ทำให้การมองความจริง หรือการรับรู้โลกและจักรวาลของมนุษย์ ซึ่งก็คือการรับรู้ธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปลงไป ธรรมชาติของจักรวาลกายภาพ ที่โลกตะวันตก สอนมานั้นเป็นเรื่องของกายวัตถุทั้งหมด แท้จริงนั้นเป็นความรู้เก่าของชาวตะวันออกซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
หนึ่ง คือธรรมชาติกายภาพที่มนุษย์มองเห็น
สอง จะเป็นภาพมายาของธรรมชาติที่แท้จริงซึ่งอยู่เบื้องหลังอีกที จึงนำมาอธิบายต่อไปได้ว่าทำไมมนุษย์ และสัตว์แต่ละชนิดจึงเห็น และรับรู้ธรรมชาติได้ไม่เหมือนกัน เพราะทั้งคนและสัตว์แต่ละชนิด แต่ละประเภทแปลธรรมชาติที่แท้จริง (ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสง/สสาร) ให้เป็นการรับรู้หรือมองเห็นแปลกต่างจากกัน
ส่วนธรรมชาติที่สาม คือ จิตสูงสุดหรือปัญญาสูงสุด คือความจริงแท้ที่รับรู้ด้วยจิตเหนือจิต นั่นคือ สัจธรรมหรือธรรมะในพุทธศาสนา นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าพระเจ้าหรือเต๋าหรือพรห์มมัน/ปรมาตมันที่ล้วนคือ “หนึ่ง” เช่นเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้คำเรียกต่างกัน
การมองเห็นหรือเรียนรู้ความจริงที่เปลี่ยนไปนี้คือ สิ่งที่นักคิดหลายคนเรียกว่า วิสัยทัศน์ใหม่ต่อความจริงแท้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในหลักการที่รับรู้ร่วมกันนั่นคือ โลกทัศน์หรือ “กระบวนทัศน์” ซึ่งมีหลักการและรูปแบบใหม่ ที่แปลกต่างไม่เหมือนเดิม ด้วยฟิสิกส์ใหม่ เป็นตัวผลักดันการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับตัวเร่งที่มนุษย์ได้มาจากความคิด และการสะท้อนความคิด ของตนเองสู่ภายใน
อาทิ จากสภาวะล่มสลายของระบบนิเวศธรรมชาติและมหันตภัยทุกๆ ด้านที่เป็นผลพวง ไม่ว่าจะเป็นสภาพโลกร้อน เอลนีโญ อากาศเป็นพิษ และมลภาวะ ทำให้มนุษย์รู้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา ด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพและชีววิทยาที่ตั้งอยู่บนความบังเอิญ มนุษย์ได้ดำรงชีวิต ของตนและนำพาสังคมโลกผิดพลาดไปจากกระบวนการธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ด้วยวิกฤตในแทบทุกๆ ด้าน กลายเป็นวิกฤตการณ์ที่มีคุณค่าและความหมายในแง่ของการสื่อให้มนุษย์เริ่มรู้ตัว มนุษย์แทบทุกคนต่างรู้แล้วว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดที่เป็นรากฐานของระบบทุกระบบของสังคม จึงต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ไปด้วยกัน ทั้งกรุเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ใหม่ของสังคมด้วยเช่นกัน นั่นคือการเปลี่ยนแปลง ที่ศรีอรพินเธอเคยบอกว่า
"เวลาของการเปลี่ยนแปลงได้มาถึงแล้ว เราทุกคน ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ต้องอ่านสัญลักษณ์นั้นให้ออกและดำเนินการไปตามนั้น อย่างเงียบๆ การเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องเป็นโลกาภิวัตน์ คือต้องทั้งหมด แม้แต่เศษผงธุลีก็ต้องเปลี่ยน"
ฉะนั้น ระบบการศึกษาจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความจริงที่ยอมรับร่วมกันใหม่ โดยเปลี่ยนจากระบบการศึกษา ปัจจุบันที่สารัตถะ ทั้งหมดนั้น อยู่ที่ภายนอก ที่มนุษย์รับรู้เป็นความแปลกต่าง ไปสู่กระบวนทัศน์ทางการศึกษา ที่ชี้นำจากภายในออกมา ภายนอก ด้านหนึ่ง เป็นการศึกษา ที่สอดคล้องกับกระบวนการวิวัฒนาการทางกายภาพ ของสมองและพฤติกรรมที่กำหนดจากภายใน มาปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ให้มีการเคลื่อนไหววิวัฒนาการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ส่วนอีกด้านหนึ่ง จะเป็นการเดินทางที่จะเตรียมนำตัวมนุษย์ไปสู่ปัญญาเหนือปัญญาของจักรวาลอีกทีหนึ่ง ดังที่ ญ็อง เปียเจต์ และรูดอล์ฟ สไตเนอร์ พูดเหมือนๆ กับดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ความหมายของกระบวนทัศน์ (Paradigm)
คำว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นคำศัพท์ที่ Thomas S. Kuhn ได้นำเสนอและเผยแพร่เมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 (ตรงกับ พ.ศ. 2513) อีกทั้งจากการประชุมทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1974 และจากการประชุมทางด้านการบริหารรัฐกิจของประเทศ
สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1975 เป็นผลให้นักวิชาการสนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนทัศน์มากขึ้น
นักวิชาการได้ให้ความหมายของกระบวนทัศน์ไว้หลายความหมาย ดังนี้
Thomas S. Kuhn กล่าวว่า กระบวนทัศน์ หมายถึง ผลสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Achievement) ที่นักวิชาการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์การ นโยบาย โครงสร้าง กระบวนการ เทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร
Robert T. Holt & John M. Richardson กล่าวว่า กระบวนทัศน์ หมายถึง แบบแผน หรือกรอบเค้าโครงที่กำหนดรูปแบบและแนวทางการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ (1) แนวความคิดเชิงทฤษฎี (2) ทฤษฎี (3) กฎ (4) ปัญหา (5) ข้อเสนอแนะ
เฉลิมพล ศรีหงษ์ กล่าวว่า กระบวนทัศน์ หมายถึง การกำหนดแก่นของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในลักษณะภาพรวม ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และใช้เป็นพื้นฐานร่วมกันในการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ หรืออธิบายรายละเอียดต่อไป
กล่าวโดยสรุปกระบวนทัศน์ หมายถึง ตัวแบบ รูปแบบ กรอบแนวความคิด แนวทางการศึกษา ที่ใช้วิธีการทางด้าน วิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการศึกษา และแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.novabizz.com/NovaAce/Subconscious.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น