วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คนเก่งในเมืองไทยมีมากมายแต่ที่มีจิตสำนึกยังไม่มากพอ

จากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ปธ.แพทย์ชนบท ไม่อยู่เป็นตรายางคกก.แก้ไขปัญหา"ไทยเข้มแข็ง"เหตุปรับลดจัดซื้อแค่10% รองปลัดสธ.ระบุ22คนเห็นตรงกันแค่ราคาท้องถิ่น ไม่น่าลาออก
น.พ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ตนได้ขอลาออกกลางที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาโครงการไทยเข้มแข็ง เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ทักท้วงเรื่องการจัดสรรงบประมาณไม่เหมาะสมและราคาที่ตั้งไว้สูงเกินจริง แต่ปรากฏว่า ท้ายที่สุดคณะกรรมการฯ พยายามจะยึดราคาตามที่กองแบบแผนเสนอมา โดยปรับลดราคาลงได้เพียงประมาณ 10% เท่านั้น ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงตามที่นำเสนอ ทั้งที่ น่าจะปรับลดราคาได้ถึง 25% ทำให้อึดอัดใจ และไม่อยากเป็นเป็นเครื่องมือ หรือตรายางให้ใคร
น.พ.สถาพร วงษ์เจริญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาโครงการไทยเข้มแข็ง กล่าวว่า ยืนยันว่าการกำหนดราคากลางสิ่งก่อสร้างโครงการไทยเข้มแข็ง ทางคณะกรรมการฯได้พิจารณาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ทุกจังหวัดสามารถจัดจ้างได้
"ขณะที่ราคาที่นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ระบุเป็นราคาท้องถิ่น อีกทั้งกรรมการทั้ง 22 คนยังเป็นชอบตรงกัน ยกเว้นเพียง นายแพทย์เกรียงศักดิ์คนเดียวเท่านั้น และการลาออกก็ถือเป็นสิทธิ์ แต่ความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องลาออกได้ เพียงแต่สงวนความเห็นบันทึกในรายการการประชุมได้" รองปลัดสาธารณสุข ระบุ
---------------------------------------------------------------
ดีใจคนไทยเก่ง............
....นักวิจัยจุฬาฯ คิดค้นนวัตกรรมผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5 ด้วยแผ่นเยื่อบางซีโอไลท์ชนิดโซเดียม – เอ โดยไม่ต้องกลั่นซ้ำให้เปลืองพลังงาน
“แก๊สโซฮอล์”เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นส่วนผสมระหว่าง เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอลที่มีความบริสุทธิ์ร้อยละ ๙๙.๕ ขึ้นไปผสมกับน้ำมันเบนซินได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นพลังงาน ทางเลือกทดแทนน้ำมันเบนซิน มีข้อดีคือมีโครงสร้างทางเคมีของแอลกอฮอล์ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ สามารถช่วยลดมลพิษทาง อากาศได้ และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป
เอทานอลเป็นพลังงานทดแทน ชนิดหนึ่งที่ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้จากการหมักและกลั่น ผลิตผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ
โดยเริ่มแรกได้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงในสัดส่วนร้อยละ 5 หรือ เรียกว่าแก๊สโซฮอล์ E5 ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายที่จะผลิตแก๊ส โซฮอล์ E20 คือ ผสมเอทานอลบริสุทธิ์ในน้ำมันร้อยละ 20 เอทานอลบริสุทธิ์
เอทานอลมีความสำคัญต่อประเทศในด้านพลังงาน มากขึ้นทุกวัน หากสามารถผสมลงในน้ำมันในสัดส่วนที่ยิ่งมาก ก็จะยิ่งช่วยลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศได้ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทย และทำให้เงินตรา หมุนเวียนอยู่ในประเทศอีกด้วย
ส่วนประเทศอื่นๆ ก็มีการตระหนัก ถึงความสำคัญของเอทานอลบริสุทธิ์มากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ อเมริกา ที่มีนโยบายว่าในอนาคตจะใช้ เอทานอลบริสุทธิ์แทนน้ำมัน เชื้อเพลิง และประเทศบราซิลก็มีการใช้แก๊สโซฮอล์ E100 ซึ่งก็คือเอทานอลบริสุทธิ์อย่างเดียว
ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตเอทานอลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ เอทานอลแห่งชาติให้ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งสิ้น 45 โรงงาน มีกำลังผลิตรวมประมาณ 11 ล้านลิตรต่อวันซึ่งยังไม่ เพียงพอต่อความต้องการที่มีอย่างน้อย 15 ล้านลิตรต่อวัน
วิธีการผลิตที่นิยมใช้คือการกลั่น โดยนำเอทานอลที่ได้จากการหมัก ผลิตผลทางการเกษตรซึ่งมีความบริสุทธิ์ร้อยละ 12 มากลั่นด้วย พลังงานค่อนข้างสูงจนได้ความบริสุทธิ์ร้อยละ 95.5 ซึ่งสามารถนำไปใช้ในโรงงานผลิตสุราหรือผลิตสารปิโตรเคมีได้ แต่ยังไม่สามารถ ผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงได้ เนื่องจากต้องมีความบริสุทธิ์อย่างน้อย ร้อยละ 99.5
โรงงานจึงต้องทำการกลั่นซ้ำ ทำให้ต้องใช้พลังงาน เพิ่มขึ้น บางโรงงานจะใช้สารเคมีบางชนิดดูดซับน้ำจากเอทานอล แต่สารชนิดนี้มีราคาแพงและต้องใช้พลังงานความร้อนในการแยกน้ำ
รศ.สุจิตรา วงษ์เกษมจิตต์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ หนึ่งในคณะวิจัยที่คิดค้นนวัตกรรมการผลิตเอทานอลบริสุทธิ์เท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 99.5 โดยการใช้แผ่นเยื่อบางซีโอไลท์ชนิดโซเดียม - เอ กล่าวว่า ถือเป็นนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย แต่มีใช้อยู่แล้วในประเทศญี่ปุ่นและจีน
แผ่นเยื่อบางดังกล่าวสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองจากสารตั้งต้นคือซิลิกาและอะลูมิน่า ซึ่งหาได้ในประเทศไทยและมีราคาถูกแผ่นเยื่อบางที่ได้จะมีความ ทนทานใช้ได้นานและใช้ซ้ำได้หลายครั้ง จากการทดลองสามารถผลิตเอทานอล บริสุทธิ์ได้เฉลี่ยร้อยละ ๙๙.๗ และมีหลายครั้งที่ผลิตได้ถึงร้อยละ 100
ทำให้เอทานอลบริสุทธิ์ที่ได้เหลือปริมาณน้ำอยู่น้อยมาก ประมาณร้อยละ 0.1 เท่านั้น จึงไม่มีอันตรายต่อเครื่องยนต์ แม้จะใช้เป็น E100 เหมือนประเทศบราซิลก็ตาม
วิธีการนี้สามารถประหยัดพลังงาน ได้ประมาณ 3-7 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ ที่ใช้ในปัจจุบัน ขณะนี้งานวิจัยยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ ที่ผ่านมา มีเจ้าของธุรกิจหลายรายที่สนใจจะนำชุดแผ่นเยื่อบางนี้ไปใช้จริง
ผลงานวิจัยนี้ยังต้องมีการปรับปรุงผลงานเพื่อใช้ในระดับงาน อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีเตรียมแผ่นเยื่อบางและ สร้างปฏิกรณ์สำหรับแยกน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งต้องสร้าง ปฏิกรณ์สำหรับสร้างแผ่นเยื่อบาง
สำหรับการต่อยอดงานวิจัยในอนาคต รศ.สุจิตรา กล่าวว่า มีแนวคิดที่จะนำแผ่นเยื่อบางดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ใช้ในการแยกน้ำออกจากน้ำเสียซึ่งมีสารอินทรีย์อยู่จำนวนมาก เป็นต้น
นอกจากนี้จะทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบิวทานอล ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักวัสดุทางเกษตรเช่นเดียวกับเอทานอล แต่มีจุดเดือดสูงกว่าและเป็นสารที่ไม่ชอบน้ำ
หากสามารถนำไปใช้ผสม กับน้ำมันเชื้อเพลิงแทนเอทานอลได้ ก็จะทำให้กระบวนการผลิต ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งในต่างประเทศกำลังมีการศึกษา วิจัยเกี่ยวบิวทานอลว่าวิธีการหมักแบบใดที่จะผลิตบิวทานอลได้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น