วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ
การสอบแข่งขัน การสอบคัดเลือก การคัดเลือก เป็นวิธีการสรรหาบุคคลเข้าทำงานทั้งในภาคเอกชนและภาคราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคราชการมีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการสรรหาบุคคล เข้ารับราชการด้วยระบบคุณธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ การสอบคัดเลือก การคัดเลือก เป็นวิธีการที่ส่วนราชการใช้สรรหาบุคคลในระบบเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งสายหัวหน้างาน หรือผู้บริหารมักจะมี หลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานนั้นๆ กำหนด เช่นการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ก.ค.ศ. ได้กำหนดให้มีสอบ ข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ โดยหลักสูตรสอบข้อเขียนประกอบด้วย ภาคความรอบรู้ สมรรถนะทางการบริหาร ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือกฎหมายระเบียบการศึกษาและปฏิบัติราชการและภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งโดยการประเมินผลงานหรือสอบสัมภาษณ์โดยในแต่ละภาค ได้กำหนดเรื่องหรือหัวข้อที่จะวัดเอาไว้เกณฑ์การผ่านและรายละเอียดอื่นๆ หรือการสอบคัดเลือก คัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ หรือเลื่อนตำแหน่งของ ก.พ. หรือส่วนราชการอื่นก็ทำนองเดียวกัน ทั้งนี้เป้าหมายของการสอบแข่งขัน ก็เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ มีสมรรถนะและเจตคติที่ดี เข้ามาทำงานราชการนั่นเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสอบ นั่นคือเป็นผู้ที่สามารถสอบได้หรือสอบผ่าน มีชื่อในบัญชีรายชื่อ ผู้สอบคัดเลือกได้ หรือผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ดังนั้นจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้านกล่าวคือ
1.1 จะจัดหาเอกสารหรือหนังสือสำหรับเตรียมสอบอย่างไร
หนังสือหรือเอกสารที่ใช้ในการอ่านเตรียมสอบเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากเพราะหากมีหนังสือแต่ เป็นหนังสือที่เก่า ล้าสมัย เนื้อหาไม่ตรง หรือครอบคลุมตามหลักสูตรสอบฯก็จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้เกิดความสับสน ส่งผลต่อการสอบอย่างแน่นอน วิธีการหาหนังสือหรือเอกสารเตรียมสอบ มีดังนี้
1) หนังสือหรือเอกสารมีเนื้อหาที่ตรงตามหลักสูตรสอบคัดเลือก คัดเลือกฯ
2) เป็นหนังสือที่ใหม่ มีเนื้อหาสาระใหม่ ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือสาระในปัจจุบัน
3) ควรเลือกหนังสือทั้งที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียด เนื้อหาสรุปและหรือหนังสือที่เป็นแบบฝึก
4) ควรเลือกหนังสือหลายๆ เล่ม เจ้าของหรือผู้แต่งที่เชื่อถือได้
5) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรเลือกหนังสือประเภทนี้โดยเฉพาะ เช่น หนังสือวัดความถนัด ทางการเรียน หนังสือฃวามสามารถทั่วไป หรือหนังสือประเภท Aptitude test ที่มีแบบฝึกหรือข้อสอบด้วย
6) ภาฃวิชาการศึกษา ควรเลือกหนังสือเฉพาะเรื่อง เช่น การบริหารการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา หลักการจัดการศึกษา หลักสูตรและการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา สมรรถนะทางการบริหาร เป็นต้น ส่วนมากจะมีในสถาบันการศึกษา และหนังสือเตรียมสอบทั่วไปซึ่งส่วนมากจะเป็นเนื้อหาโดยสรุป
7) ภาคกฎหมายการศึกษาหรือปฏิบัติราชการ หนังสือที่เหมาะคือหนังสือรวมระเบียบกฎหมาย หนังสือหรือคู่มือเตรียมสอบโดยทั่วไปเพราะมีทั้งเนื้อหาโดยละเอียดและสรุปไว้แล้ว มีตัวอย่างข้อสอบหรือ แบบทดสอบให้ฝึกทำด้วย
8) ภาคความรอบรู้ หรือการปฏิบัติงานในหน้าที่ หน่วยงาน สถานศึกษา ควรเลือกหนังสือที่เป็นคู่มือ การปฏิบัติงาน เอกสารเรื่องนั้นๆที่ทางราชการจัดขึ้นโดยเฉพาะไม่ควรยึดหนังสือเตรียมสอบฯเป็นหลักเพราะเนื้อหามีน้อย หรือหากเป็นข้อสอบที่นำมาเป็นตัวอย่าง บางข้ออาจจะเป็นข้อสอบเก่าล้าสมัย
9) หนังสือรวมข้อสอบฯ หรือหนังสือที่มีตัวอย่างข้อสอบ หรือแบบทดสอบให้ฝึกทำ ก็เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีไว้ เพื่อฝึกทักษะการทำข้อสอบ สร้างความคุ้นเคย และเพื่อเป็นการทบทวนความรู้
10) หนังสืออิเลคทรอนิค(E-book ) รวมทั้งเนื้อหาสาระ ที่มีให้บริการบนสื่ออินเตอร์เน็ต ตามเว็บไซต์หน่วยงานราชการ สถานบัน องค์กร หรือเว็บไชต์สำหรับการเตรียมสอบโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสื่อที่มีหลากหลาย สามารถสืบค้น หรือดาวน์โหลดข้อมูลมาเก็บไว้ได้ตลอดเวลา ที่สำคัญประหยัด ไม่ต้องซื้อหา และ ได้เนื้อหาใหม่ ทันสมัย

1.2 วิธีการอ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าใจและจำได้เร็ว
มีเอกสารหรือหนังสือสำหรับใช้เตรียมสอบที่มคุณภาพและจำนวนมากจะไม่ก่อประโยชน์อะไรในการสอบเลยหากไม่อ่านหนังสือนั้น ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ คือ การอ่าน การเขียน การฟัง การพูดหรือการฝึกทำ เพราะคนเราจะจำหรือเข้าใจในเนื้อหาต้องใช้เรียนรู้หลายๆ วิธี ส่วนเทคนิคการค้นคว้าหรืออ่านหนังสือ มีดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตรการสอบคัดเลือก การคัดเลือก ให้เข้าใจ และจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา หนังสือ และวิธีการศึกษา
2) ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ควรศึกษาโดยวิธีฝึกทำข้อสอบ ดูเฉลยและทำความเข้าใจ เรื่องไหน ที่ยากควรทำจุดสังเกตไว้ในหนังสือหรือบันทึกสรุปวิธีการหรือหลักการหาคำตอบไว้ในสมุดบันทึก ไว้ใช้ทบทวนในคราวต่อไป
3) วิชาการศึกษา การบริหาร วิชาความรอบรู้ หรือการปฏิบัติงานในหน้าที่ ควรศึกษาเป็นเรื่องๆ ตามกรอบหลักสูตรสอบฯโดยใช้หนังสือหรือเอกสารหลายๆ เล่มประกอบกัน(ไม่ควรอ่านหนังสือที่ละเล่มแต่ควรอ่านที่ละเรื่อง) ทำจุดสังเกต (เน้นความสำคัญ) ไว้ในหนังสือหรือสรุปเนื้อหาไว้ในสมุดบันทึก ใช้ทบทวนในคราวต่อไป
4) วิชากฎหมายการศึกษา ควรศึกษาเฉพาะกฎหมายที่ระบุในหลักสูตรฯ ในประเด็นสำคัญและเรื่องที่ใช้ในการปฏิบัติงาน บันทึกเรื่องหรือประเด็นสำคัญเอาไว้ทบทวนในคราวต่อไป ควรฝึกทำข้อสอบจะทำให้จดจำได้ (แต่อย่าท่องข้อสอบ)
5) วิชาความรอบรู้ (ส่วนที่เป็นความเคลื่อนไหว) หรือเนื้อหาใหม่ๆ ควรศึกษา สืบค้น เนื้อหานั้นๆ ในหนังสือพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อประสมอย่างอื่น ในประเด็นสำคัญ สรุปและบันทึกสาระสำคัญเอาไว้ ฝึกทำข้อสอบวิชา หรือเนื้อหานั้น(ถ้ามี)
6) ควรวางแผนในการศึกษาหรืออ่านหนังสือทั้งในเรื่อง สถานที่ เวลา เนื้อหาวิชาตามความถนัดและความสะดวกของตนเอง เช่น สถานที่เหมาะหากเป็นเวลากลางวัน ควรเป็นที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา เพราะเงียบ ไม่มีเสียงรบกวน ไม่ทำให้เสียสมาธิ มีหนังสือใหค้นคว้า มีบริการอินเตอร์เน็ตหรือสื่ออย่างอื่น เวลาที่เหมาะสำหรับอ่านหนังสือที่บ้านควรจะเป็นตอนเช้าประมาณ 04.00 -06.00 นาฬิกา เพราะเป็นเวลาที่สงบเงียบ สมองได้พักผ่อนมาแล้ว ความจดจำและความเข้าใจจะมีสูง การแบ่งเนื้อหาในการศึกษาก็เป็นเรื่องที่สำคัญและคนส่วนมากมักละเลยและให้ความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกินไป จนพบปัญหาว่าดูหนังสือไม่ทัน ไม่ครอบคลุมหลักสูตรฯ
7) นอกจากการศึกษาเอกสารแล้วสื่อเอกสารอย่างอื่นก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การสอบถามหรือปรึกษากับครู อาจารย์ หรือผู้รู้ฯ การเข้ารับการอบรมสัมมนา (ติวสอบฯ) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอบเพราะจะได้รู้ความเคลื่อนไหวเทคนิควิธีการต่างๆ หรือการศึกษาโดยสื่อวีดีทัศน์ เทปคำบรรยาย เป็นต้น
8) การติดตามความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากเพราะเนื้อหาเหล่านี้จะกำหนดในหลักสูตรสอบฯ และออกข้อสอบทุกครั้ง เรื่องเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือแน่นอนเพราะมักจะเป็นเรื่องใหม่ เหตุการณ์ปัจจุบัน วิธีการศึกษาที่ดีที่สุด คือ ติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือตามอินเตอร์เน็ต

1.3 จะสมัครสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือก ที่ไหนดี
กรณีการสอบแข่งขัน การเลือกสถานที่หรือภูมิภาคในการสมัครสอบแข่งขันฯ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ นั่นหมายถึง โอกาสที่จะสอบผ่านหรือขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบได้ และเมื่อได้รับบรรจุแต่งตั้งแล้วจะต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นั้น อย่างน้อยก็หนึ่งถึงสองปีกว่าจะสามารถขอย้ายได้ บางคนโอกาสจังหวะไม่เหมาะอาจจะอยู่หลายปี ปัญหาต่างๆ อาจจะตามมาได้ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกสถานที่หรือภูมิภาคในการสมัครสอบแข่งขัน คือ
1) จำนวน อัตราตำแหน่งวิชาเอกที่ว่างและจะเรียกบรรจุ
2) ประวัติในการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายของภูมิภาคนั้น เช่น จังหวัดหนองคายเคยมีประวัติเรียก บรรจุแต่งตั้งบ่อยและจำนวนมากเนื่องจากมีการโยกย้ายบ่อยทำให้ตำแหน่งว่าง เป็นต้น
3) ความสะดวกสบายหรือปัญหาที่จะตามมาเมื่อได้บรรจุแต่งตั้งแล้ว เช่น ปัญหาในเรื่องความ เป็นอยู่ อาหารการกิน ภาษาที่ใช้ การปรับตัว ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การคมนาคม เป็นต้น อนึ่ง วิธีการที่นิยมใช้กันมาก คือ สมัฃรสอบไว้หลายๆ ที่ (ประมาณ 2-3 ที่) แล้วค่อยตัดสินใจเลือกสนามหรือภูมิภาคสอบฯ หลังจากที่ทราบผลการมีสิทธิสอบฯ แลจำนวน
ผู้เข้าสอบฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งขันแล้ว ส่วนการสอบคัดเลือก คัดเลือก เช่น การสอบคัดเลือก คัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษามักจะไม่สามารถเลือกสถานที่สอบได้ เพราหลักเกณฑ์
ได้กำหนดคุณสมบัติผู้เข้าสมัครว่าต้องเป็นข้าราชการส่วนนั้นๆ เช่น อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ( แต่เกณฑ์ใหม่ได้ปรับแล้ว สามารถไปสมัครเขตฯอื่นๆได้) แต่โดยทั่วไปมักจะเลือกเขตที่ตนเองปฏิบัติราชการอยู่ เพราะหากเลือกเขตที่อยู่ไกลออกไป ปัญหาอื่นๆน่าจะตามมา แต่หากวิเคราะห์อย่างละเอียด ถี่ถ้วนแล้ว ว่าสมัคร เขตอื่นน่าจะได้บรรจุ เพราะมีตำแหน่งว่างมากผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งขันมีน้อย ปัญหาอื่นๆไม่มี มีน้อย แก้ไขได้ ก็ควรเลือกสมัครในเขต หรือภูมิภาค นั้นๆ ส่วนผู้บริหารการศึกษาได้กำหนดให้สมัคร และสอบที่ส่วนกลางและการบรรจุตามความเหมาะสม จึงไม่สามารถเลือกสถานที่บรรจุ แต่งตั้งได้

1.4 วางแผนในการสอบอย่างไรให้ได้ผล
การวางแผนในการสอบในที่นี้ หมายถึง เมื่อได้ไปสมัครสอบฯ และมีสิทธิในการเข้าสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก คัดเลือกแล้ว การวางแผนการสอบตั้งแต่การเดินทาง การเข้าที่พักการไปดูสนามสอบหรือห้องสอบ การทำข้อสอบและการเดินทางกลับ ดังนี้
1) เมื่อทราบและเลือกสถานที่หรือภูมิภาคในการสอบแล้ว ควรวางแผนว่าจะเดินทางวันใด เดินทางไปกับใคร สถานที่พักที่ไหน ต้องเตรียมให้พร้อม ควรออกเดินทางไปถึงสถานที่หรือภูมิภาคสอบฯ อย่างน้อย 1 วัน เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อน ไปดูสนามสอบฯ ส่วนสถานที่พักหากไม่มีบ้านญาติพี่น้องควรจองไว้แต่เนิ่นๆ เพราะถ้าจังหวัดใดหากเป็นสนามสอบฯ โรงแรมหรือที่พักในจังหวัดนั้นมักจะมีผู้เข้าพักเต็มหมดแล้ว การพักที่วัดหรือที่อื่นๆ อันไม่เหมาะสมหรือเดินทางทั้งคืนไม่ได้พักผ่อน ย่อมเป็นสิ่งไม่ดีแน่
2) เตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ หรือของใช้ส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง สิ่งที่จะลืมไม่ได้ คือ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบฯ ปากกา ดินสอ และยางลบ (ใช้สำหรับฝนหรือระบายข้อสอบ) ยารักษาโรคประจำตัว(ถ้ามี) และหนังสือหรือสรุปย่อเนื้อหาที่ได้จัดทำไว้แล้ว
3) ก่อนวันสอบจริงควรไปดูสนามสอบว่าอยู่ที่ใด จะเดินทางจากที่พักโดยเส้นทางใด ใช้เวลาเท่าไร ห้องสอบห้องใดและเลขที่นั่งสอบเท่าไร อยู่ตรงจุดไหน พักกลางวันจะไปรับประทานอาหารกลางวันที่ใด
4) คืนก่อนสอบ ให้ทบทวนเนื้อหาตามหลักสูตรสอบฯ เล็กน้อย หลังจากนั้นให้รีบเข้านอน เพื่อให้ ร่างกายได้พักผ่อนให้เพียงพอ ตื่นเช้าสมองจะได้แจ่มใส ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และ ทำข้อสอบ (การอ่านหนังสือทั้งคืน โดยไม่ได้นอนเลย ไม่เป็นผลดีแน่ๆ)
5) ในวันสอบ หลังจากภารกิจส่วนตัวเรียบร้อย ฃวรไปถึงสนามสอบก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อจะได้มีความพร้อม ตรวจสอบความแน่นอนของห้องสอบอีกครั้งหนึ่ง ตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ในการสอบ บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ ยังมีครบหรือไม่ หากไม่มี ก็จะได้มีเวลาจัดหาได้ทันไม่ควรพะวงกับการอ่านหนังสือหรือวิตกกังวลกับการสอบเกินไป (ลักษณะอย่างนี้พบเห็นมาก)
6) ก่อนถึงเวลาสอบประมาณ 5-10 นาที ควรตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง เข้าห้องน้ำทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย ก่อนถึงเวลาเข้าห้องสอบและกรรมการคุมห้องสอบเรียกเข้าห้องสอบฯ
7) เมื่ออยู่ในห้องสอบให้ปฏิบัติตามระเบียบของการสอบ หรือตามที่กรรมการฃุมห้องสอบชี้แจง ให้ ตั้งสติ ให้ดี มีสมาธิ และวางแผนการทำข้อสอบ (ตามหัวข้อต่อไป)

1.5 การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นปรนัย (ชนิดตัวเลือก)
การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าสอบส่วนใหญ่ไม่คำนึงถึงจุดนี้ หากไม่ได้ฝึกมาก่อน เมื่อมาทำข้อสอบจริง ยิ่งเมื่อข้อสอบที่ทำนั้นยากหรือไม่ตรงกับที่ได้อ่านหรือเตรียมมา ยิ่งจะเกิดความตื่นเต้น โอกาสที่ทำให้ผิดพลาด ทำข้อสอบไม่ครบ (หมดเวลาก่อน) จะมีสูง การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบ มีดังนี้
1) กรอกข้อมูล ในกระดาษคำตอบให้ถูกต้อง เรียบร้อยโดยเฉพาะการกรอกข้อมูลด้วยวิธีการระบายหรือฝนด้วยดินสอ (ให้ใช้สีดำ 2 บีขึ้นไป) หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จให้ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะ เลขที่ประจำตัวสอบ เพราะมีหลายต่อหลายครั้งที่ผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้ มีความมั่นใจแต่ไม่มีชื่อในบัญชี ผู้สอบผ่าน เหตุเพราะลืมกรอกข้อมูลในกระดาษคำตอบ หรือกรอกผิดพลาดนั้นเอง
2) เปิดข้อสอบ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้คุมห้องสอบ ตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อสอบว่ามีกี่ข้อ มีกี่หน้า ครบทุกหน้าหรือทุกข้อหรือไม่ หากกรรมการชี้แจงเพิ่มเติมให้ฟังและแก้ไขตาม
3) การบริหารเวลาในการสอบโดยตรวจสอบเวลาที่จะใช้ในการทำข้อสอบแล้วคำนวณระยะเวลาในการทำข้อสอบ (โดยปกติมาตรฐานข้อสอบจะใช้เวลาทำข้อละ 1 นาที ) ให้ชำเลืองดูนาฬิกาขณะทำข้อสอบเป็นระยะ เช่น ประมาณ 10-20 ข้อต่อครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมเวลาในการสอบ ทำให้ทำข้อสอบทันเวลาและครบทุกข้อ (จะพบบ่อยมากเมื่อหมดเวลาการทำข้อสอบแล้วแต่ยังเหลือข้อสอบอีก 20-30 ข้อ)
4) ทำข้อสอบทีละข้อ โดยอ่านคำถามและทำความเข้าใจอย่างละเอียด อ่านให้หมดคำถาม ( 2 เที่ยว) อย่ารีบเร่งตัดสินใจ แล้วค่อยวิเคราะห์ตัวเลือกแต่ละตัวเลือก ตามหลักการที่บอกไว้เมื่อเลือกคำตอบแล้วให้กากบาทหรือระบายในช่องของกระดาษคำตอบอย่างประณีต ในกรณีที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ทำตามคำแนะนำที่บอกไว้ในกระดาษคำตอบ ข้อสอบข้อใดที่สงสัยให้ทำจุดสังเกต เช่น ดอกจัน ไว้ที่หน้าข้อสอบในกระดาษคำถาม โดยให้ความสำคัญ เช่น 1 ดอกจัน คือ สงสัย 2 ดอกจัน คือ สงสัยมาก เป็นต้น แต่ถึงแม้จะเป็นข้อสงสัยก็ต้องกากบาท (ฝนหรือระบาย) กระดาษฃำตอบห้ามข้ามข้อ เพราะจะทำให้ไม่หลงลืมเมื่อทำไม่ทัน(เพราะหมดเวลา)หรืออาจจะทำให้สับสนกากบาทผิดข้อได้เพราะหากข้ามบางข้อ
5) ในกรณีที่ข้อสอบบางข้อยากมาก ไม่สามารถทำได้ อย่าใช้เวลากับข้อนั้นๆ นานเกินไปจนทำให้เสียเวลา (เกิน3นาที) ต้องให้ความสำคัญกับข้อสอบทุกข้อ เพราะข้อสอบแต่ละข้อคะแนนเท่ากันและข้อสอบ ข้อถัดไปหรือข้อท้ายๆ อาจเป็นข้อสอบที่ง่าย จะทำให้เสียโอกาสถ้าทำไม่ทันเวลา ในกรณีเช่นนี้ก็ให้เดาตัวเลือก (ตามหลักการในหัวข้อต่อไป) ไปก่อนแต่ทำเครื่องหมายดอกจันเป็นจุดสังเกตในกระดาษคำตอบเอาไว้
6) กรณีข้อสอบที่ต้องใช้วิธีคำนวณหรือจำเป็นต้องขีดเขียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้ขีดเขียนลงในกระดาษคำถามได้ (อย่าใส่ใจกับข้อห้ามที่บอกว่าห้ามขีดเขียนใดๆ ลงบนข้อสอบ เพราะนั่นไม่ใช่ทุจริต)
7) เมื่อทำข้อสอบครบทุกข้อแล้ว หากยังเหลือเวลาอย่าเพิ่งรีบออกจากห้องสอบ ให้กลับมาทบทวนข้อที่ยากหรือยังทำไม่ได้ โดยสังเกตจากข้อทำเครื่องหมายดอกจันเอาไว้
8) ให้ทำข้อสอบจนหมดเวลา อย่าปล่อยเวลาให้เสียไป เพราะ เวลาทุกนาทีมีค่าสำหรับผู้เข้าสอบ
9) เมื่อใกล้จะหมดเวลาสอบ (จะมีประกาศเสียงตามสายหรือกรรมการคุมห้องสอบบอก เช่น
เหลือเวลา 5 นาที) ให้ตรวจสอบกระดาษคำตอบอีกฃรั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเกี่ยวกับการกรอกชื่อ สกุล รหัสหรือเลขประจำตัวผู้เข้าสอบ การลงลายมือชื่อผู้เข้าสอบ (ถ้ามี) ได้ตอบข้อสอบ (กากบาทฝนหรือระบายดินสอ) ทุกข้อหรือไม่
10) หากใกล้หมดเวลาสอบแล้วยังทำไม่เสร็จ หรือข้อสอบจำนวนมาก ให้ใช้วิธีการเดา (รายละเอียดใน หัวข้อถัดไป) และเผื่อเวลาไว้ 1-2 นาที เพื่อตรวจสอบตามที่กล่าวในข้อ 8

1.6 การบริหารจัดการระหว่างทำข้อสอบกรณีข้อสอบเป็นอัตนัย (อธิบาย)
ข้อสอบประเภทอัตนัย (อธิบาย) ไมคฃ่อยพบในการสอบแข่งขัน คัดเลือกในหลักสูตรสอบ(ภาคข้อเขียน)ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะผู้เข้าสอบจำนวนมาก ไม่สะดวกในการตรวจข้อสอบ ความแปรปรวน หรือความคาดเคลื่อนจะมีสูง อาจเป็นช่องทางให้มีการทุจริตได้ ดังนั้นจึงไม่นิยมกันแต่ข้อสอบประเภทนี้นิยมใช้ออกในการสอบคัดเลือกที่ผู้เข้าสอบจำนวนน้อและ
มีจุดประสงค์เพื่อวัดความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ หรือแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คัดเลือกผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารระดับสูง หรือบุคลากรทางการศึกษา ระดับหัวหน้ากลุ่มหรือหัวหน้างาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องเตรียมไว้เผื่อมีโอกาสต้องใช้ ดังนี้
1) ตรวจสอบดูว่าข้อสอบมีกี่หน้า คำถามครบทุกข้อหรือไม่
2) อ่านคำชี้แจงให้เข้าใจ โดยเฉพาะประเด็นให้ทำกี่ข้อ การกำหนดจำนวนหน้าของกระดาษคำตอบ
3) ให้ทำข้อที่ง่ายก่อน เพราะ หากทำตามลำดับข้ออาจใช้เวลาในการคิดข้อแรกๆ นานเกินไป ทำให้เสียเวลา อาจหมดเวลาก่อน ในขณะที่ข้ออื่นอาจง่ายและใช้เวลาในการทำน้อยกว่า
4) เมื่อเลือกข้อที่จะทำก่อนหลังแล้ว ให้อ่านคำถามให้ชัดเจนถึงประเด็นคำถามว่า ถามอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร แต่ส่วนมากคำถามมักจะถามถึงอะไร(ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์) และหรืออย่างไร (การดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค) จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร หรือคาดผลที่จะเกิด แนวทางการแก้ปัญหา ตัวอย่างคำถาม เช่น หมายถึงอะไร จะดำเนินการอย่างไรให้อธิบายพอสังเขป ให้บอกขั้นตอนดำเนินการโดยละเอียด การนำไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร เป็นต้น
5) วางกรอบหรือทิศทางของคำตอบว่าจะตอบอะไรก่อนหลัง ควรอธิบายให้ชัดเจน กะทัดรัด แต่ตรงประเด็นมากที่สุด ไม่ควรบรรยายแบบน้ำท่วมทุ่ง เพื่อให้ได้คำตอบมากๆ ครบจำนวนหน้ากระดาษเท่านั้น
6) กรอบของคำตอบ การอธิบายโดยทั่วไปจะเริ่มต้นที่เกริ่นนำ รายละเอียดของเรื่อง และการสรุป โดยส่วนที่เป็นรายละเอียดให้นำหลักการ ทฤษฎีมาประกอบการอธิบายความหมายความสำคัญหรือความเป็นมา การดำเนินการ (โดยใช้หลักการ ทฤษฎีประกอบ) ผลของการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรค หรือข้อเสนอแนะ
7) การอธิบายถึงโครงการหรือชิ้นงานที่ดีเด่นหรือภูมิใจ ควรเริ่มจากความเป็นมา หลักการทฤษฎี รายละเอียดการดำเนินการ ผลการดำเนินงาน ประโยชน์ที่ได้หรือการนำไปประยุคใช้ ปัญหา อุปสรรคหรือข้อเสนอแนะ (ถ้ามี)
8) ความจำเป็นอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องสำคัญของการตอบข้อสอบแบบบรรยาย คือ การเขียน ต้องเขียนอย่างบรรจง ประณีตที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะ อย่าลืมว่าข้อสอบประเภทนี้ใช้คนตรวจหากอ่านง่ายก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้ตรวจ ถึงแม้จะตอบไม่ตรงประเด็น แต่เชื่อว่าน่าจะดีกว่าตอบอย่างดีเยี่ยมแต่เขียนหนังสือหวัด อ่านไม่ออก เวียนหัว จะทำให้เสียคะแนนเปล่าๆ

1.7 การปฏิบัติตัวหลังจากสอบเสร็จ
เมื่อสอบเสร็จในแต่ละวิชาโดยส่วนมากจะกำหนดเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย ภาคละวิชา เพื่อให้ผู้เข้าสอบได้มีเวลาเตรียมตัวหลังจากสอบเสร็จภาคเช้า เมื่อออกจากห้องสอบผู้เข้าสอบก็จะจับกลุ่มพูดคุยกันถึงเรื่องข้อสอบและการทำข้อสอบเป็นธรรมดา โดยสาระอาจสอบถามถึงข้อสอบข้อนั้นข้อนี้ตอบอย่างไร คนนั้นอาจจะตอบข้อนั้น คนนี้ตอบข้อนี้ ข้อนั้นตอบถูก สอบได้แน่นอน คนนี้ตอบผิดคงตก หรือทำข้อสอบไม่ได้แย่แน่ๆ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการสอบ แต่อย่าไปใส่ใจหรือวิตกกังวลมากนัก เพราะได้สอบไปแล้วควรทำใจให้สบายถ้าหากเรามั่นใจและเตรียมตัวมาอย่างดี เราต้องสอบได้แน่ๆ คนที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเราตอบผิด หรือตนเองตอบถูกหมด อาจจะไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านก็ได้ ทั้งนี้เพราะคนทำข้อสอบไม่ใช่คนออกข้อสอบ ข้อสอบ
วิเคราะห์ ผู้ตอบอาจมองคนละมุมกับผู้ออกก็ได้ หรือผู้ตอบยังมีความรู้ไม่พอสำหรับข้อสอบนั้นๆจึงคิดว่าตนเองทำถูก ทั้งที่จริงไม่ใช่ และมักพบเห็นอยู่เสมอว่า คนที่บอกว่าตนเองสอบได้แน่แต่สุดท้ายสอบตก ไม่มีชื่อในบัญชีเลยสิ่งที่ดีที่สุดเมื่อสอบเสร็จ หากเป็นเวลาพักเที่ยงควรรีบไปรับประทานอาหารกลางวันให้อิ่มและพักผ่อนเพื่อเตรียมสอบในภาคบ่ายต่อไป หากสอบเสร็จภาคบ่ายและมีการสอบในวันต่อไป ควรกลับไปพักผ่อน เพื่อเตรียมตัวสอบในวันถัดไป
2. ประเภทและลักษณะข้อสอบ

ประเภทข้อสอบที่ใช้ในการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก หรือการคัดเลือกโดยทั่วไป จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ข้อสอบแบบปรนัย และ ข้อสอบแบบอัตนัย แต่บางคนอาจจะยังสับสนกับ คำว่า “ปรนัย” และ “อัตนัย” อยู่บ้าง จึงอธิบายเพิ่มเติมว่า “ปรนัย” คือ ข้อสอบที่มีคำถาม พร้อมตัวเลือกให้เลือกตอบ ทั้งที่เป็นแบบหลายตัวเลือก เช่น 4 ตัวเลือก หรือ 5 ตัวเลือก( Multiple choices ) แบบสองตัวเลือก หรือ แบบถูก ผิด( True-False ) แบบจับคู่ ( Matching ) หรือแบบเติมคำ ( Completion ) ส่วน “อัตนัย” คือ ข้อสอบที่มีคำถาม เพียงอย่างเดียว แล้วให้หาคำตอบจากการแสดงวิธีทำ หรือบรรยาย เพื่อให้ได้คำตอบ ที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่วๆ ไปเนื้อหาของข้อสอบที่ใช้จะเป็นไปตามหลักสูตรฯ สอบนั้นและการวัดจะวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ ของ ผู้เข้าสอบในเรื่องต่างๆ โดยใช้หลักการของนักจิตวิทยาการศึกษา ชื่อว่า Benjamin S. Bloom กล่าวคือ
1) วัดฃวามรู้ความคิด หรือ พุทธพิสัย (Cognitive Domain) อันประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1.1) ความจำ Memory
1.2) ความเข้าใจUnderstanding
1.3) การนำไปใช้ Utilizing
1.4) การวิเคราะห์ Analyzing
1.5) การสังเคราะห์ Centering
1.6) การประเมินค่าEvaluation
2) วัดด้านความรู้สึก อารมณ์ หรือ จิตพิสัย (Affective Domain ) อันประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
2.1) การรับรู้Receiving
2.2) การตอบสนอง Responding
2.3) การให้คุณค่า Valuing
2.4) การจัดระบบ Organizing
2.5) การสร้างลักษณะนิสัยCharacterization
3) วัดด้านทักษะพิสัย (Psycho motor Domain) อันประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
3.1) การเคลื่อนไหวอวัยวะหลายส่วน Gross body Moment
3.2) การเคลื่อนไหวอวัยวะบางส่วน
3.3) การสื่อสารโดยไม่ใชคฃำพูดและ
3.4) การสื่อสารโดยใช้คำพูด
โดยพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ทางผู้ออก (หน่วยงาน) ข้อสอบนำมาใช้วัด จะเป็นพฤติกรรมด้านใด เรื่องใด จำนวนมากหรือน้อยหรือสัดส่วนเท่าใด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวัดผลขององค์กรหรือหน่วยงานและขึ้นอยู่กับหลักสูตรการสอบฯ ประเภทนั้นๆ ด้วย เช่น การสอบแข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูพฤติกรรมการวัดจะวัดด้านความรู้ความจำความเข้าใจ
เป็นส่วนมากในหลักสูตรสอบฯภาฃวิชาการศึกษา วิชาเฉพาะวุฒิ (วิชาเอก) หรือวิชากฎหมายการศึกษา ส่วนพฤติกรรมด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินฃคา จะพบมากในหลักสูตรสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป อย่างไรก็ตามจากประวัติของการออกข้อสอบบรรจุเข้ารัราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ พฤติกรรมการวัดด้านความรู้ ความจำและความเข้าใจ จะเป็นสัดส่วนที่มากกว่าด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าเสมอ ส่วนในการสอบ คัดเลือกผู้บริหารทั้งบริหารสถานศึกษา บริหารการศึกษา โดยหลักการเน้นทั้งด้านความรู้ เจตคติ และทักษะแต่ข้อเท็จจริง ด้านแรกและสองจะมีมากกว่า ส่วนประเภทหรือชนิดของข้อสอบที่นำมาใช้ในการสอบ
แข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐ สอบคัดเลือกผู้บริหารนั้น ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ข้อสอบประเภท “ปรนัย” ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เพราะสามารถออกได้จำนวนมาก ครอบคลุมหลักสูตรสอบฯ สะดวกต่อการประเมินผล (การตรวจ) ได้รวดเร็ว มีความเป็นปรนัย มีความเที่ยงตรงในการประเมินและสามารถป้องการทุจริตได้
กล่าวโดยสรุป ในการสอบแข่งขันบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ หรือคัดเลือก สอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อเลื่อนตำแหน่ง สายบริหารการศึกษา นิยมใช้แบบทดสอบประเภทต่างๆ และวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เข้าสอบ ดังนี้
1) ด้านสติปัญญา (พุทธิพิสัย) นิยมวัดด้วยข้อสอบข้อเขียน ทั้งที่เป็นปรนัยหรืออัตนัย (การสอบแข่งขันฯ คัดเลือก นิยมใช้ข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ประเภท 4 ตัวเลือก)
2) ด้านความรู้สึก (เจตพิสัย) นิยมวัดด้วยข้อสอบข้อเขียน ทั้งที่เป็นปรนัยหรืออัตนัย และการสอบสัมภาษณ์ (การสอบแข่งขันฯ คัดเลือก นิยมใช้ข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ประเภท 4 ตัวเลือก และถามตอบสัมภาษณ์)
3) ด้านทักษะกลไก (ทักษะพิสัย) วัดโดยสอบภาคปฏิบัติ เช่น ประกอบเครื่องยนต์ ทำโต๊ะ เก้าอี้ หรือสาธิตการสอน สำหรับคัดเลือกลูกจ้าง พนักงานราชการ การสัมภาษณ์ การสอนให้ดู การสาธิต สำหรับการสอบแข่งขัน ส่วนการคัดเลือกสายบริหารให้เขียนวิธีทำงาน วางแผนการทำงาน แนวทางการทำงาน หรือสังเกตจากพฤติกรรม วัดสมรรถนะทางการบริหาร เป็นต้น)

3. เทคนิคการเลือกคำตอบที่ถูก
มีคนกล่าวติดตลกว่า คนที่สอบได้จะต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เพราะ คำสั่งหรือคำชี้แจงของข้อสอบชนิดเลือกตอบ มักจะบอกว่า ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) หรือเลือกคำตอบ ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว หากเราเลือกข้อที่เราคิดว่าถูกแต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ก็จะไม่ได้คะแนน นั่นหมายถึงข้อนั้นผิด อาจจะทำให้สอบตกได้ ดังนั้นการเลือกคำตอบที่ถูกต้องจึงไม่ใช่เฉพาะรู้หรือไม่รู้คำตอบเท่านั้น หากแต่เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรู้ถึงหลักและวิธีการในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกทำข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เองถือเป็นเคล็ดลับอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เป็นผู้ ประสบความสำเร็จในที่สุด

3.1 เทคนิคการเลือกคำตอบข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
ข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป(สอบแข่งขัน) นั้น โดยทั่วไปจะเป็นข้อสอบที่ไม่ยากนัก แต่มีจำนวนข้อที่ค่อนข้างมาก แต่ละข้อล้วนต้องได้คิดและตัดสินใจเลือก บางข้อต้องใช้เวลาหลายนาทีในการอ่านและทำความเข้าใจโจทย์และคำถามทั้งนี้เพราะข้อสอประเภทนี้มีจุดประสงค์ต้องการวัดความสามารถในการคิด วิเคราะห์และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว โดยมีเวลาเป็นเครื่องกำกับและชี้วัดความสามารถของบุคคล ดังนั้นการทำข้อสอบประเภทนี้ให้ได้ดีและทันเวลา เทคนิคที่สำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นคือ ต้องรู้หลักการ วิธีการคิด สูตรทางคณิตศาสตร์หรือพีชคณิต การฝึกทำข้อสอบประเภทนี้บ่อยๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทำให้รู้ จำ และเข้าใจหลักการ วิธีการคิด หรือสูตรการคิดได้อย่างรวดเร็วและจะทำเกิดความมั่นใจในที่สุด3.2 เทคนิคการเลือกคำตอบข้อสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
ลักษณะคำถาม 20 ประเภท ของข้อสอบภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง โดยสรุปพอสังเขป ได้แก่
1) คำถามเกี่ยวกับพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส แนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์
2) คำถามเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวหรือแนวโน้มใหม่ทางด้านการศึกษา
3) คำถามเกี่ยวกับความรอบรู้ (ความเคลื่อนไหวทางการเมือง สังคมเศรษฐกิจและการปกครองและการต่างประเทศ)
4) คำถามที่เกี่ยวกับ มติหรือนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้มีในหลักสูตรการสอบแข่งขัน หรือการคัดเลือก
5) คำถามเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6) คำถามเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีหรือสาระสำคัญ หลักการ ของเรื่องนั้นๆ
7) คำถามเกี่ยวกับ วัน เวลา จำนวน สถานที่หรือ ตัวเลข
8) คำถามเกี่ยวกับ บุคคล หน่วยงาน องค์กรที่ตนเองปฏิบัติงาน หรือหน่วยงานต้นสังกัด
9) คำถามที่มีคำว่า ไม่ ไม่ใช่ ผิด ไม่ถูกต้อง แตกต่างไปจากพวก หรือยกเว้น
10) คำถามที่เป็นมีศัพท์ภาษาอังกฤษ หรือสำนวน ให้แปลความ หรืออธิบาย
11) คำถามที่มีประเด็นคำถามหลายประเด็นในข้อเดียวกัน
12) คำถามที่ถามถึงขั้นตอนการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ
13) คำถามที่ถามถึงประเด็นที่สำคัญที่สุด
14) คำถามที่มีตัวเลือกถูกทุกข้อ หรือถูกหลายข้อ
15) คำถามวิเคราะห์ (ความเข้าใจและการนำไปใช้ )
16) คำถามวิเคราะห์(หลักการ หรือนิยามศัพท์)
17) คำถามวิเคราะห์(ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน )
18. คำถามวิเคราะห์ (สาระตามข้อบัญญัติของระเบียบหรือกฎหมาย)
19. ข้อสอบวิเคราะห์ (เป้าหมาย ผลลัพธ์ หรือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา)
20. คำถามวิเคราะห์ (ถ้อยคำ วลีที่เป็นตัวชี้วัดของประเด็นคำถาม)
การจะเลือกคำตอบของข้อสอบแต่ละลักษณะได้ถูกต้อง จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะลักษณะข้อสอบตามข้อ 1,2,3,4 และ 5 คำถามคำตอบจะถามตรงๆ คำตอบไม่มีตัวลวงที่ซับซ้อน วัดเพียงแต่รู้หรือไม่รู้เท่านั้น ต้องศึกษาค้นคว้าให้รู้อย่างกว้างๆ จำและทำความเข้าใจ เฉพาะหัวข้อหรือประเด็นสำคัญ เช่น โครงการในพระราชดำริโครงการนั้นๆ ทำที่ไหน มีประโยชน์ด้านใด นโยบายของรัฐบาลด้านต่างๆใช้แก้ปัญหาด้านใด นโยบายและโครงการด้านการศึกษามีอะไรบ้าง สาระสำคัญของ โครงการฯโดยสังเขปเป็นอย่างไร นโยบายหรือโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง แต่ละโครงการมีจุดประสงค์และเป้าหมายอย่างไร ความเคลื่อนไหวทางการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และการต่างประเทศ มักนิยมออกในเรื่องใหม่ๆ เรื่องสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในระยะนั้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นต้องเป็น ผู้ที่ติดตามข่าว ความเคลื่อนไหวตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรืออินเตอร์เน็ตหรือสื่ออื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรไปเสียเวลาท่องจำในหนังสือความรู้รอบตัว คำถามลักษณะตามข้อ 6,7,8,9,10,11,12,13 และ 14 ต้องจำและทำความเข้าใจหลักการและแนวคิดกระบวนการหรือขั้นตอนที่สำคัญของเรื่องนั้นๆ ลักษณะคำถามถึง เวลา วันเดือนปี ตามข้อ 7 ส่วนมากจะเป็นกฎหมายที่ผลบังคับใหม่ หรือกฎหมายที่สำคัญส่วนชื่อหน่วยงาน บุคคลสำคัญ หรือนิยาม คำศัพท์ จำเป็นและสำคัญจริงๆ ก็มักจะนิยมออก จึงควรรู้ไว้บ้าง ส่วนคำถามลักษณะที่เหลือตามข้อ 15- 20 มักนิยมออกเช่นกัน โดยเฉพาะการสอบแข่งขันฯ ในระยะหลังๆและสอบคัดเลือกสายบริหาร จะเน้นข้อสอบวิเราะห์และการนำไปใช้มากขึ้นเพราะสามารถแยกแยะความสามารถ(สมรรถนะ) ของบุคคลได้ ดังนั้นนอกจากจะรู้ เข้าใจ หลักการ แนวคิดแล้วจำเป็นต้องคิดสังเคราะห์และประยุกต์หรือนำไปใช้ได้ ดังนั้นการหมั่นฝึกทำข้อทดสอบบ่อยๆ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

4. เทคนิคการเดาคำตอบ
การเดาคำตอบเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับผู้เข้าสอบเลย แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นนักสอบมืออาชีพ คงไม่ใช้วิธีการนับตัวเลข นับนิ้วมือ หมุนปากกาหรือหลับตาจิ้มดินสอลงบนข้อใดก็ตัดสินใจเลือกคำตอบนั้นแน่แต่ควรจะมีเทคนิค มีชั้นเชิงบ้าง โดยใช้เทคนิคการเดาคำตอบ ดังนี้
1) ให้ตัดคำตอบที่ไม่เกี่ยวข้องออกให้มากที่สุด แล้วเลือกตัวเลือก
2) ตัวเลือกที่ถูกทุกข้อ ไม่มีข้อถูก หรือบางข้อถูก(ข้อ ก และ ข ถูก) มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
3) ตัวเลือกที่ข้อความยาวๆ มักจะเป็นตัวเลือกที่ถูก
4) เลือกตัวเลือกโดยใช้ลำดับเนื้อหาตามหลักสูตรสอบฯ ว่าควรจะเป็นเรื่องใด
5) เลือกตัวเลือกโดยสังเกตจากข้อที่ผ่านมา
6) กรณีหมดเวลาแต่ข้อสอบยังเหลือจำนวนมากให้เดาตัวเลือกข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อใด เช่น เดาตัวเลือก ง ในทุกข้อ โอกาสที่จะถูกมีสูงกว่าดำแบบสุ่ม หรือเลือกกากบาทซิกแซก ไขว้ไปมาให้สวยงาม(เพราะหากเป็นข้อสอบมาตรฐาน เลือกข้อเดียวตลอด และข้อสอบเป็นประเภท 4ตัวเลือก โอกาสถูก ร้อยละ25เพราะหากตัวเลือกมีถูกทุกข้อ หรือ ข้อ ข และ ค ถูก ก็จะระบุในข้อ ง และเพราะคำตอบยาวๆมักข้อ ง ) โปรดจำเอาไว้ว่า เทคนิคการเดาจะถูกนำมาใช้ในตอนสุดท้ายที่คิดอย่างไรก็คิดไม่ออกแล้ว(ยากถึงยากมาก) ไม่ควรใช้เทคนิคนี้ตั้งแต่ข้อแรกเลย
โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง “มีคนกล่าวติดตลกว่า คนที่สอบได้จะต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เพราะ คำสั่งหรือคำชี้แจงของข้อสอบชนิดเลือกตอบ มักจะบอกว่า ให้ทำเครื่องหมายกากบาท(X) หรือเลือกคำตอบ ที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว หากเราเลือกข้อที่เราคิดว่าถูกแต่ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด ก็จะไม่ได้ฃะแนน นั่นหมายถึงข้อนั้นผิด อาจจะทำให้สอบตกได้ ดังนั้นการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่เฉพาะรู้หรือไม่รู้คำตอบเท่านั้นหากแต่เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรู้ถึงหลักและวิธีการในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องหมั่นฝึกฝน ฝึกทำข้อสอบอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้เองถือเป็นเคล็ดลับอันสำคัญยิ่งที่จะทำให้เป็นผู้ประสบความสำเร็จในที่สุด”

5. เทคนิคในการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์

5.1 หลักเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์และการให้คะแนน
การสอบสัมภาษณ์ เป็นวิธีการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งตามหลักสูตรการสอบแข่งขันฯหรือสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของส่วนราชการต่างๆ โดยทั่วไปการพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่ง จะพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้
1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
2) บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู
3) ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ 4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ
5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
6) ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
7) อื่นๆ ตามหน่วยงานผู้สอบฯกำหนด
การให้คะแนนของการสอบสัมภาษณ์โดยทั่วไป ( คะแนนเต็ม 50 คะแนน ) การให้คะแนนของกรรมการสอบสัมภาษณ์ จะกำหนดช่วงของคะแนนที่จะให้ไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดความต่างของคะแนนผู้เข้าสอบฯไม่เกิน 3 คะแนน ( ต่ำสุด 47 สูงสุด 49 ) หรือ 5 คะแนน (ต่ำสุด 45 สูงสุด 49) หรือ 7 คะแนน (ต่ำสุด 42 สูงสุด 49) มักไม่นิยมให้คะแนนเต็ม 50เพราะโดยหลักการแล้วจะไม่มีใครที่เยี่ยมยอด ดังตัวอย่าง
การสัมภาษณ์ให้ประเมินจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. ประวัติ ความสามารถ และประสบการณ์
2. บุคลิกภาพ
3. ความรู้
4. ท่วงทีวาจา และเชาวน์ปัญญา
5. เจตคติ
ผู้ประเมินพิจารณาให้คะแนนซึ่งอาจแบ่งระดับคะแนน ได้ดังนี้
เหมาะสมมากที่สุด (ดีมาก) ให้ 9 – 10 คะแนน
เหมาะสมมาก ( ดี ) ให้ 7 – 8 คะแนน
เหมาะสม (พอใช้) ให้ 5 – 6 คะแนน
เหมาะสมน้อย (ต้องแก้ไข) ให้ 3 - 4 คะแนน
ไม่เหมาะสม (ต้องแก้ไขอย่างยิ่ง) ให้ 1 – 2 คะแนน
ดังนั้นผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จึงไม่ต้องวิตกหรือกังวลมากนัก สิ่งที่ทำให้สอบได้หรือสอบตกไม่ได้อยู่ที่ การสอบสัมภาษณ์แต่อยู่ที่การสอบข้อเขียนต่างหาก

5.2 การเตรียมตัวและวิธีการเข้าสอบสัมภาษณ์ให้ได้คะแนนมากที่สุด
ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นแล้วว่า การสัมภาษณ์ เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินผู้เข้าสอบทุกคน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย เจตคติ และบุคลิกภาพดังนั้นการจะเป็นผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ดีและได้คะแนนมากที่สุด(ให้ถูกตัดน้อยที่สุด) ควรมีและใช้เทคนิคการเตรียมสอบสัมภาษณ์การเข้าสอบสัมภาษณ์ จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจ จากที่เคยผ่านการถูกสัมภาษณ์ และเคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ใคร่แนะนำ ดังนี้
1) เบื้องต้นควรกรอกใบสมัครให้ดี และมีความสมบูรณ์มากที่สุด เพราะกรรมการสอบสัมภาษณ์ ส่วนมากจะดูข้อมูลส่วนตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากใบสมัครประกอบการสัมภาษณ์ด้วย
2) ในวันสอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยมากที่สุด (ใส่สูทได้จะเป็นการดี)
3) ควรงดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะหากขณะสัมภาษณ์กลิ่นแอลกอฮอล์ หรือกลิ่นบุหรี่โชยออกมา คงไม่เป็นที่สบอารมณ์กรรมการมากนัก ทำให้กรรมการนึกถึงสภาพการเป็นคนสูบบุหรี่ กินเหล้า ของคุณต่อไปในอนาคตด้วย 4) ขณะรอสัมภาษณ์ควรรอด้วยความอดทน ทำจิตใจให้สดชื่น ผ่องใส มีอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน ไม่ควรบ่น หรือนินทากรรมการ หรือ เจ้าหน้าที่สอบสัมภาษณ์ เพราะเคยปรากฏว่า บริษัท หรือ หน่วยงานบางแห่ง ใช้วิธีให้ผู้รอสัมภาษณ์รอเป็นเวลานานๆ แต่แอบส่งคนมาปะปน เพื่อสังเกตพฤติกรรม หรือสังเกตความอดทนของผู้ที่จะถูกสัมภาษณ์ หากกรณีนี้เป็นเรื่องจริง ข้อมูลนี้จะถูกส่งให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ ทันทีให้ลองนึกเอาเองว่า สถานการณ์ของคนคนนั้นจะเป็นเช่นไร
5) ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับตำแหน่งที่เราสมัครสอบว่า มีความเป็นมาอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร ลักษณะงานเป็นอย่างไร หากคุณอยู่ในตำแหน่งจะปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะหากถูกสัมภาษณ์ แล้วไม่มีความรู้เลย คุณคงไม่ได้คะแนนแน่นอน
6) ขณะที่คนอื่นเข้าสัมภาษณ์ ควรอยู่และสังเกตผู้ที่เข้าสัมภาษณ์ เพื่อติดตามถามข้อมูลหรือประเด็น ที่กรรมการสัมภาษณ์ถาม เพื่อเตรียมคำตอบ เพราะโดยทั่วไปประเด็นที่ถาม มักจะถามคล้ายๆ กัน
7) ขณะที่ถูกเรียกชื่อเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรก้าวเดินเข้าไปให้เป็นปกติ และมีความมั่นใจให้มากที่สุด
8) เมื่อไปถึงหน้าโต๊ะสัมภาษณ์ ควรยกมือไหว้กรรมการทุกคน หรือไหว้ประธานคนเดียว(ส่วนมากนั่งตรงกลาง)ก็ได้ และนั่งเมื่อได้รับการบอกให้นั่ง
9) ประเด็นคำถามที่ถาม (บอกให้พูด : ควรเตรียมไปให้ดี และเล่าสั้นๆ เฉพาะที่จำเป็น)
9.1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
9.2) บุคลิกภาพด้านต่าง รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู
9.3) ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ
9.4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ
9.5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
9.6) ความรู้ในเรื่องความรอบรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น